[๓๘๙] ข้าพระองค์ ได้รู้ตามคำของอสิตฤาษีโดยแท้ เพราะเหตุนั้นข้าแต่
พระโคดม ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์
อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกมุนีและปฏิปทาอันสูงสุดของ
มุนีแห่งบรรพชิตผู้แสวงหาการเที่ยวไปเพื่อภิกษา แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า
เราจักบัญญัติปฏิปทาของมุนีที่บุคคลทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก
แก่ท่าน เอาเถิดเราจักบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่ท่าน ท่านจงอุปถัมภ์ตน
จงเป็นผู้มั่นคงเถิด พึงกระทำการด่าและการไหว้ในบ้านให้เสมอกัน
พึงรักษาความประทุษร้ายแห่งใจ พึงเป็นผู้สงบไม่มีความเย่อหยิ่งเป็น
อารมณ์ อารมณ์ที่สูงต่ำมีอุปมาด้วยเปลวไฟในป่า ย่อมมาสู่ครองจักษุ
เป็นต้น เหล่านารีย่อมประเล้าประโลมมุนี นารีเหล่านั้น อย่าพึง
ประเล้าประโลมท่าน มุนีละกามทั้งหลายทั้งที่ดีแล้ว งดเว้นจากเมถุน
ธรรมไม่ยินดียินร้าย ในสัตว์ทั้งหลายผู้สะดุ้งและมั่นคง พึงกระทำตน
ให้เป็นอุปมาว่า เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ ฉันใด
เราก็ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า มุนีละความ
ปรารถนาและความโลภในปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว เป็นผู้มีจักษุ พึง
ปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้พึงข้ามความทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็น
เหตุแห่งมิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง (ไม่
เห็นแก่ท้อง) มีอาหารพอประมาณ มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความ
โลภเป็นผู้หายหิว ไม่มีความปรารถนาด้วยความปรารถนาดับความ
เร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ มุนีนั้นเที่ยวไปรับบิณฑบาตแล้ว พึงไปยังชายป่า
เข้าไปนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นนักปราชญ์
ยินดีแล้วในป่า พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้นเมื่อ
ล่วงราตรีไปแล้ว พึงเข้าไปสู่บ้าน ไม่ยินดีโภชนะที่ยังไม่ได้ และ
โภชนะที่เขานำไปแต่บ้าน ไปสู่บ้านแล้ว ไม่พึงเที่ยวไปในสกุลโดย
รีบร้อน ตัดถ้อยคำเสียแล้ว ไม่พึงกล่าววาจาเกี่ยวด้วยการแสวงหา
ของกิน มุนีนั้นคิดว่า เราได้สิ่งใด สิ่งนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ เรา
ไม่ได้ก็เป็นความดี ดังนี้แล้ว เป็นผู้คงที่ เพราะการได้และไม่ได้
ทั้งสองอย่างนั้นแล ย่อมก้าวล่วงทุกข์เสียได้ เปรียบเหมือนบุรุษแสวง
หาผลไม้ เข้าไปยังต้นไม้แล้ว แม้จะได้ แม้ไม่ได้ ก็ไม่ยินดี ไม่
เสียใจวางจิตเป็นกลางกลับไป ฉะนั้น มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่
ไม่เป็นใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้ ไม่พึงหมิ่นทานว่าน้อย ไม่พึงดูแคลน
บุคคลผู้ให้ ก็ปฏิปทาสูงต่ำพระพุทธสมณะประกาศแล้ว มุนีทั้งหลาย
ย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น
หามิได้ ก็ภิกษุผู้ไม่มีตัณหา ตัดกระแสร์กิเลสได้แล้ว ละกิจน้อยใหญ่
ได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี
พึงเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วยลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้
สำรวมที่ท้อง มีจิตไม่หย่อหย่อน และไม่พึงคิดมาก เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ
อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้วมีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พึงศึกษาเพื่อการนั่งผู้เดียวและเพื่อประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม
ท่านผู้เดียวแลจักอภิรมย์ความเป็นมุนีที่เราบอกแล้วโดยส่วนเดียว ทีนั้น
จงประกาศไปตลอดทั้งสิบทิศ ท่านได้ฟังเสียงสรรเสริญ ของนักปราชญ์
ทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ผู้สละกามแล้ว แต่นั้นพึงกระทำหิริและศรัทธาให้
ยิ่งขึ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นสาวกของเราได้ ท่านจะรู้แจ่มแจ้งซึ่ง
คำที่เรากล่าวนั้นได้ ด้วยการแสดงแม่น้ำทั้งหลาย ทั้งในเหมืองและหนอง
แม่น้ำห้วยย่อมไหลดังโดยรอบ แม่น้ำใหญ่ย่อมไหลนิ่ง สิ่งใดพร่อง
สิ่งนั้นย่อมดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ คนพาลเปรียบด้วยหม้อน้ำที่มี
น้ำครึ่งหนึ่ง บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม สมณะกล่าวถ้อยคำใด
มากที่เข้าถึงประโยชน์ประกอบด้วยประโยชน์ รู้ถ้อยคำนั้นอยู่ ย่อม
แสดงธรรม สมณะผู้นั้นรู้อยู่ ย่อมกล่าวถ้อยคำมาก สมณะใดรู้อยู่
สำรวมตน สมณะนั้นรู้เหตุที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมา
ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวมาก สมณะผู้นั้นเป็นมุนี ย่อมควร
ซึ่งปฏิปทาของมุนี สมณะนั้นได้ถึงธรรมเครื่องเป็นมุนีแล้ว ฯ
จบนาลกสูตรที่ ๑๑
[๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายนามรูปที่โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็น
ว่า นามรูปนี้เป็นของจริง พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็น
ว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา
เห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไป
อีกว่า
ท่านผู้มีความสำคัญในนามรูป อันเป็นของมิใช่ตน//ว่าเป็นตนจงดูโลก
พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ยึดมั่นแล้วในนามรูป ซึ่งสำคัญนามรูปนี้ว่า เป็น
ของจริง ก็ชนทั้งหลายย่อมสำคัญ (นามรูป)ด้วยอาการใดๆ นามรูป
นั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นไปจากอาการที่เขาสำคัญนั้นๆ นามรูปของผู้นั้นแล
เป็นของเท็จ เพราะนามรูป มีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา นิพพานมี
ความไม่สาปสูญไปเป็นธรรมดา พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้นโดย
ความเป็นจริง พระอริยเจ้าเหล่านั้นแล เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะ
ตรัสรู้ของจริง ฯ
[๓๙๑] ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์(ทุกข์) เหตุเกิดแห่งทุกข์(สมุทัย) ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มี ส่วนเหลือ(พระนิโรธธรรม) โดยประการทั้งปวง และไม่รู้มรรคอันให้ถึงความเข้า ไประงับทุกข์( มรรคแปด ปฏิปทา)
ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็น
ผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้ ส่วน
ชนเหล่าใดรู้ทุกข์เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วน
เหลือโดยประการทั้งปวง และรู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์
ชนเหล่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็นผู้ควรที่
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ และเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา ฯ
มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่
ตอบลบไม่เป็นใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้ ไม่พึงหมิ่นทานว่าน้อย ไม่พึงดูแคลน
บุคคลผู้ให้ ก็ปฏิปทาสูงต่ำพระพุทธสมณะประกาศแล้ว มุนีทั้งหลาย
ย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น
หามิได้ ก็ภิกษุผู้ไม่มีตัณหา ตัดกระแสร์กิเลสได้แล้ว ละกิจน้อยใหญ่
ได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน ฯ ... สาธุ
เด็ดเหลือเกินครับกับพระนาลกะ "บุคคลทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก" สาธุอนุโมทามิ ขอให้เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่ผู้จัดทำนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ
ตอบลบ..."อารมณ์ที่สูงต่ำมีอุปมาด้วยเปลวไฟในป่า ย่อมมาสู่ครองจักษุ".... ตรงนี้น่าสนใจครับ
ตอบลบ