หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความดับแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ



[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ
คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ มื่อเข้าตติยฌาน
ปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
รูปสัญญาย่อมดับมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้า
อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ
[๓๙๓] ดูกรภิกษุ ลำดับนั้นแล เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมสงบ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ ฯ
[๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน  วาจาย่อมระงับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลม
อัสสาสะปัสสาสะย่อมระงับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ
โทสะ โมหะของภิกษุขีณาสพย่อมระงับ ฯ
จบสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว  จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๓๙๖] เปรียบเหมือนลมมากมายหลายชนิด พัดไปในอากาศคือ บางครั้ง
ลมทิศตะวันออกบ้าง บางครั้งทิศตะวันตกบ้าง  บางครั้งทิศเหนือบ้าง บาง
ครั้งทิศใต้บ้าง บางครั้งมีธุลีบ้าง บางครั้งไม่มีธุลีบ้าง บางครั้งลมหนาวบ้าง
บางครั้งลมร้อนบ้าง บางครั้งลมอ่อนบ้าง ฉันใด เวทนาย่อมเกิดขึ้น
ในกายนี้
ฉันนั้นเหมือนกัน  คือสุขเวทนาบ้าง  ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขม
สุขเวทนาบ้าง มื่อใดภิกษุมีความเพียร รู้สึกอยู่ เข้านิโรธ เมื่อนั้น
เธอผู้เป็นบัณฑิตย่อมกำหนดรู้เวทนา ได้ทุกอย่าง ภิกษุนั้นกำหนดรู้
เวทนาแล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ตั้งอยู่ในธรรม เรียนจบพระเวทในปัจจุบัน
เพราะกายแตกย่อมไม่เข้าถึงซึ่งบัญญัติ ฯ

จบสูตรที่ ๒

[๔๐๐] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความดับแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ
แล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและ
เวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมดับ
[๔๐๑] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย  โดยลำดับ
แล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและ
เวทนาย่อมสงบ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมสงบ ฯ
[๔๐๒] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความระงับแห่งสังขารทั้งหลาย  โดยลำดับ
แล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและ
เวทนาย่อมระงับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมระงับ ฯ

๔๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ ฯลฯ (เหมือนข้อ ๔๑๓ถึงข้อ ๔๒๔)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่าพระสมณโคดมกล่าวสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติ และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้น
เป็นอย่างไร ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึง
ค้านอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้น
ไว้ในความสุข บุคคลย่อมได้สุขในฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อันเป็น
สุขไว้ในความสุขทุกแห่ง ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบรโหคตวรรคที่ ๒

(สรุป ให้ท่านสังเกตุให้ดี ในพระสูตร จะเริ่มจาก ปฐมฌาน แล้วเว้น มาจบที่ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่ง เวทนา สัญญา ดับ หมด((อนุปุพพวิหารเก้า)) คือขันธ์ห้าไม่เกิด หยุดทำงาน ปฏิจจสมุปบาท ขาดสันตติของกองนามรูป เข้ากระแสพระนิพพาน คือ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)
อวิชชาดับ สังขารดับ ปริศนาธรรม แปลกลับ คือ เพราะสังขารดับ ทำให้ อวิชชาดับ (วิชชาเกิด) ความหมายเดียวกัน สังขารหมายถึง สังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ดับขณะเข้า นิโรธสมาบัติ
ผู้จบกิจพรหมจรรย์ คือ ราคะโทสะ โมหะ ระงับเป็น โลกุตตธรรม
สังขาร คือความมีเจตนา อย่างใดอย่างหนึ่ง ในเรื่องนี้ ความดำริ ความจงใจ ความครุ่นคิด อยู่ในเรื่องเจตนาสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น