อจินไตย ๔, โลกธรรม ๘, บัว ๔ เหล่า
อจินไตย ๔ ประการที่ไม่ควรคิด
๑. พุทธวิสัย วิสัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. ฌานวิสัย วิสัยของบุคคลผู้ทรงฌาน
๓. กรรมวิสัย คือกฎของกรรม
๔. โลกอนิจไตย เรื่องของโลก
โลกธรรม ๘
มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา
บัว ๔ เหล่า
๑. อุคฆฏิตัญญู มีบารมีมาก คือปัญญาดี พูดแต่เพียงหัวข้อก็เข้าใจ
๒. วิปจิตัญญู ต้องอธิบาย ถ้าพูดย่อไม่เข้าใจ
๓. เนยยะ จะสอนแบบไหนก็ตาม เป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ จะได้แค่ไตรสรณาคมน์
๔. ปทปรมะ พวกตากระทู้หูกระทะ สอนอย่างไรก็เอาดีไม่ได้
พรหมวิหาร ๔, สังคหวัตถุ ๔, อิทธิบาท ๔
พรหมวิหาร ๔ (เป็นอาหารรักษาศีล สมาธิ ให้มีกำลังรักษาปัญญาให้คมกล้า)
๑. เมตตา ความรัก ต้องอยู่ในขอบเขตของความดี
๒. กรุณา ความสงสารเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
๓. มุทิตา มีจิตใจอ่อนโยนไม่ริษยาใคร
๔. อุเบกขา วางเฉยต่ออารมณ์ที่เข้ามากระทบใจ
สังควัตถุ ๔
๑. ทาน การให้ ยื่นโยนสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
๒. ปิยวาจา ใช้วาจาเป็นที่รัก
๓. อัตถจริยา ทำตนให้เป็นประโยชน์กับคนอื่น คือช่วยเหลือการงาน
๔. สมานัตตตา ไม่ถือตัวไม่ถือตน
อิทธิบาท ๔
๑. ฉันทะ มีความพอใจในอารณ์ที่เราต้องการ
๒. วิริยะ เราต้องเพียรต่อสู้กับอารมณ์ของนิวรณ์ คืออารมณ์จิตฟุ้งซ่าน
๓. จิตตะ สนใจจดจ่ออยู่ในเหตุนั้นไม่คลาย
๔. วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ
มงคล ๓๘ ประการ
๑. การไม่คบคนพาล จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒. การคบบัณฑิต จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๔. การอยู่ในประเทศที่สมควร จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๕. การทำบุญไว้ในกาลก่อน จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๖. การตั้งตนไว้ชอบ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๗. การเป็นพหูสูต จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๘. การมีศิลปะ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๙. มีวินัยที่ศึกษาดีแล้ว จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๐. คนที่มีวาจาเป็นสุภาษิต คือวาจาจริง พูดจริง พูดเพราะ ไม่ขัดใจโดยธรรม จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๑. การบำรุงบิดามารดาให้เป็นสุข จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๒. การสงเคราะห์ภรรยา จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๓. การสงเคราะห์บุตร จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๔. การงานไม่คั่งค้าง จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๕. การให้ทาน จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๖. การประพฤติธรรม จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๗. การสงเคราะห์ญาติให้เป็นสุข จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๘. การทำงานที่ไม่มีโทษ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๑๙. การงดเว้นจากบาป จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๐. เว้นจากากรดื่นน้ำเมา จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๑. การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๒. การเคารพในบุคคลที่ควรเคารพ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๓. การไม่หยิ่งผยอง จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๔. การสันโดษ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๕. การรู้คุณคน จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๖. การฟังธรรมตามสมัย จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๗. ความอดทน จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๘. การเป็นผู้ว่าง่าย จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๒๙. การเห็นสมณะ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๐. การสนทนาธรรมตามกาล ตามสมัย จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๑. การบำเพ็ญตบะ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๒. การประพฤติพรหมจรรย์ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๓. การเห็นอริยสัจ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๔. การทำพระนิพพานให้แจ้ง จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๕. จิตของผู้ถูกโลกธรรมกระทบแล้ว ไม่หวั่นไหว จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๖. จิตไม่ยินดี ไม่ยินร้าย จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๗. จิตไม่ยินดีในความอยาก จัดว่าเป็นอุดมมงคล
๓๘. จิตี่มีจรณะ ๑๕, โพชฌงค์ , จริต ๖
จรณะ ๑๕
๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. อินทรียสังวร สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการกิน
๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่
๕. ศรัทธา มีความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า
๖. หิริ ความละอายต่อบาป
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว
๘. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๙. วิริยะ มีความเพียร คือเพียตละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี
๑๐. สติ ระลึกได้ นึกได้ว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
๑๑. ปัญญา ความรอบรู้ จงใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์จิต
๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑
๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒
๑๔. ตติยฌาน ฌานที่ ๓
๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔
โพชฌงค์ ๗(องค์พร้อมแห่งการตรัสรู้)
๑. สติ ความระลึกได้
๒. ธัมมวิจยะ ความใคร่ครวญในธรรม
๓. วิริยะ ความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค
๔. ปีติ ความเอิบอิ่มใจให้ปรากฏกับใจ
๕. ปัสสัทธิ ความสงบจากนิวรณ์ และสงบจากกิเลส
๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๗. อุเบกขา ความวางเฉย
จริต ๖
๑. ราคจริต รักสวยรักงาม
๒. โทสจริต ชอบโกรธ
๓. โมหจริต ชอบหลง คิดว่าตนเกิดมาแล้วมันจะไม่แก่ ไม่ป่วย ไม่ตาย ของทั้งหลายที่มีอยู่มันจะไม่พลัดพรากจากเราเลย
๔. วิตกจริต คิดไม่ตกลงใจ
๕. สัทธาจริต เชื่อง่าย
๖. พุทธจริต เป็นคนฉลาดเกษมอยู่ จัดว่าเป็นอุดมมงคล
ทุกข์ ๑๐, กรรมบถ ๑๐
ทุกข์ ๑๐
๑. สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำกาย ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๒. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์ที่จรมา ได้แก่ โศกะ ปริเทวะ โทมนัส อุปายาส
๓. นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ ได้แก่ หนาว ร้อน หิว กระหาย
๔. พยาธิทุกข์ ทุกข์ คือ ความเจ็บไข้ได้ป่วย
๕. สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือ ความร้อนรุ่ม เพราะ ราคา โทสะ โมหะ
๖. วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรมตามสนอง
๗. สหคตทุกข์ ทุกข์เกิดจากโลกธรรม ๘
๘. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ทุกข์เพราะต้องแสวงหาอาหาร
๙. วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์มีการทะเลาะวิวาทเป็นมูล
๑๐. ทุกข์ขันธ์ อุปาทาน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
กรรมบถ ๑๐
๑. กายกรรม ทำทางกาย ๓ ประการ
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตัวเองไม่ยุคนอื่น และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นฆ่า
๒. ไม่ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้มาเป็นของตน
๓. ไม่ละเมิดกามารมณ์ในบุตร ภรรยาผู้อื่น ไม่ยุคนอื่น และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำ รวมทั้งไม่ดื่มสุราและเมรัยที่ทำให้มึนเมาไร้สติ
๒. วจีกรรม กล่าวทางวาจา ๔ ประการ
๑. ไม่พูดวาจาที่ไม่เป็นความจริง
๒. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้ผู้ฟังสะเทือนใจ
๓. ไม่พูดวาจาส่อเสียดยุยงนินทา
๔. ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล
๓. มโนกรรม คือการคิดทางใจ ๓ ประการ
๑. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น
๒. ไม่คิดจองล้างจองผลาญทุกรณี
๓. มีความเห็นตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามจนมีผลตามที่ต้องการ
วิปัสสนาญาณ ๙, ญาณ ๘
วิปัสสนาญาณ ๙
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร(ความคิด)
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่าควรวางเฉยในสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณพิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
ญาณ ๘
๑. ทิพจักขุญาณ รู้เห็นผี เทวดา สวรรค์ นรก พรหม เห็นพระนิพพาน
๒. จุตูปปาตญาณรู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้วไปเกิด ณ ที่ใด
๓. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตของคนและสัตว์
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่เกิดมาแล้วในกาลก่อนได้
๕. อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีต
๖. อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในกาลข้างหน้าต่อไปได้
๗. ปัจจุปปันนังสญาณรู้เหตุปัจจุบันว่า ขณะนี้อะไรเป็นอะไร
๘. ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลกรรมของสัตว์ บุคคล เทวดา และพรหม ได้ว่าเขามีสุข มีทุกข์ เพราะผลกรรมอะไร
กสิณ ๑๐, อนุสสติ ๑๐
กสิณ ๑๐
๑. ปฐวีกสิณ กสิณข้อนี้มี ดิน เป็นพื้นฐาน
๒. อาโปกสิณ กสิณข้อนี้มี น้ำ เป็นพื้นฐาน
๓. เตโชกสิณ กสิณข้อนี้มี ไฟ เป็นพื้นฐาน
๔. วาโยกสิณ กสิณข้อนี้มี ลม เป็นพื้นฐาน
๕. โลหิตกสิณ กสิณข้อนี้มี สีแดง เป็นพื้นฐาน
๖. ปีตกกสิณ กสิณข้อนี้มี สีเหลือง เป็นพื้นฐาน
๗. นิลกสิณ กสิณข้อนี้มี สีเขียว เป็นพื้นฐาน
๘. โอทาตกสิณ กสิณข้อนี้มี สีขาว เป็นพื้นฐาน
๙. อากาสกสิณ กสิณข้อนี้มี อากาศ คือ ความว่างเป็นพื้นฐาน และก็
๑๐. อาโลกกสิณ กสิณข้อนี้มี แสงสว่าง เป็นพื้นฐาน
อนุสสติ ๑๐
๑. พุทธานุสสติ ระลึกนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกนึกถึงความดีของพระธรรม
๓. สังฆานุสสติ ระลึกนึกถึงความดีของพระอริยสงฆ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกนึกถึงความดีที่องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงสอน
๕. จาคานุสสติ ระลึกนึกถึงความดีของทาน การบริจาคที่เราสละไปแล้ว เพื่อการเกื้อกูลให้บุคคลอื่นให้มีความสุข
๖. เทวตานุสสติ ระลึกนึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา เทวดา แปลว่า ประเสริฐ ประเสริฐก็คือ ความดีที่ไม่มีที่ติ
๗. มรณานุสสติ ระลึกนึกถึงความตามที่มันจะเข้ามาถึง ซึ่งเป็นของที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
๘. กายคตานุสสติ ระลึกนึกถึงกาย ว่ามันสักแต่ว่ากาย คือเป็นธาตุ ๔ ประชุมกันแบ่งเป็นอาการ ๓๒ มีการสลายตัวไป
๙. อานาปานุสสติ ระลึกนึกถึงลมหายใจเข้าออกให้สติทรงอยู่
๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึกนึกถึงพระนิพานเป็นอารมณ์
สังโยชน์ ๑๐, บารมี ๑๐
สังโยชน์ ๑๐
๑. สักกายทิฏฐิ ความรูสึกว่าร่างกายไม่ตาย ไม่เป็นของเรา
๒. วิจิกิจฉา สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า
๓. สีลัพพตปรามาส ไม่รักษาศีล
๔. กามราคะ พอใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ
๖. รูปราคะ หลงในรูปฌาณ
๗. อรูปราคา หลงในอรูปฌาณ
๘. มานะ การถือตัวถือตน
๙. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ไม่รู้ตามความเป็นจริง
บารมี ๑๐
๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งของหรือคำชมตอบแทน
๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต
๓. เนกขัมมะบารมี พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้น ตัดสังโยชน์ไปเสียเป็นเรื่องสุดท้าย ป้องกันความวุ่นวายของจิต
๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง
๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรคไม่ยอมแพ้ แม้ตามก็ยอม
๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง
๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงไว้ให้เป็นปรกติ ตั้งใจว่าจะทำอะไร ทำอย่างนั้นไม่ยอมละ
๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลกเป็นทุกข์ ตั้งใจไว้ให้เฉพาะว่าเราจะไปพระนิพพาน
๙. เมตตาบารมี ตั้งใจไว้มั่นว่าจะเมตตา คำว่า อมิตร จะไม่มีสำหรับเรา
๑๐. อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องของร่างกาย
คำขอขมาพระรัตนตรัย
คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
(ว่า 3 จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น