หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมิทธิสูตร คัณฑสูตร สัญญาสูตร ขฬุงคสูตร


 สมิทธิสูตร
     [๒๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง
 ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระสมิทธิว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็น
ความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้นท่านพระสมิทธิตอบว่า วิตกอันเป็นความดำริ
ของบุรุษ มีนามรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นท่านผู้เจริญ ฯ
     ส. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น ย่อมถึงความต่างกันในอะไร ฯ
     ส. ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย ฯ
     ส. มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ ฯ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง ฯ
     ส. มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ ฯ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข ฯ
     ส. มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ ฯ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่ ฯ
     ส. มีสติเป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ ฯ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นยิ่ง ฯ
     ส. มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ ฯ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น ฯ
     ส. มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ ฯ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่หยั่งลง ฯ
     ส. มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ ฯ
     สา. ดูกรท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ
มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ท่านตอบว่า มีนามรูปเป็นอารมณ์ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่าน
สมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นถึงความต่างกันในอะไร ท่านตอบว่า ในธาตุทั้งหลาย ท่าน
ผู้เจริญ เมื่อเราถามว่าดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย ท่าน
ตอบว่ามีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็น ความ
ดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง ท่านตอบว่า มีเวทนาเป็นที่ประชุมลงท่านผู้เจริญ เมื่อเรา
ถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข ท่านตอบว่า มีสมาธิ
เป็นประมุข ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่าดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร
เป็นใหญ่ ท่านตอบว่า มีสติเป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอัน
เป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นยิ่ง ท่านตอบว่า มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า
ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น ท่านตอบว่า มีวิมุตติเป็นแก่น
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง
ท่านตอบว่า มีอมตะเป็นที่หยั่งลงท่านตอบว่า มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ ดูกรท่าน
พระสมิทธิ ดีละ ดีละ เป็นการดีแล้ว ท่านอันเราถามปัญหาก็แก้ได้ แต่ท่านอย่าทะนงตน
ด้วยการแก้ปัญหานั้น ฯ
                          จบสูตรที่ ๔

                           คัณฑสูตร
     [๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝีที่เกิดขึ้นหลายปี ฝีนั้นพึงมีปากแผล ๙ แห่ง
 มีปากแผลที่ยังไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะพึงไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของ
ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งพึงไหลเข้า สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้นฉันใด คำว่าฝีนี้แล เป็นชื่อของกายอันประกอบด้วยมหาภูต
รูป ๔ นี้ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้อง
ลูบไล้นวดฟั้นมีความกระจัดกระจายเป็นธรรมดา กายนั้นมีปากแผล ๙ แห่ง มีปากแผลที่ยัง
ไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็น
 น่าเกลียดทั้งนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมไหลเข้า สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด
ทั้งนั้น ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงเบื่อหน่ายในกายนี้ ฯ
                          จบสูตรที่ ๕
                          สัญญาสูตร
     [๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว  กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๙ ประการเป็นไฉน
 คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจ
สัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
                          จบสูตรที่ ๖


ขฬุงคสูตร




     [๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ ประเภท คนกระจอก ๓ ประเภท
ม้าดี ๓ ประเภท คนดี ๓ ประเภท ม้าอาชาไนยตัวเจริญ๓ ประเภท และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓
 ประเภท เธอทั้งหลายจงฟัง ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้ากระจอก ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ม้ากระจอก
ในโลกนี้บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวมีฝีเท้าดี สีดีแต่ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑
และบางตัวมีฝีเท้าดี สีดี ทั้งใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายม้ากระจอก ๓ ประเภทนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอก ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก
ในโลกนี้ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ดี ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์
ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ และบางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ ประเภทนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่
ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกข
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และเมื่อ
เธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า
ไม่เป็นคุณสมบัติของเธอและเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
 นี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
คุณสมบัติ และใช้ไม่ได้อย่างนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้
ไม่ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และ
เมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า
เป็นคุณสมบัติของเธอ แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและใช้
ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
 นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และเธอเมื่อถูกถาม
ปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็น
คุณสมบัติของเธอและเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้
เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย
คุณสมบัติ และใช้ได้อย่างนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าดี ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าดีในโลกนี้
บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี แต่ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ และบางตัว
ฝีเท้าดี สีดี ทั้งใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าดี๓ ประเภทนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนในโลกนี้
บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์
สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ และบางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ
และใช้ได้ ๑ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนดีที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและใช้ได้อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ
 จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
 และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ข้อนี้
เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นการใช้ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนดีที่สมบูรณ์ด้วย
เชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและใช้ได้ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ ประเภท
นี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ม้าอาชาไนยตัวเจริญในโลกนี้ บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี
แต่ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวฝีเท้าดี สีดี และใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย
ตัวเจริญ ๓ ประเภทนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษ
อาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่
ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วย
เชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและใช้ได้ ๑ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
คุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ เธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม
 ในอภิวินัย ก็แก้ได้แต่ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ และ
เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นการ
ใช้ไม่ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ
แต่ใช้ไม่ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ ... ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็น
คุณสมบัติของเธอ แต่เธอไม่ได้จีวร ...ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้ไม่ได้ของเธอ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้
อย่างนี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์  สมบูรณ์ด้วย
คุณสมบัติ และใช้ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ เธอเมื่อถูกถามปัญหาใน
อภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ
และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการ
ใช้ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย
คุณสมบัติ และใช้ได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ ประเภทนี้แล ฯ
                          จบสูตรที่ ๒
                          ตัณหาสูตร
     [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ เธอทั้งหลาย
จงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ประการเป็นไฉน การแสวงหา
เพราะอาศัยตัณหา ๑ การได้เพราะอาศัยการแสวงหา ๑ การวินิจฉัยเพราะอาศัยการได้ ๑
ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย ๑ความหมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ ๑ ความหวงแหน
เพราะอาศัยความหมกมุ่น ๑ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน ๑ การจัดการอารักขาเพราะ
อาศัยความตระหนี่ ๑ ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตรา
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียดว่ามึงๆ และพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการนี้แล ฯ
                          จบสูตรที่ ๓
                        ววัตถสัญญาสูตร
     [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวกและ
วินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๑ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาผู้อยู่ในชั้นพรหม ผู้
เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๒ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาชั้นอาภัสสระ นี้เป็น
สัตตาวาสชั้นที่ ๓ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาชั้นสุภกิณหะ
นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๔ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนเทวดาผู้เป็นอสัญญีสัตว์ นี้เป็น
สัตตาวาสชั้นที่ ๕ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า  อากาศหาที่สุด
มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตต
สัญญา นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๖ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณหาที่สุด
มิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๗ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอะไรหน่อยหนึ่ง
ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๘ ฯ
     สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดย
ประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตตาวาส ๙ ชั้นนี้แล ฯ
                          จบสูตรที่ ๔
                        สิลายูปสูตรที่ ๑
     [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยปัญญา ในกาลนั้น
ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยปัญญาอย่างไร ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยปัญญา
อย่างนี้ว่า จิตของเราปราศจากราคะแล้ว จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว จิตของเราปราศจาก
โมหะแล้ว จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่
มีโมหะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาเพื่อรูปราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาเพื่อ
อรูปราคะเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยปัญญาแล้ว ใน
กาลนั้น ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
                          จบสูตรที่ ๕
                        สิลายูปสูตรที่ ๒
     [๒๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระจันทิกาบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกร
อาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า
 ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
     เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระจันทิกาบุตร
ว่า ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร พระเทวทัตมิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้
ชัดว่า   ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว   กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว   กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกร
อาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้นควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
     แม้ครั้งที่ ๒ ... ฯ
     แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระ
เทวทัตย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุ
อบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้มี แม้ครั้งที่ ๓
 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระจันทิกาบุตรว่า ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร พระเทวทัตมิได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต
ให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
 กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระ
เทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต
ให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้นควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
     ดูกรอาวุโส ก็ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิตอย่างไร คือ อบรมจิตให้ดีด้วยจิตอย่างนี้ว่า
 จิตของเราปราศจากราคะแล้ว จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว จิต
ของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา
 จิตของเราไม่เวียนมาในกามภพเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาในรูปภพเป็นธรรมดา จิตของ
เราไม่เวียนมาในอรูปภพเป็นธรรมดา ดูกรอาวุโส ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอย่างหยาบๆ
ผ่านมาทางคลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตเธอไม่ได้
จิตของเธอไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็น
ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้น ถึงแม้เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
 รสที่พึงจะรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อย่างหยาบๆ ผ่านมาทางคลองใจแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ธรรมารมณ์นั้นก็ครอบงำ
จิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยธรรมารมณ์นั้นเป็นจิตมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว และเธอ
ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งธรรมารมณ์นั้น ดูกรอาวุโส เปรียบเหมือนเสาหิน ยาว ๑๖
ศอก หยั่งลงไป ในหลุม ๘ ศอก ข้างบนหลุม ๘ ศอก ถึงแม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพา
เสาหินนั้นไม่พึงสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ถึงแม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศประจิม ทิศอุดร
 ทิศทักษิณ เสาหินนั้นก็ไม่พึงสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหวข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหลุมลึก
และเพราะเสาหินฝังลึก ฉันใด ดูกรอาวุโสฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อย่างหยาบๆ ผ่านมาทางคลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่นถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณา
เห็นความเสื่อมไปแห่งรูปนั้น ถึงแม้เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
 รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อย่างหยาบๆ ผ่านมาทางคลองใจแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยธรรมารมณ์นั้น เป็นจิตมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณา
เห็นความเสื่อมไปแห่งธรรมารมณ์นั้น ฯ
                          จบสูตรที่ ๖
                         เวรสูตรที่ ๑
     [๒๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
ดูกรคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ และประกอบด้วย โสตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น