หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อินทรีย์ ๕

            สาวัตถีนิทาน

    [๔๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉนคือ สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในโสดาปัตติยังคะ (ธรรม
อันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) ๔ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔ ฯ
    [๔๓๗] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถ
แห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึง
เห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ฯ
   
[๔๓๘] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การ
คบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของ
ท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นพึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
 พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
ในโสดาปัตติยังคะ ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๓๙] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
 เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ในสัมมัปปธาน ๔ คือ การ
ไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือ ความ
ตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง
วิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
 เหล่านี้ ฯ

    [๔๔๐] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน  คือ การพิจารณา
เห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านพึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถ
แห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติ
ปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึง
เห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึง
เห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๑] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๒] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
 เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือ ทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือทุกขนิโรธ ฯลฯ
 ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็น
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๓] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔
ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
 ด้วยอาการ ๒๐ ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ฯ
    [๔๔๔] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ใน
โสดาปัตติยังคะ คือ การคบหาสัปบุรุษ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วย
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่ง
สัทธินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อใน
โสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือการทำไว้ในใจ โดย
อุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า
ตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดา
ปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๕] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคองไว้ ใน
สัมมัปปธาน คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วย
สามารถแห่งวิริยินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคอง
ไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธานคือ การบำเพ็ญ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความ
เจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ  ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
 ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๖] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความ ประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่นในสติปัฏฐาน
คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึง
เห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การ
พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วย
สามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๗] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐม
ฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นพึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ
ในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๔๔๘] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือ
ทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัยฯลฯ ใน
อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วย
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔จะพึง
เห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๙] ความประพฤติและวิหารธรรม เป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เหมือน
อย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง กำหนดบุคคลไว้ในฐานที่ลึก ตามที่ประพฤติตามที่อยู่ว่า ท่านผู้นี้บรรลุ
แล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่ ฯ

    จริยา ในคำว่า ความประพฤติ มี ๘ คือ อิริยาปถจริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑
สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ปัตติจริยา  ๑ โลกัตถจริยา ๑ ฯ
    ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติในอายตนภายในภาย
นอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติใน
ฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติในอริยสัจ ๔ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริย
มรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยาความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติกิจซึ่ง
เป็นประโยชน์แก่โลก ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ในพระสาวกบางส่วน ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยา เป็นของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้
อายตนจริยา เป็นของท่านผู้คุ้มครองอินทรีย์ สติจริยา เป็นของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
สมาธิจริยา เป็นของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยา เป็นของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
 มรรคจริยา เป็นของท่านผู้ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา เป็นของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยา
เป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วนของพระสาวกบางส่วน
จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ
    จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้
ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อม
ประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้ทราบ
ว่า ท่านปฏิบัติอย่างนี้จึงบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา ผู้ที่ทราบว่า กุศลธรรม
ของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘
เหล่านี้ ฯ
    จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ ทัสสนจริยาแห่งสัมมาทิฐิ ๑ อภิโรปนจริยาแห่งสัมมา
สังกัปปะ ๑ ปริคคหจริยาแห่งสัมมาวาจา ๑ สมุฏฐานจริยาแห่งสัมมากัมมันตะ ๑ โวทานจริยา
แห่งสัมมาอาชีวะ ๑ ปัคคหจริยาแห่งสัมมาวายามะ ๑ อุปัฏฐานจริยาแห่งสัมมาสติ ๑ อวิกเขป
จริยาแห่งสัมมาสมาธิ ๑จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ
    [๔๕๐] คำว่า วิหาโร ความว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้
ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ
ผู้รู้ชัด ย่อมอยู่ด้วยปัญญา ฯ
    คำว่า รู้ตาม ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ความประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์
ความตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันรู้
ตามแล้ว ฯ
    คำว่า แทงตลอดแล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ...ความเห็นแห่ง
ปัญญินทรีย์ เป็นอันแทงตลอดแล้ว ฯ
    คำว่า ตามที่ประพฤติ ความว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ด้วยความเพียรอย่างนี้
ด้วยสติอย่างนี้ ด้วยสมาธิอย่างนี้ ด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ
    คำว่า ตามที่อยู่ ความว่า อยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ ... ด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ
    คำว่า วิญญู คือ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลสผู้เป็นบัณฑิต
ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ ฯ
    คำว่า สพฺรหฺมจารี คือ บุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศอย่างเดียวกัน มีการ
ศึกษาเสมอกัน ฯ
    ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่า
เป็นฐานะอันลึก ในคำว่า คมฺภีเรสุ ฐาเนสุ ฯ
    คำว่า โอกปฺเปยยุํ ความว่า พึงเชื่อ คือ พึงน้อมใจเชื่อ ฯ
    คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นเครื่อง
กล่าวโดยสิ้นความเคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองเป็นเครื่องกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออก
 เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด เป็นเครื่องกล่าวโดยหลักฐาน ฯ
    คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ
เป็นเครื่องกล่าวมีความเคารพยำเกรง ฯ
    คำว่า บรรลุแล้ว ความว่า ถึงทับแล้ว คำว่า หรือว่าจักบรรลุ ความว่าจักถึงทับ ฯ
            จบนิทานบริบูรณ์

    [๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ๕ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ฯ
    อินทรีย์ ๕ เหล่านี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร พึงเห็นด้วยอาการ ๖ พึงเห็นด้วยอรรถว่า
กระไร ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง
ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยอรรถว่าครอบงำด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่ ฯ
    [๔๕๒] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างไร ฯ
    พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคลผู้ละความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธา พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ แห่งบุคคลผู้ละความเกียจคร้าน พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วย
อรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์พึงเห็นสตินทรีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น