ฌานาภิญญาสูตร
(พระมหากัสสปะเข้าสมาบัติ พระพุทธเจ้ายืนยันการปฏิบัติชัดเจน รูปฌาน อรูปฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ)ทำไฉน ประชุมชนในภายหลังพึงถึงทิฏฐานุคติว่า
ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
บัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนี โดยเคารพ
บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีความเพียร ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย
บัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีบุคคลบางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีความเพียร ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย
โดยเคารพ ฯ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่ามาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุนี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง
๙. ฌานาภิญญาสูตร
[๔๙๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ได้เท่านั้น
เหมือนกัน ฯ
[๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[๔๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุข
ด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[๕๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ได้
เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศไม่มี
ที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่
ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงอากาสานัญจายตนะมีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณ
ไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด
แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุดเพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[๕๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า หน่อยหนึ่ง
ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด
แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[๕๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
ได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ(สังเกตุคำท้ายใช้ว่า ยตนะ)
[๕๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานา
สัญญายตนะได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[๕๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ทะลุฝา กำแพง
ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำไม่แตก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำ
พระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดถึง
พรหมโลกก็ได้ อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกันคือ กัสสปบรรลุอิทธิวิธีหลาย
ประการ ฯลฯใช้อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
[๕๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราได้ยินเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพย์และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลทั้งอยู่ใกล้ได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสป
ได้ยินเสียงสองชนิดคือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งอยู่ที่ไกลทั้งอยู่ใกล้ ฯ
[๕๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น
ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะจิตที่ยังมีจิต
อื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตที่ยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตที่ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตที่ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้นได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน
คือ กัสสปย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
[๕๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราตามระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือตาม
ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้างห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติ
บ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้างตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้าง ตลอด
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น
แล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ
อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสป
ตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือตามระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๕๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ
มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป
เขาเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน
สุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป
เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี
ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม
รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอยู่ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปก็
หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว
พรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้
ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๕๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่อย่างนั้นได้เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
[๕๑๓] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีท่านพระอานนท์เป็น
ปัจฉาสมณะ เข้าไปยังที่พำนักของภิกษุณี ครั้นเข้าไปแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้
ครั้งนั้นภิกษุณีเป็นอันมาก พากันเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่พัก ครั้นเข้าไปแล้วจึงกราบ
ท่านพระมหากัสสป แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่าน
พระมหากัสสปยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปครั้นยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ ให้
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ
[๕๑๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาไม่พอใจ ถึงเปล่งคำแสดงความไม่พอใจว่า
เพราะเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปจึงสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์
ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็มสำคัญว่าควรขายเข็มในสำนักของช่างเข็มผู้ชำนาญ
ฉันใด พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปย่อมสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า อานนท์ผู้เป็น
มุนีเปรื่องปราชญ์ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระมหากัสสปได้ยินภิกษุณี ถุลลติสสากล่าววาจานี้แล้ว
จึงกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ เราเป็นพ่อค้าเข็มท่านเป็นช่างเข็ม หรือเราเป็น
ช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านพระอานนท์จึงตอบว่าข้าแต่ท่านพระมหากัสสปผู้เจริญ ขอ
ท่านโปรดประทานโทษเถิด มาตุคามเป็นคนโง่ ฯ(ขนาดพระมหากัสสป เป็นพระอรหัตน์ ภิกษุณีก็ยังไม่รู้ แถบยังจาบจ้วงอีก ฟัง ลป.เทศน์)
[๕๑๕] งดไว้ก่อนอาวุโสอานนท์ หมู่ของท่านอย่าเข้าไปสอดเห็นให้เกินไปนัก ดูกร
อาวุโสอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่าน(พระอานนท์)ถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดวิเวกอยู่ได้เท่าใด แม้อานนท์ก็หวังสงัด
จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ ฯ
ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ เรา(พระมหากัสสป)เองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ
ภาคว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา(พระพุทธเจ้า)หวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มี
วิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน ฯลฯอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีเปยยาลอย่างนี้]
[๕๑๖] อาวุโสอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่าน(พระอานนท์)ถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ได้อย่างใด
แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญายิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้นเหมือนกัน ฯ
อา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ ฯ
ดูกรอาวุโส เราเอง(พระมหากัสสป)ถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกขุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้
อย่างนั้น เหมือนกัน ฯ
(ความหมายคือท่านเปรียบเทียบกับพระอานนท์ว่า พระศาสดาได้พยากรณ์ว่าสำเร็จเป็นพระอรหัตน์หรือไม่ ดัวยธรรมที่ท่านกล่าว หากจะสรุปไปแล้วก็คือปริศนาธรรมที่บ่งบอกถึงลำดับในการบรรลุธรรมของพระอรหัตน์ทุกพระองค์)ชัดเจนไหมครับ
[๕๑๗] ดูกรอาวุโส ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญ
ช้าง ๗ ศอกหรือ ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้ ฯ
ก็แลภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว ฯช้าง ๗ ศอกหรือ ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
[๕๒๓] ครั้งนั้นแล ท่านมหากัสสปจึงกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์
ภิกษุณีถุลลนันทายังไม่ทันพิจารณา ก็กล่าววาจาพล่อยๆ เพราะเราเองปลงผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่นึกเลยว่า เราบวชอุทิศศาสดาอื่น นอกจาก
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ครั้งก่อน เมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์
เคยคิดว่า ฆราวาสช่างคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ประดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่ายนักทางที่ดี เราควร
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เราทำผ้า
สังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่า ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
อุทิศเฉพาะท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก เมื่อบวชแล้วยังเดินไปสิ้นระยะทางไกล ได้พบพระผู้มี
พระภาคระหว่างเมืองราชคฤห์กับบ้านนาฬันทคาม กำลังประทับนั่งอยู่ ณ พหุปุตตเจดีย์ พอพบ
เข้าแล้วก็รำพึงอยู่ว่า เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสุคต ก็
เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย
อาวุโส เรานั้นจึงซบเศียรเกล้าลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง ได้กราบทูลกะ
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระ
องค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์
เป็นสาวก ดังนี้ ฯ
[๕๒๔] เมื่อเรากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเราว่า ดูกรกัสสป ผู้ใด
เล่ายังไม่ทราบชัดถึงสาวกผู้ประมวลมาด้วยจิตทั้งหมด อย่างนี้แล้วจะพึงพูดว่ารู้ ยังไม่เห็นเลย
จะพึงพูดว่าเห็น ศีรษะของบุคคลนั้นพึงแตก ดูกรกัสสป แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่ารู้ เห็นอยู่ จึงพูด ว่าเห็น
เพราะเหตุนั้นแหละกัสสป
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้นวกะ
ผู้มัชฌิมะ เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศลจักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เกิดประโยชน์ ใส่ใจถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลมาด้วยจิตทั้งหมด เงี่ยโสตสดับพระธรรม ... เราจักไม่ละกายคตาสติที่สหรคตด้วยกุศลความสำราญ
ดูกรกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ(อันนี้ ลป.เทศน์ในประวัติพระมหากัสสป)จะพึงพูดว่าเห็น ศีรษะของบุคคลนั้นพึงแตก ดูกรกัสสป แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่ารู้ เห็นอยู่ จึงพูด ว่าเห็น
เพราะเหตุนั้นแหละกัสสป
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้นวกะ
ผู้มัชฌิมะ เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศลจักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เกิดประโยชน์ ใส่ใจถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลมาด้วยจิตทั้งหมด เงี่ยโสตสดับพระธรรม ... เราจักไม่ละกายคตาสติที่สหรคตด้วยกุศลความสำราญ
ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทเราด้วยพระโอวาท
นี้เสด็จลุกจากอาสนะแล้วทรงหลีกไป ดูกรอาวุโสเราเป็นหนี้ บริโภคก้อนข้าวของราษฎรถึงหนึ่ง
สัปดาห์ วันที่ ๘ พระอรหันตผลจึงปรากฏขึ้น คราวนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกจากหนทางตรง
ไปยังโคนต้นไม้แห่งหนึ่ง เราจึงเอาผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าปูเป็นสี่ชั้นถวาย แล้วกราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์และ
ความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคก็ประทับนั่งบนอาสนะที่จัด
ถวาย ครั้นประทับนั่งแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเราว่า กัสสปผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าของเธอ
ผืนนี้อ่อนนุ่ม เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์ทรง
รับผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าของข้าพระองค์เถิด พระองค์ตรัสว่า ดูกรกัสสป เธอจักครองผ้าบังสุกุล
ที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่หรือ เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักครองผ้า
บังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ฯ
[๕๒๕] ดูกรอาวุโส เราได้มอบถวายผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าแด่พระผู้มีพระภาค และได้
รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของพระผู้มีพระภาค ดูกรอาวุโส ก็เมื่อบุคคลจะพูดให้ถูก
พึงพูดถึงผู้ใดว่า บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอฐ ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระธรรม อัน
ธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ เขาเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดถึงผู้นั้นคือเราว่า บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอฐ ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระธรรม
อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ ฯ
[๕๒๖] ดูกรอาวุโส เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรอาวุโสเราหวัง ฯลฯ
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๙ มีเปยยาลอย่างนี้]
[๕๒๗] ดูกรอาวุโส เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิด
ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอกหรือ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้ ฯ
ก็และภิกษุณีถุลลนันทาเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
๑๒. ปรัมมรณสูตร
[๕๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤค
ทายวัน เขตพระนครพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหา
ท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ครั้นเข้าไปหาแล้วได้ปราศรัยกะท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๕๒๙] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้วได้ถามท่านพระมหากัสสปว่า ดูกร
ท่านกัสสป สัตว์เมื่อตายไปแล้วเกิดอีกหรือ ฯ(ทิฐิ)
ท่านพระมหากัสสปตอบว่า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้วไม่เกิดอีกหรือ ฯ
ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี หรือ ฯ
ก. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีกก็หามิได้ หรือ ฯ
ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
สา. เพราะเหตุไรหรือ ข้อที่กล่าวถึงนั้นๆ พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ(ทิฐิ)
ก. เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เป็น
ไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
[๕๓๐] สา. ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า ฯ
ก. พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ฯ(อริยสัจสี่)
สา. ก็เพราะเหตุอะไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
ก. เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อ
ความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
-------------------------------
น่าสนใจเหลือเกินครับบทนี้ เป็นประโยชน์ยิ่งนักครับ สาธุ
ตอบลบ