หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ธาตุ ๑

๗. ธาตุสูตร
    [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพาน
ธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์
ของตนอันบรรลุแล้ว มี  สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น
ย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่า
ใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียก
ว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ตอนออกเทศน์ ทำกิจต่าง ๆ)
       ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้
แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดย
ชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็น
ต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสส
นิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ(ตอนเข้านิโรธสมาบัติ
คือสัญญาเวทยิตนิโรธ เวทนา สัญญาดับ  กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารดับ)

    ธรรมชาติอันเกิดแล้ว(อุปาทานขันธ์ห้า) มีแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว
    ปรุงแต่งแล้ว(สังขาร) ไม่ยั่งยืน ระคนแล้วด้วยชราและมรณะ เป็นรังแห่งโรค
    ผุผัง มีอาหารและตัณหา เป็นแดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีธรรมชาตินั้น
    การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น((อุปาทานขันธ์ห้า)) เป็นบทอันระงับจะคาดคะเนเอาไม่ได้(คิดเอาไม่ได้)
    ยั่งยืนไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก ปราศจากธุลีความ
     ดับแห่งทุกขธรรมทั้งหลาย คือ ความที่สังขารสงบระงับเป็นสุข

๔. ปัญญาสูตร
    [๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มี
ความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข
ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล เมื่อตายไปพึง
หวังได้สุคติ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
        จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อม
    ไปจากปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลก ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง
     ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
    ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มี
    สติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๔

พระพุทธโอวาทสอนนางธีราเถรี

    [๔๐๗] ดูกรนางธีรา เธอจงถูกต้องนิโรธอันเป็นที่สงบระงับสัญญาเป็นสุข เธอ
        จงทำนิพพานอันยอดเยี่ยมปลอดโปร่งจากโยคะให้สำเร็จเถิด.

๗. ธาตุสูตร
    [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพาน ธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์
ของตนอันบรรลุแล้ว มี  สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น
ย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่า
ใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียก
ว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
  ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้
แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดย
ชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็น
ต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์
ดังนี้ว่า
    นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่
    อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบัน
    นี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพาน
    ธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
    อันมีในเบื้องหน้าชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุง
แต่งแล้ว
นี้มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
ชน
    เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรมอันเป็น
    สาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๗

2 ความคิดเห็น:

  1. สาธุ สาธุ สาธุ ... ทุกวันนี้ผู้คนห่างไกลพระธรรมแต่หันเข้าสู่กิเลสและโลกธรรมแทบทั้งสิ้น ขอบคุณนะครับที่เป็นเนื้อนาบุญในการเผยแพร่พระสัทธรรมที่แท้จริง ขออนุโมทนาครับ

    ตอบลบ