การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่าสังขารเกิดเพราะ
กุศลมูลเป็นปัจจัย
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
<< ความเห็นผม ว่าผิด เพราะมีหลายจุด พยายามจะอธิบายว่า นาม คือ สิ่งที่ไม่ใช่รูป หมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ในพระสูตรนี้ไม่มี วิญญาณ หรือมนิสิการ >>
<<หากเราเอาปฏิจจสมุปบาทมาพิจารณา>>ท่านจะเห็นว่ามันผิด อธิบายไม่ได้ ตามลำดับการเกิด
<< อวิชชา >สังขาร(สติ ปัญญา)> วิญญาณ >นามรูป> ผัสสะ(สัญญา) >เวทนา>>อุปาทาน >ภพ >ชาติ >มรณะ> โสกะ ปริเทวะ> อุปายสะ>>
พระสารีบุตร อธิบาย วิญญาณกับนามรูป เหมือนไม้อ้อ ๒ ลำ เพิงกัน เอาอันใดอันหนึ่งออก อีกอันก็อยู่ไม่ได้
รูป เป็นไฉน
ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่
ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖เป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าอายตนะที่ ๖ เกิด
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อรหันตวรรคที่ ๓
๑. ทุกขสูตร
[๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไปพึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๖
ประการเป็นไฉน คือ กามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑วิหิงสาวิตก ๑ กามสัญญา ๑
พยาบาทสัญญา ๑ วิหิงสาสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวัง
ได้ทุคติ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน
ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้สุคติ ธรรม ๖ ประการเป็น
ไฉน คือ เนกขัมมวิตก ๑ อัพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ เนกขัมมสัญญา ๑ อัพยาบาท
สัญญา ๑ อวิหิงสาสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล
ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อนไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึง
หวังได้สุคติ ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. อรหัตตสูตร
[๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ มานะ ความถือตัว ๑ โอมานะ ความสำคัญ
ว่าเลวกว่าเขา ๑ อติมานะ ความเย่อหยิ่ง ๑อธิมานะ ความเข้าใจผิด ๑ ถัมภะความหัวดื้อ ๑
อตินิปาตะ ความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ
นี้แลย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
อรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความถือตัว ๑ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ ความ
เย่อหยิ่ง ๑ ความเข้าใจผิด ๑ ความหัวดื้อ ๑ ความดูหมิ่นตัวเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. อุตตริมนุสสธรรมสูตร
[๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำ
ให้แจ้งซึ่งญาณทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ๑
ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ความ
โกหก ๑ การพูดเลียบเคียง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณ
ทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ธรรม ๖ ประการ
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติไม่เลอะเลือน ๑ ความเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ความไม่โกหก ๑ การ
ไม่พูดเลียบเคียง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้
แจ้งซึ่งญาณทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. สุขสูตร
[๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้มากด้วย
สุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้
ยินดีภาวนา ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีการละ ๑ย่อมเป็นผู้ยินดีปลีกวิเวก ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีความไม่
พยาบาท ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖
ประการนี้แลย่อมเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุ
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๔
๘. นิรยสูตรที่ ๒
[๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเกิดในนรก
เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้กล่าวเท็จ ๑ กล่าวส่อเสียด ๑
กล่าวคำหยาบ ๑ กล่าวคำเพ้อเจ้อ ๑ เป็นผู้โลภ ๑ และเป็นผู้คะนอง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือน
เชิญมาประดิษฐานไว้ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ๑ จากปิสุณา
วาจา ๑ จากผรุสวาจา ๖ จากสัมผัปปลาปะ ๑ เป็นคนไม่โลภ ๑ และเป็นผู้ไม่คะนอง ๑ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์
จบสูตรที่ ๘
๙. อัคคธรรมสูตร
[๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตอันเป็นธรรมชั้นเลิศ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ เป็นผู้มี
ปัญญาทราม ๑ และเป็นผู้มีห่วงใยในร่างกายและชีวิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตอันเป็นธรรมชั้นเลิศ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อควรกระทำให้
แจ้งซึ่งอรหัตอันเป็นธรรมชั้นเลิศ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉนคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีหิริ ๑ เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๑เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑
และเป็นผู้ไม่มีความห่วงใยในร่างกายและชีวิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖
ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตอันเป็นธรรมชั้นเลิศ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๙. กัญจิสังขารสูตร
[๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ
โดยความเป็นอัตตา ๑เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำอนันตริยกรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือความ
บริสุทธิ์โดยมงคลตื่นข่าว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ
๑๐. มาตริสูตร
[๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่ามารดา ๑เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าบิดา ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าพระอรหันต์ ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วยจิต
ประทุษร้าย ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถือศาสดาอื่น ๑ ดูกร
ภิกษุทั้งหลายฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
๑๑. สยกตสูตร
[๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็น
ไฉน คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่ตนเองกระทำแล้ว ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่ผู้อื่นกระทำแล้ว ๑เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่ตนเอง
กระทำแล้วและที่ผู้อื่นกระทำแล้ว ๑เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ตนเองไม่
กระทำไว้ ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ผู้อื่นไม่กระทำไว้ ๑ เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ตนเองไม่กระทำไว้ และที่ผู้อื่นไม่กระทำไว้ ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุ
ไร เพราะเหตุว่า เหตุและธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากเหตุ อันบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐินั้น
เห็นแล้วด้วยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบสีติวรรคที่ ๔
_______________
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีติสูตร ๒. ภัพพสูตร
๓. อาวรณตาสูตร ๔. สุสสูสาสูตร
๕. ปหาตัพพสูตร ๖. ปหีนสูตร
๗. อุปปาเทตัพพสูตร ๘. สัตถริสูตร
๙. กัญจิสังขารสูตร ๑๐. มาตริสูตร
๑๑. สยกตสูตร ฯ
__________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น