หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โลกสูตร

โลกสูตร
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอทั้งหลาย
จงฟัง ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน ความเกิดแห่งโลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิด
จักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิด
ภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสนี้เป็นความเกิดแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์เกิดมโน
วิญญาณ  รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย  จึงเกิดชาติเพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน ความดับแห่งโลกนั้น คือ
อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา  เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดย
ไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เป็นความดับแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับเพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔
เสยยสูตร
[๑๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมี  เพราะยึดมั่นอะไร
ถือมั่นอะไร จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขาหรือว่าเลวกว่าเขา ฯ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์
มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเหตุ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี เพราะยึดมั่นจักษุ ถือมั่นจักษุ จึงมีความสำคัญตนว่า
ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯลฯ เมื่อใจมีเพราะยึดมั่นใจ ถือมั่นใจ จึงมี
ความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขาหรือว่าเลวกว่าเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนจักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่นสิ่งนั้นแล้ว
จะพึงมีความสำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่นสิ่งนั้นแล้ว
จะพึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน
จักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ
หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕

 เพราะเหตุนั้นแหละเบญจกามคุณแม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคยสัมผัสด้วย
ใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ท่านทั้งหลายปรารถนาประโยชน์แก่ตน
พึงทำความไม่ประมาทในเบญจกามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต แล้วพระองค์ตรัสต่อ
ไปอีกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะอันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ
ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น หูดับ ณที่ใด สัททสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น จมูกดับ
ณ ที่ใด คันธสัญญาก็สิ้นไป ณที่นั้น ลิ้นดับไป ณ ที่ใด รสสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น กายดับ
ณ ที่ใด โผฏฐัพพสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้นครั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเมื่อพระผู้มีพระภาค
เสด็จไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นมีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่าเพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะอันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ
ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ดังนี้แล้ว
เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่า
นั้นคิดว่าท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรร
เสริญ ทั้งท่านสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำ
แนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่
อยู่ แล้วพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ฯ

ผมทราบแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความ
แห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้  โดยพิสดารว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
พระพุทธวจนะนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงภาษิต หมายเอาความดับแห่งอายตนะ ๖ข้อที่พระผู้
มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ  ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้า
ไปสู่พระวิหารเสียนั้น ผมรู้เนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้
พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล ผู้มีอายุทั้งหลาย
ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด โดยประการทั้งปวง
           และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่
           เสื่อมในโลก.
[๗๗] ภ. กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิตประกาศแล้วในโลก   บุคคลเลิก
ความพอใจในนามรูปนี้ได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้ ฯ
              จบสัตติวรรคที่ ๓

บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมกำจัดฉันทะในอารมณ์
ทั้งหลายนั้นโดยแท้ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะเสีย พึง
ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสียทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ตกถึงบุคคลนั้น ผู้ไม่
เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ขีณาสวภิกษุละ
บัญญัติเสียแล้ว ไม่ติดมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้ว
พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์
ทั้งหลายก็ดี ในสถานเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดีเที่ยวค้นหา ก็
ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มี
ตัณหา ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
    ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะ ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้ ที่เป็นกระแสแห่งกัณหมาร
    อันนอนเนื่องแล้วสิ้นกาลนาน เธอได้ข้ามพ้นชาติและมรณะไม่มีส่วน
    เหลือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระผู้มีพระภาค
    ผู้ประเสริฐสุดด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นต้น ได้ตรัสอย่างนี้ ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น