หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มรรคเครื่องเดินทาง

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อาสีวิสวรรคที่ ๔


อาสีวิสสูตร
[๓๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย เหมือนอย่างว่า มีอสรพิษ ๔ จำพวก ซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่
อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน อสรพิษ ๔ จำพวก
นี้ มีฤทธิ์เดชแรงกล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา
ให้เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลานั้นท่านก็
จะพึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ
[๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนั้น  จึงหนีไป
ในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติด
ตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจ
นั้นเสีย ฯ
[๓๑๑] ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัวเพชฌฆาตผู้เป็นฆ่า
ศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาต
คนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของ
ท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ
[๓๑๒] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า กลัว
เพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกทั้ง ๕ และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่ จึงหนี
ไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปสู่เรือนร้างว่างเปล่าหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่า
ชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่าดูกรท่าน มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามา
สู่บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ
[๓๑๓] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕ กลัวเพชฌฆาตคน
ที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น เขาไปพบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้าง
นี้น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่
จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี ฯ
[๓๑๔] ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งข้างนี้เป็นที่น่า
รังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือแพ หรือสะพานที่จะข้าม
ไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้ากิ่งไม้และใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายาม
ไปด้วยมือและด้วยเท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิด
ของตน ก็ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว เป็นพราหมณ์ขึ้นบกไป ฯ
[๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความโดยง่าย ใน
ข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้าทั้ง ๔ จำพวกนั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป
๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คำว่าเพชฌฆาตทั้ง ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อ
แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ คำว่า
เพชฌฆาตคนที่ ๖ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้น
เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ ฯ
[๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ  อายตนะภายใน ๖
นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ
คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อมเดือดร้อนเพราะ
รูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อม
เดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ
กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์
เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ
ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อ
แห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้นเป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า
แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า
พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึง
ฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ ฯ

จบสูตรที่ ๑
รถสูตร
[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมมากด้วยความ
สุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ รู้ประมาณในโภชนะ ๑
ประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑



          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุ
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อ
ไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อ
ว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกฝนม้า ขึ้นสู่รถม้าอันเทียมแล้ว
ซึ่งมีประตักอันวางไว้แล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้ายถือประตักด้วยมือขวา ขับไปทางหน้าก็ได้
ถอยกลับข้างหลังก็ได้ ในถนนใหญ่ ๔ แยก(สติปัฏฐานสี่) ซึ่งมีพื้นเรียบดี  ตามความประสงค์
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมศึกษาเพื่อจะรักษา ศึกษาเพื่อจะสำรวมศึกษา
เพื่อจะฝึกฝน ศึกษาเพื่อจะระงับอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล
[๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อความ
มัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่ง บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพ
ให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เรา
จักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและ
ความอยู่สบายจักมีแก่เราดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงฉาบทาผิวกาย ก็เพียงเพื่อต้องการเสพ
หรือบุรุษพึงหยอดน้ำมันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อเล่น  เพื่อความ
มัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพ
ให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เรา
จักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและ
ความอยู่สบายจักมีแก่เราฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณใน
โภชนะอย่างนี้แล ฯ
[๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลา
กลางวัน พอถึงกลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วย
การเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อน
เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุก
ขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และ ย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้น
อาสวะทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๒
สุขุมสูตร
[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่
น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง
ในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่  แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว
(หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว
ได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น
เราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น
สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่าฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจ
บาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้วก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก
ลิ้น กายหรือใจ(ไม่น่าจะเกี่ยวกับใจ สำรวมอินทรีย์ห้า) ของภิกษุเหล่านี้บ้าง
เพราะฉันนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวาร
นอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว ะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ฟังเสียง
ด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม
แล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษา
มนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีก
จากท่านทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
(คห.น่าจะเป็นเรื่องคุ้มครองทวาร เพื่อปิดช่องมาร หรือมารไม่ได้ช่อง)
  [๓๒๑] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหา มานะและทิฐิไม่อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใดผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น ฯ

จบสูตรที่ ๓




ทารุขันธสูตรที่ ๑
[๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง  พระผู้มีพระภาค
ได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัส
ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำ
พัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่าม
กลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แลท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่ากระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก
ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ ด้วย
ประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพานข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ


[๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไรารจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร
การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร
ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อ
แห่งอายตนะภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง  เป็น
ชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ
         ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วยเมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ
    ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ  หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุนี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ 
       ดูกรภิกษุคำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕  
       ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ
มีการงานปกปิดไว้ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็น
พรหมจารีเป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าความ
เป็นผู้เน่าในภายใน ฯ
[๓๒๔] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น
ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส
   ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ
ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ
พ. ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ
ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้า
ของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้
บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน
เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก
ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย
ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๔

 พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่าดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจาก
ถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอจงแจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิ๔ ชั้นแล้วทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวา
ทรงซ้อนพระบาทด้วยพระบาทมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอุฏฐานสัญญา ในลำดับนั้นแลท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับต่อ
พระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย
เราจักแสดงอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง อวัสสุตปริยายและ
อนวัสสุตปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นรับต่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว
  ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่มด้วยกามอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารักย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่
น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลืออกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ
เป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ   ฯ
  [๓๒๙] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทาง
จักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางใจ มาร
ย่อมได้ช่องได้เหตุ ดูกรอาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดีเรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอก
กาลฝน ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้าอันไฟติด
ทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศปัจจิม
ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึง
ได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้นพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง
ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามาร
เข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
มารพึงได้ช่องได้เหตุฉันนั้น ฯ
[๓๓๐] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็รูปครอบงำภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น  ภิกษุไม่ครอบงำรูป
เสียงครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำเสียง กลิ่นครอบงำภิกษุภิกษุไม่ครอบงำกลิ่น รสครอบงำ
ภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำรส โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบ
งำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำธรรมารมณ์   ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ครอบงำไม่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลายที่
เป็นบาป  เป็นอกุศล มีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย  มีทุกข์เป็น
วิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็น
ผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้แล ฯ
[๓๓๑] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกามอย่างไร  ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็น
ผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็น
ที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อัน
ไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ
เป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้า
แม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย  ถ้าแม้บุรุษ
พึงเข้าไปใกล้กุฏาคารศาลาในทิศบูรพาด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้
เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารศาลานั้นในทิศปัจจิม ใน
ทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่อง
ไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารนั้นแต่ที่ใดที่หนึ่ง
ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว  ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มารเข้า
ไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่อง
ไม่ได้เหตุ ฉันนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลายก็ภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำ
ภิกษุ ภิกษุครอบงำเสียงเสียงไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุ
ครอบงำรสรสไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบ
งำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นบาปเป็นอกุศลเหล่านั้น อันมีความเศร้า
หมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา
และมรณะต่อไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้ ครั้งนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ
ดูกรโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิตอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย ดีแล้วๆ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว  พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล ฯ
จบสูตรที่ ๖
ทุกขธรรมสูตร
[๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและความดับสูญ  แห่ง
ทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกาม
แล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่นความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่
นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติด
ตามเธออยู่ด้วยอาการนั้นอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้
ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธอ
อยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่งทุกข
ธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างไร ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่งทุกข
ธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูป
ดังนี้ เวทนาดังนี้... สัญญาดังนี้ สังขารทั้งหลายดังนี้... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณดังนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น
และความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้แล ฯ
[๓๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้วอย่างไรเล่า เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลาย
อยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่
นอนเนื่องด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตาม
เธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่
ปราศจากเปลว ปราศจากควันครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนาเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหาหลุมถ่าน
เพลิงนั้น บุรุษนั่นพึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะว่า
บุรุษนั้นไม่มีความรู้ว่า เราเห็นหลุมถ่านเพลิงนี้และจะถึงความตายหรือความทุกข์แทบตาย เพราะ
หลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วย
หลุมถ่านเพลิง ฉันนั้นแล เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น
ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก
ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ

[๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้  อกุศลธรรม
อันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืม
แห่งสติบางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแลภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศล
ธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุรุษพึงให้หยาดน้ำสองหรือสามหยาดตกลงในกะทะเหล็กอันร้อนจัดตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้า
ทีนั้นแล น้ำนั้นพึงถึงความสิ้นไป เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ
ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้ง
แห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติ
ช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อม
ให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัส---ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและ
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ

1 ความคิดเห็น: