กามภูสูตรที่ ๒
[๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ครั้งนั้นแล
จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกร
คฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
[๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน
วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร
วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
[๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีก
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร วิตก
วิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้เนื่อง
ด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร บุคคลย่อมตรึกตรอง
ก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของ
เกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เรา
จักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
บ้าง โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ
[๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กาย
สังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น
กายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ
[๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสอง
นี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขาร
ดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้น
อายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธมีความต่างกันอย่างนี้ ฯ
[๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีก
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้
ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
บ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้างโดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิต
ที่น้อมเข้าไปเพื่อความเป็นจิตแท้ ฯ
[๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิด
ก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด ฯ
[๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ สูญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ
ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
[๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้า
แต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่
อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็น
ธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก ฯ(ให้ท่านดูเรื่องวิเวก ๓ ประกอบ)
[๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมี
อุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่าอาตมาจัก
พยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมาก
แก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
จบสูตรที่ ๖
๖. นิโรธสูตร
[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิต
นิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุ
อรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้า
ถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่าน
พระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหาร
เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้างนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึง
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้
เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ
บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วง
ความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึง
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้น
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคันค้านเราถึง ๓ ครั้ง และ
ภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนา (ภาษิต) เรา ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างพึงออก
จากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้
เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ
บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างพึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่
จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้า
ถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
บ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓
ท่านพระอุทายี ... ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง แม้
เฉพาะพระภักตร์แห่งพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาต่อเรา ผิฉะนั้น เราพึงนิ่ง
เสีย ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีว่า
ดูกรอุทายี ก็เธอย่อมหมายถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจเหล่าไหน ท่านพระอุทายีได้กราบทูลว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่าเทพชั้นอรูปที่สำเร็จด้วยสัญญา พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสว่า ดูกรอุทายี ไฉนเธอผู้เป็นพาล ไม่ฉลาดจึงได้กล่าวอย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจคำที่เธอ
ควรพูด ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจัก
วางเฉย (ดูดาย)ภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความการุณจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาด
ซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ... ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้น
ตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่
นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า ดูกรท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่า
อื่นในพระศาสนานี้ ย่อมเบียดเบียนภิกษุทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การ
ที่พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้นยกขึ้นแสดง เหมือน
ดังที่จะพึงตรัสกะท่านอุปวาณะโดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้นไม่เป็นของอัศจรรย์ บัดนี้ ความ
น้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เสด็จเข้า
ไปนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ แล้วจึงตรัสถามท่านพระอุปวาณะว่า
ดูกรอุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น