หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาทิตตปริยายสูตร

อาทิตตปริยายสูตร
อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้โดยปริยายนี้แล มโนวิญญาณนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก
เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฯ
[๓๐๒] ดูกรท่านพระอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือ
เอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ไม่รุงรัง ในป่านั้น พึงตัดที่โคนต้นแล้ว
ตัดที่ปลาย ครั้นแล้วลอกกาบอก แม้กระพี้ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้ ฉันใด
ดูกรท่านพระอุทายี ภิกษุจะพิจารณาหาตัวตนหรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่ได้ ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยึดถือสิ่งใดในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่
ดิ้นรน ก็ปรินิพพานโดยแน่แท้ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๗




อาทิตตปริยายสูตร
[๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรมปริยายแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาทิตตปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดย
อนุพยัญชนะในรูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต
หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึง
เข้าถึงคติ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยัง
ดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหูจะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วย
ความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยา
ในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้
เป็นฐานะที่จะมีได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูกจะดีอะไร วิญญาณอัน
เนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำ
กาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดี
กว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรส อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้นจะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วย
ความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยา
ในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้
เป็นฐานะที่จะมีได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกายยินทรีย์ด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า
การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายจะดีอะไร วิญญาณอันเนื่อง
ด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลทำกาลกิริยา
ในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ ข้อนี้
เป็นฐานะที่จะมีได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่าเป็นโทษ  ไร้ผล เป็น
ความโง่เขลา ของบุคคลผู้เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้
บุคคลไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลายเราเห็นโทษอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของ
บุคคลผู้เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ
[๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เรา
จะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า จักษุไม่เที่ยงรูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง
โสตินทรีย์ที่บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้นเราจะทำ
ไว้ในใจอย่างนี้ว่า หูไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง
ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บอันคมไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะ
ทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า จมูกไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือน
ด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อนผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ลิ้น
ไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยงชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง กายินทรีย์ที่บุคคลแทง
ด้วยหอกอันคมไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า กายไม่
เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ความหลับจงงดไว้ก่อน
ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่าใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโน
สัมผัสไม่เที่ยงสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ใน
ธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณแม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม
สุขเวทนา ที่เกิดขึ้น---เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้แลเรียกว่าอาทิตตปริยาย และธรรมปริยายฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
รูป + จักษุ +จักษุวิญญาน >>จักษุสัมผัส >>เวทนา>>  ทำนองเดียวกันกับทวารอื่น ท่านสรุปมาที่
มโนทวาร
เหมือนกัน เกิดนิพพิทาญาน เบื่อหน่าย >> คลายกำหนัด ฯลฯ ว่ากันง่าย ๆ คือ ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น