หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พระพุทธเจ้าพยากรณ์ การปฏิบัติว่าถึงนิพพานหรือไม่


ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระนึกถึงพระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน
 มรณภาพแล้วว่า จะได้สำเร็จนิพพานหรือไม่ จึงกราบทูลถามพระบรมศาสดาด้วยคาถา ๑๒
ขอพระองค์ทรงยังฝน คือ
        พระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้วให้ตกลงเถิด พระเจ้าข้า ท่าน
        นิโครธกัปปะได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของ
        ท่านนั้นเป็นประโยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปาทิเสส
        นิพพานแล้ว ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือว่าท่านเป็น
        พระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่ง
        หวังนั้น พระเจ้าข้า.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์จึงตรัสพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า
        พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาด ซึ่งความทะยานอยากในนามรูปนี้ กับ
        ทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้น
        ชาติและมรณะได้หมดสิ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ
        จักษุทั้ง ๕ ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ ก็ชื่นชมยินดีพระพุทธ
 ภาษิตเป็นอย่างยิ่ง

๑.  วังคีสเถรคาถา
           (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)

              [๑๒๘๔]พระนิโครธกัปปเถระนั้นได้ตัดขาดตัณหาในนามรูปนี้
ทั้งตัดกระแสแห่งธรรมฝ่ายดำซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านานข้ามพ้นชาติมรณะได้อย่างสิ้นเชิง
พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐด้วยพลธรรม ๕ ประการได้ตรัสไว้ดังนี้

            (พระวังคีสเถระกราบทูลด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)


เมื่อพระวังคีสเถระกำจัดมานะที่เป็นไปแก่ตนได้แล้ว เพราะอาศัยคุณสมบัติ คือ ความ
 ไหวพริบของตน จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาต่อไปอีก ความว่า
        ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความเย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้ง
        ทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดเสียด้วย เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่ง
        ความเย่อหยิ่งจะต้องเดือดร้อนอยู่ตลอดกาลช้านาน หมู่สัตว์ผู้ยังมีความ
        ลบหลู่คุณท่านถูกมานะกำจัดแล้วไปตกนรก ชุมชนคนกิเลสหนา ถูก
        ความทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรกต้องเศร้าโศกอยู่ตลอดในกาลนาน
        กาลบางครั้งภิกษุปฏิบัติชอบแล้วชนะกิเลสด้วยมรรคจึงไม่ต้องเศร้าโศกยัง
        กลับได้เกียรติคุณ และความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบ
        อย่างนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น ภิกษุในศาสนานี้ไม่ควรมี
        กิเลสเครื่องตรึงใจ ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์
        และละมานะโดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุที่สุดแห่งวิชชาได้
        ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ และจิตใจของข้าพเจ้าก็เร่าร้อนเพราะกาม
        ราคะเหมือนกัน ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ขอพระคุณจงกรุณาบอก
        ธรรมเครื่องดับความเร่าร้อนด้วยเถิด.
    ท่านพระอานนท์เถระกล่าวคาถา ความว่า
        จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด เพราะฉะนั้น ท่านจงละทิ้งนิมิต
        อันงามซึ่งประกอบด้วยราคะเสีย ท่านจงอบรมจิตให้มีอารมณ์อันเดียว
        ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของไม่สวยงาม
        จงอนิมิตตานุปัสสนา การนึกถึงกิเลสเป็นเครื่องหมาย จงตัดอนุสัย
        คือมานะเสีย แต่นั้นท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป เพราะละมานะเสียได้.

พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ทรง
          แสดงอมตบทแก่หมู่ชนเป็นอันมาก เวลานั้นเราได้ฟังพระดำรัสอาสภิวาจา
          ที่พระองค์เปล่งแล้ว ประนมกรอัญชลี เป็นผู้มีใจเป็นอารมณ์เดียว
          (กล่าวว่า)
                        สมุทรเลิศกว่าทะเลทั้งหลาย เขา
                        สุเมรุประเสริฐกว่าเขาทั้งหลาย
                        เป็นที่สั่งสมหิน ฉันใด ชนเหล่าใด
                        ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิต ชน
                        เหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยวแห่ง
                        พระพุทธญาณ ฉันนั้น
ฉะนั้น ขอพระองค์
    จงยังสัททายตนะ คือ สุตะให้ตกเถิด ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะได้ประพฤติ
    พรหมจรรย์ ตามความปรารถนา พรหมจรรย์อะไรๆ ของท่านไม่เปล่า
    นิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุหรือ หรือว่าเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
    ยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะขอฟังความข้อนั้น ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
    ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะ ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้ ที่เป็นกระแสแห่งกัณหมาร
    อันนอนเนื่องแล้วสิ้นกาลนาน เธอได้ข้ามพ้นชาติและมรณะไม่มีส่วน
    เหลือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระผู้มีพระภาค
    ผู้ประเสริฐสุดด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นต้น ได้ตรัสอย่างนี้ ฯ

(ท่านสังเกตุ คำที่ผมเน้นคำไว้ ว่า ท่านใช้คำปรินิพพาน กับพระอรหันต์ และนิพพานด้วยอนุปาทิเสส หรือสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งเป็นศัพท์เดียวกัน หรือ อนััตตาธาตุก็ได้)

ท่านพระวังคีสะกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์นี้ได้ฟังแล้ว ย่อมเลื่อมใสพระดำรัส
    ของพระองค์ ได้ยินว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามถึงพรหมจรรย์อันไม่เปล่า
    พระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ไม่ลวงข้าพระองค์ พระสาวกของพระพุทธเจ้า
    เป็นผู้มีปรกติกล่าวอย่างใด กระทำอย่างนั้น ได้ตัดข่ายอันมั่นคงนั้นๆ
    ของมัจจุราชผู้มีมายาขาดแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะ
    ผู้สมควร ได้เห็นเบื้องต้นแห่งอุปาทานได้ล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก
    แล้วหนอ ฯ
    จบวังคีสสูตรที่ ๑๒
 [๗๕๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาค ณ ที่เฉพาะพระพักตร์
ด้วยคาถาอันสมควรว่า
พระจันทร์พระอาทิตย์(จิต กลางคืน กลางวัน )ซึ่งปราศจากมลทิน(กิเลส) ย่อมแจ่มกระจ่างในท้องฟ้า
ซึ่งปราศจากเมฆฝน(อวิชชา) ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระรัศมีซ่านออกแต่
พระสรีรกาย ผู้เป็นมหามุนี พระองค์ย่อมรุ่งเรืองล่วงสรรพสัตว์โลก
ด้วยพระยศ ฉันนั้น ดังนี้ ฯ
 ๖. อภัยเถรคาถา
               สุภาษิตสรรเสริญพุทธภาษิต
    [๑๖๓] เราได้ฟังพระวาจาอันเป็นสุภาษิตของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
        พระอาทิตย์ จึงได้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งธรรมอันละเอียด เหมือน
        บุคคลยิงปลายขนทรายด้วยลูกศร ฉะนั้น.(ให้ท่านจำคำนี้ไว้จะมีการกล่าวถึงบ่อย)



วาลสูตร
   ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก

    [๑๗๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้
เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน
เมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับ
เรียนศิลปะ ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด ครั้นแล้ว
ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ ที่จักยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก
แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว.
    [๑๗๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแล้ว
เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานพระวโรกาส เมื่อเวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน
เมืองเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ
ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด ครั้นแล้ว ข้าพระองค์
ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่
ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอ
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน?
คือ การที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด กับการ
แทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน.

     อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้ว
เป็น ๗ ส่วน กระทำได้ยากกว่า และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่าพระเจ้าข้า.
     พ. ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (อริยสัจสี่) ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้ เพราะฉะนั้นแหละ
อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา.(อริยสัจสี่)
                   จบ สูตรที่ ๕




๒. จิตตกเถรคาถา
               สุภาษิตเกี่ยวกับผู้เจริญฌาน
    [๑๕๙] นางนกยูงทั้งหลายมีขนเขียว ขนคองาม หงอนงาม พากันร่ำร้อง
        อยู่ในป่าการวี นางนกยูงเหล่านั้นพากันร่ำร้องในเวลามีลมหนาวเจือ
        ด้วยฝน ย่อมปลุกบุคคลผู้เจริญฌานซึ่งหลับอยู่ให้ตื่น.

 ๕. กุณฑธานเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับการข้ามโอฆะ
    [๑๕๒] ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕ พึงเจริญ
        อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุผู้ก้าวล่วงธรรมเป็น
        เครื่องข้อง ๕ ประการได้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้ามโอฆะ
        ได้แล้ว.
๑. จูฬวัจจฉเถรคาถา
             สุภาษิตเกี่ยวกับความยินดีในธรรม
    [๑๔๘] ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ในธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว
        พึงบรรลุสันติบท(นิพพาน)อันเป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข.
                 ๒. มหาวัจฉเถรคาถา
                สุภาษิตเกี่ยวกับไตรสิกขา
    [๑๔๙] ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน
        มีสติ บริโภคโภชนะตามมีตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ ซึ่ง
        กาลปรินิพพานในศาสนานี้.๑. สุภูติเถรคาถา
                สุภาษิตเกี่ยวกับจิตหลุดพ้น
    [๑๓๘] ได้ยินว่า ท่านพระสุภูติเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ดูกรฝน
        กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีเครื่องป้องกันอันสบายมิดชิดดี ท่านจงตกลงมา
        ตามสะดวกเถิด จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
        เราเป็นผู้มีความเพียรอยู่ เชิญตกลงมาเถิดฝน.

ภิกษุใดรู้ความที่รูปขันธ์เป็นของละเอียด รู้ความเกิดแห่ง
      เวทนา รู้ความเกิดและความดับแห่งสัญญา รู้จักสังขารโดย
      ความไม่เที่ยง โดยเป็นทุกข์ และโดยความเป็นอนัตตา
      ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบ เป็นผู้สงบ ยินดีในสันติบท(นิพพาน)
      ชำนะมารพร้อมทั้งเสนา ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด ฯ

สังวรสูตร
         [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียร ๔ ประการ นี้ ๔ ประการนี้เป็นไฉน คือ
สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู...ดูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เราเรียกว่าสังวรปธาน
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มี  ซึ่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งพยาบาทวิตกเกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่าปหานปธานดูกรภิกษุทั้งหลาย
      ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ นี้เราเรียกว่าภาวนาปธาน
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอัน
เจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิปุพพกสัญญาวิจฉิทกสัญญา
อุทธุมาตกสัญญา นี้เราเรียกว่าอนุรักขนาปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลายความเพียร ๔ ประการนี้แล ฯ
      ปธาน ๔ ประการนี้ คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑
      ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็น
      เผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องให้ภิกษุ
      ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียรพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ ฯ
                จบสูตรที่ ๔

อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
                    ปฐมปัญณาสก์
                    ภัณฑคามวรรคที่ ๑
                       อนุพุทธสูตร
         [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัณฑคาม แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาค
แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ทั้งเรา ทั้งท่านทั้งหลายได้แล่น
ไปแล้ว ได้ท่องเที่ยวไปแล้วสิ้นกาลนานอย่างนี้ เพราะยังไม่รู้แจ้ง ไม่แทงตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการ
ธรรม ๔ประการเป็นไฉน คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑ สมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ปัญญาที่เป็นอริยะ ๑
และวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ศีลที่เป็นอริยะสมาธิที่เป็นอริยะ ปัญญาที่เป็น
อริยะ และวิมุตติที่เป็นอริยะ อันเราและท่านทั้งหลายได้ตรัสรู้ ได้แทงตลอดแล้ว ถอนตัณหาใน
ภพขึ้นได้แล้ว ตัณหาอันนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
     พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว  จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
      ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ซึ่งไม่มี
      ธรรมอื่นยิ่งกว่า อันพระโคตม ศาสดาผู้มียศได้ตรัสรู้แล้ว

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าบุรุษ ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้คือ
    มังสจักษุ ๑ ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ๑ ความบังเกิดขึ้น
    แห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ เมื่อใดญาณบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ
    นั้น บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเพราะการได้เฉพาะซึ่งปัญญาจักษุ
    อันยอดเยี่ยม ฯ

๓. อินทรียสูตร
    [๒๔๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓
ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑
อัญญาตาวินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ประการนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นในเพราะ
    โสดาปัตติมรรค อันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป แก่พระเสขะผู้ยัง
    ต้องศึกษาอยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรงธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (อัญญินทรีย์)
    ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแต่ปฐมญาณนั้น ปัจจเวกขณญาณ (อัญญาตาวินทรีย์)
    ย่อมเกิดขึ้นว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ แก่พระขีณาสพผู้พ้นวิเศษแล้ว
    ผู้คงที่ ภายหลังแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึงนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลส
    เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ถ้าว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรีย์
    ผู้ระงับแล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้ บุคคลนั้นชนะมารพร้อมทั้ง
    พาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๓

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ดับแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุหาย
    หิวแล้ว ดับรอบแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๗

อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕
    ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปในนิพพานตามความเป็นจริง
    เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไปถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิด
    แล้ว ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลาย
    ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑๒

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์
ดังนี้ว่า
    เธอทั้งหลายตื่นอยู่ จงฟังคำนี้ เธอเหล่าใดผู้หลับแล้วเธอเหล่านั้นจงตื่น
    ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
    ผู้ใดตื่นอยู่มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใสพิจารณา
    ธรรมอยู่โดยชอบโดยกาลอันควร ผู้นั้นมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว
    พึงกำจัดความมืดเสียได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบธรรมเครื่องเป็น
    ผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปรกติได้ฌาน
    ตัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติและชราได้แล้ว พึงถูกต้องญาณ
    อันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แล ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐

พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์
ดังนี้ว่า
    เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดามีปัญญายิ่ง
    มีปรกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่
    สุดนั้นแล ว่าผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ มีความ
    เพียร มีปรกติเห็นที่สุด คือ ความสิ้นไปแห่งชาติครอบงำมารพร้อม
    ด้วยเสนาได้แล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๙

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์
ดังนี้ว่า
    ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีสติมีฌาน
    ไม่มีความเพ่งเล็งในกามทั้งหลาย ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ เป็นผู้
    ยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปรกติเห็นภัยในความประมาท ชนเหล่า
    นั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว

๗. ธาตุสูตร
    [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพาน
ธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์
ของตนอันบรรลุแล้ว มี  สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น
ย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่า
ใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียวดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียก
ว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้
แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดย
ชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็น
ต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสส
นิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ

ธรรมชาติอันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว
    ปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ระคนแล้วด้วยชราและมรณะ เป็นรังแห่งโรค
    ผุผัง มีอาหารและตัณหา เป็นแดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีธรรมชาตินั้น
    การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น เป็นบทอันระงับ จะคาดคะเนเอาไม่ได้
    ยั่งยืนไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก ปราศจากธุลีความ
    ดับแห่งทุกขธรรมทั้งหลาย คือ ความที่สังขารสงบระงับเป็นสุข ฯ

๔. ปัญญาสูตร
    [๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มี
ความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข
ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล เมื่อตายไปพึง
หวังได้สุคติ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
    จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อม
    ไปจากปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของ
    จริง ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
    ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มี
    สติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๔

ภิกษุใดไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้านมีความเพียรเลว
    มากไปด้วยถีนมิทธะ ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อภิกษุเช่นนั้น ไม่ควรเพื่อจะ
    บรรลุญาณเป็นเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใดมีสติ มีปัญญา
    เครื่องรักษาตน มีฌาน  มีความเพียร มีโอตตัปปะ ไม่ประมาท ตัด
    กิเลสชาติเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติและชราขาดแล้ว พึงบรรลุ
    ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ในอัตภาพนี้แล ฯ

๓๙๑] สันติก็ดี สันติบทก็ดี ย่อมมีโดยอาการเดียวกัน สันติบทนั้นนั่นแหละ
เป็นอมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความ
คลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ชื่อว่า สันติ ในอุเทศว่า
สนฺติปทํ พฺรูหิ สหาชเนตฺต ดังนี้.
     สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บทนี้สงบ บทนี้ประณีต คือ
ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด.
     โดยอาการอีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ เพื่อถูกต้อง
ความสงบ เพื่อทำให้แจ้งความสงบ ธรรมเหล่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่า
สันติบท. ขอพระองค์จงตรัสบอก ... ขอจงประกาศซึ่งสันติบท คือ บทที่ต้านทาน บทที่ซ่อนเร้น
บทเป็นสรณะ บทที่ไม่มีภัย บทที่ไม่มีความเคลื่อน บทอมตะ บทนิพพาน. สัพพัญญุตญาณ
ท่านกล่าวว่า ญาณเป็นดังดวงตา ในคำว่า สหาชเนตฺต ดังนี้. ญาณเป็นดังดวงตาและความ
เป็นพระชินเจ้า เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน
ที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า มีญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับ
ความตรัสรู้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้
ขอพระองค์จงตรัสบอกสันติบท.
     [๓๙๒] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า
ยถาตจฺฉํ ในอุเทศว่า ยถาตจฺฉํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ ดังนี้.
     คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
     คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์จงตรัส
บอก ฯลฯ ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จง
ตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

[๓๙๔] คำว่า ภควา ในอุเทศว่า ภควา หิ กาเม อภิภุยฺย อิริยติ ดังนี้ เป็น
เครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
     กาม ในคำว่า กาเม โดยอุทานมี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้
ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม. ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า กิเลสกาม. พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้วัตถุกาม
ทรงละ ทรงครอบงำ ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรงกำจัด ทรงย่ำยีแล้ว ซึ่งกิเลสกาม
เสด็จเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง ทรงเยียวยา เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป.
     [๓๙๕] พระอาทิตย์ท่านกล่าวว่า อาทิจฺโจ ในอุเทศว่า อาทิจฺโจว ปฐวี เตชี เตชสา
ดังนี้.
     ชรา ท่านกล่าวว่า ปฐพี. พระอาทิตย์มีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช คือ รัศมีส่อง
แผ่ปกคลุมครอบปฐพี ให้ร้อน เลื่อนลอยไปในอากาศทั่วไปกำจัดมืด ส่องแสงสว่างไปในอากาศ
อันว่างเป็นทางเดิน ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงมีเดชคือพระญาณ ประกอบด้วยเดชคือพระญาณ
ทรงกำจัดแล้วซึ่งสมุทัยแห่งอภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ความมืดคือกิเลส อันธการคืออวิชชา ทรง
แสดงแสงสว่างคือญาณ ทรงกำหนดรู้ซึ่งวัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ ทรงปกคลุม

 คำว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหาคุณใหญ่ คือ ทรง
แสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ สมาธิขันธ์ใหญ่ ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
     พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความทำลายกองมืดใหญ่ ความ
ทำลายวิปลาสใหญ่ ความถอนลูกศร คือ ตัณหาใหญ่ ความปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่ ความ
กำจัดธงคือมานะใหญ่ ความระงับอภิสังขารใหญ่ ความปิดกั้นโอฆะใหญ่ ความปลงภาระใหญ่
ความตัดสังสารวัฏใหญ่ ความดับความเดือดร้อนใหญ่ ความระงับความเร่าร้อนใหญ่ ความยก
ขึ้นซึ่งธงคือธรรมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
     พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อมตนิพพานเป็นปรมัตถ์
ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.

 ปริหานสูตร
     [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ
 ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยินดีการงาน ๑ความเป็นผู้ยินดีในการคุย ๑ ความ
เป็นผู้ยินดีในความหลับ ๑ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็นผู้ยินดีในธรรม
เครื่องข้อง ๑ความเป็นผู้ยินดีในธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการ
นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
                         จบสูตรที่ ๑๖
                         อปริหานสูตร
     [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เสขะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ยินดีการงาน ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดี
ในการคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในความหลับ ๑ความเป็นผู้ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็น
ผู้ไม่ยินดีในธรรมเครื่องข้อง ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในธรรมเครื่องเนิ่นช้า ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
                         จบสูตรที่ ๑๗
คำว่า พึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง .... อัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ปัญญา เรียกว่า
มันตา ได้แก่ความรู้ ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ.
คำว่า อัสมิมานะ คือ อัสมิมานะ อัสมิฉันทะ อัสมิอนุสัย ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ. คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นราก
เง่าแห่งส่วนธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ภิกษุพึงกำจัด สะกัด
ดับ สงบ ปราบปราม ระงับ ซึ่งบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลสที่เป็นรากเง่าแห่งส่วนธรรม
เครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลสที่เป็นรากเง่าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะ
ด้วยปัญญา.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็น
           รากเง่าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา
           ก็ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา
           เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.
     [๗๐๘] ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือเป็นภายนอก
           ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะการทำความรุนแรงนั้น
           อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส.
ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า
     [๕๐๕] คำว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน ความว่า
ธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ เป็นธรรม มีสัญญาเป็นนิทาน มีสัญญา
เป็นสมุทัย มีสัญญาเป็นชาติ มีสัญญาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรม
เป็นเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
           บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิด
           ปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา  เมื่อบุคคล
           ดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า
           มีสัญญาเป็นนิทาน.
     [๕๐๖] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์
           ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์จะขอทูลถามธรรม
           ส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์
           บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์
           ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณ
           พราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่น กว่าอรูปสมาบัตินี้.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยอรูปสมาบัติ
     [๕๐๙] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความ
หมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ความว่า สมณพราหมณ์
บางพวกย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ
วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือ. คำว่า ยักษ์ คือ แห่งสัตว์ นรชน
มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ความหมดจด คือ
ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ
คำว่า อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ คือ เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นธีรชน
ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ
ในโลกนี้โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิต
ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ.

หล่านี้ ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แสถง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ
ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบแห่งยักษ์อย่างอื่น คือ ยิ่งกว่าอรูปสมาบัตินี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่ารูปสมาบัตินี้. เพราะเหตุ
นั้น. พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
           ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ทรงแถลงธรรม นั้นแก่
           ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญ
           พระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนว่าเป็น
           บัณฑิตในโลกนี้  ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติ
           เท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ  หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก
           กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้.
     [๕๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ก็สมณพราหมณ์บางพวก  อ้างตนเป็น
           บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์  ด้วยอรูปสมาบัติ
           เท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์
           อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบ  ในอนุปาทิเสส.
๗. ปปัญจขยสูตร
    [๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งพิจารณาการละส่วนสัญญา
อันสหรคตด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าของพระองค์อยู่ ฯ
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบการละส่วนสัญญาอันสหรคตด้วยธรรมเครื่องเนิ่น
ช้าของพระองค์แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าและความตั้งอยู่ (ในสงสาร)ก้าวล่วงซึ่ง
    ที่ต่อ คือ ตัณหาทิฐิ และลิ่ม คือ อวิชชาได้ แม้สัตว์โลกพร้อมทั้ง
    เทวโลกย่อมไม่ดูหมิ่นผู้นั้น ผู้ไม่มีตัณหาเป็นมุนี เที่ยวไปอยู่ ฯ
     จบสูตรที่ ๗

๘. มหากัจจานสูตร
    [๑๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มี
กายคตาสติตั้งมั่นดีแล้วเฉพาะหน้าในภายใน ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรง
เห็นท่านพระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่นดีแล้วเฉพาะหน้าในภายใน
ในที่ไม่ไกล ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ผู้ใดพึงตั้งกายคตาสติไว้มั่นแล้วเนืองๆ ในกาลทุกเมื่อว่าอะไรๆ อัน
    พ้นจากขันธปัญจกไม่พึงมี อะไรๆ ที่ชื่อว่าเป็นของเราก็ไม่พึงมี อะไรๆ
    ที่ชื่อว่าตนอันพ้นจากขันธ์จักไม่มี และอะไรๆ ที่เนื่องในตนจักไม่มีแก่
    เรา ผู้นั้นมีปกติอยู่ด้วยอนุปุพพวิหารตามเห็นอยู่ในสังขารนั้น พึงข้าม
    ตัณหาได้โดยกาลเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคแล ฯ
     จบสูตรที่ ๘

อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘
    ๑. นิพพานสูตรที่ ๑
    [๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้น
กระทำให้มั่น มนสิการ(ทำในใจไว้โดยแยบคาย)แล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับ
นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ  วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง
ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็น
การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป
หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัย  เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี
เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติและอุปบัติ
เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่ง
ทุกข์ ฯ
     จบสูตรที่ ๔

    [๘๒๙]  เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้  ชื่อว่า  มีสติปัฏฐาน
๔  สัมมัปปธาน  ๔  อิทธิบาท  ๔  อินทรีย์  ๕  พละ  ๕  โพชฌงค์  ๗  ถึงความเจริญบริบูรณ์
บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้  คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป  เขาชื่อว่ากำหนดรู้
ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญา
อันยิ่ง  ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า
อุปาทานขันธ์  ๕  ได้แก่อุปาทานขันธ์  คือรูป  คือเวทนา  คือสัญญา  คือสังขาร  คือวิญญาณ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  คืออวิชชา  และภวตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  คือสมถะและวิปัสสนา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  คือวิชชาและวิมุตติ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง  ฯ

๘๒๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ  ตามความเป็นจริง...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ  ตามความเป็นจริง...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา  ตามความเป็นจริง...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย  ตามความเป็นจริง...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน  ตามความเป็นจริง  เมื่อไม่รู้ไม่เห็น
ธรรมารมณ์  ตามความเป็นจริง  เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ  ตามความเป็นจริง  เมื่อไม่รู้ไม่
เห็นมโนสัมผัส  ตามความเป็นจริง  เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม
 มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม  ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย  ตามความเป็นจริง  ย่อมกำหนัดใน
มโน  กำหนัดในธรรมารมณ์  กำหนัดในมโนวิญญาณ  กำหนัดในมโนสัมผัส  กำหนัดในความ
เสวยอารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม  ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย  เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว  ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง  เล็งเห็นคุณอยู่  ย่อมมี
อุปาทานขันธ์  ๕  ถึงความพอกพูนต่อไป  และเขา  จะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่  สหรคตด้วยความ
กำหนัดด้วยอำนาจความยินดี  อันมี  ความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ  เจริญทั่ว  จะมีความกระวน
กระวายแม้ทางกายแม้ทางใจเจริญทั่ว  จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย  แม้ทางใจเจริญทั่ว  จะมี
ความเร่าร้อนแม้ทางกาย  แม้ทางใจเจริญทั่ว  เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง  ทุกข์ทางใจบ้าง  ฯ
    [๘๒๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ  ตามความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อ
เห็นรูป  ตามความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ  ตาม  ความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส
ตามความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์
มิใช่สุขก็ตาม  ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย  ตามความเป็นจริง  ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป  ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ  ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส  ไม่กำหนัดในความเสวย
อารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม  ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น
ปัจจัย  เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว  ไม่ประกอบพร้อมแล้ว  ไม่ลุ่มหลง  เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์  ๕  ถึงความไม่พอกพูน  ต่อไป  และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่  สหรคต
ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี  อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ  ได้  จะละความ
กระวนกระวายแม้ทางกาย  แม้ทางใจได้  จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย  แม้ทางใจได้ 
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย  แม้ทางใจได้  เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง  สุขทางใจบ้าง  บุคคลผู้เป็น
เช่นนั้นแล้ว  มีความเห็นอันใด  ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น  สัมมาทิฐิ  มีความดำริอันใด  ความดำริ
อันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ  มีความ  พยายามอันใด  ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
 มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ  มีความตั้งใจอันใด  ความตั้งใจอัน
นั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ  ส่วนกายกรรม  วจีกรรม  อาชีวะของเขา  ย่อมบริสุทธิ์ดีใน เบื้องต้นเทียว
ด้วยอาการอย่างนี้  เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์  ฯ
    [๘๒๙]  เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้  ชื่อว่า  มีสติปัฏฐาน
๔  สัมมัปปธาน  ๔  อิทธิบาท  ๔  อินทรีย์  ๕  พละ  ๕  โพชฌงค์  ๗  ถึงความเจริญบริบูรณ์
บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้  คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป  เขาชื่อว่ากำหนดรู้
ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญา
อันยิ่ง  ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า
อุปาทานขันธ์  ๕  ได้แก่อุปาทานขันธ์  คือรูป  คือเวทนา  คือสัญญา  คือสังขาร  คือวิญญาณ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  คืออวิชชา  และภวตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  คือสมถะและวิปัสสนา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน  คือวิชชาและวิมุตติ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง  ฯ
ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ   และอุบาย
เป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น  จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น
ได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า     ปัญญาวิมุตติ ฯ

[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
      ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑
      ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็น    วิโมกข์ข้อที่ ๒
      ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓
      ๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้     เพราะล่วงรูป
สัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์
ข้อที่ ๔
      ๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้  เพราะล่วงชั้น
อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
      ๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง   วิญญาณัญ
จายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖
      ๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ  โดยประการ
ทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗
      ๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ   โดยประการ
ทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘
ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ  เหล่านี้ เป็น
อนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง   ออกบ้าง ตามคราวที่
ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์  จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ       ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน
อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า      อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่ง
หรือประณีตไป กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชม
 พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
           จบมหานิทานสูตร ที่ ๒

[๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายนามรูปที่โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็น
ว่า นามรูปนี้เป็นของจริง พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็น
ว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา
เห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไป
อีกว่า
    ท่านผู้มีความสำคัญในนามรูป อันเป็นของมิใช่ตนว่าเป็นตนจงดูโลก
    พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ยึดมั่นแล้วในนามรูป ซึ่งสำคัญนามรูปนี้ว่า เป็น
    ของจริง ก็ชนทั้งหลายย่อมสำคัญ (นามรูป)ด้วยอาการใดๆ นามรูป
    นั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นไปจากอาการที่เขาสำคัญนั้นๆ นามรูปของผู้นั้นแล
    เป็นของเท็จ เพราะนามรูป มีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา นิพพานมี
    ความไม่สาปสูญไปเป็นธรรมดา พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้นโดย
    ความเป็นจริง พระอริยเจ้าเหล่านั้นแล เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะ
    ตรัสรู้ของจริง ฯ


    ๓. สัททสูตร
    [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียง (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา๓ อย่างนี้
ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ๓ อย่างเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า
พระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงครามกับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๑
ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ฯ
    อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้น
ทำสงครามกับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดา ข้อที่ ๒ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่า
เทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัยอีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงคราม
ชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้วครอบครองอยู่  ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๓
ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงของเทวดา
๓ ประการนี้แลย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ฯ
    แม้เทวดาทั้งหลาย เห็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ชนะสงคราม
    แล้ว เป็นผู้ใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้ามย่อมนอบน้อมด้วยคำว่า
    ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้ครอบงำกิเลสที่เอาชนะ
    ได้ยาก ชนะเสนาแห่งมัจจุ ผู้กางกั้นไว้มิได้ด้วยวิโมกข์  เทวดาทั้งหลาย
    ย่อมนอบน้อมพระขีณาสพผู้มีอรหัตผลอันบรรลุแล้วนี้ ด้วยประการฉะนี้
    เพราะเทวดาทั้งหลายไม่เห็นเหตุแม้มีประมาณน้อย ของพระขีณาสพ
    ผู้เป็นบุรุษอาชาไนยนั้นอันเป็นเหตุให้ท่านเข้าถึงอำนาจของมัจจุได้ ฉะนั้น
    จึงพากันนอบน้อมพระขีณาสพนั้น ฯ

๕. โลกสูตร
    [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้นเพื่อ
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี
ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
พระตถาคตพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๑ นี้
เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่
จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้วมีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สาวกนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุคคลที่ ๒ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูล
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละ ยังเป็นผู้ศึกษาปฏิบัติอยู่
มีพระปริยัติธรรมสดับมามาก ประกอบด้วยศีลและวัตร แม้พระสาวกนั้นก็แสดงธรรมงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลที่ ๓ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก อุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เมื่ออุบัติ
ขึ้นในโลก ย่อมอุบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
อนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    พระศาสดาแล ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เป็นบุคคลที่ ๑ ในโลก
    พระสาวกผู้เกิดตามพระศาสดานั้น ผู้มีตนอันอบรมแล้วต่อมาพระสาวก
    อื่นอีกแม้ยังศึกษาปฏิบัติอยู่ ได้สดับมามากประกอบด้วยศีลและวัตร
    บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้น เป็นผู้ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ บุคคล
    ๓ จำพวกเหล่านั้น ส่องแสงสว่าง แสดงธรรมอยู่ ย่อมเปิดประตูแห่ง
    อมตนิพพาน ย่อมช่วยปลดเปลื้องชนเป็นอันมากจากโยคะชนทั้งหลาย
    ผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคที่พระศาสดาผู้นำพวก ผู้ยอดเยี่ยมทรงแสดงดีแล้ว
    เป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระสุคต ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์
    ในอัตภาพนี้ได้แท้ ฯ
     จบสูตรที่ ๕
    สมาธิของบุคคลใดผู้อันบุคคลสักการะอยู่ ผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่
    ประมาท ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะสักการะและความไม่สักการะทั้งสอง
    พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าว บุคคลมีปรกติเพ่ง ผู้มี
    ความเพียรเป็นไปติดต่อผู้เห็นแจ้งทิฐิอันสุขุม มีความสิ้นอุปาทาน
    เป็นที่มายินดีว่าเป็นสัปบุรุษ ฯ
     จบสูตรที่ ๒

๙. ธาตุสูตร
    [๒๕๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้ง
หลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อม
เทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกันกับสัตว์
ผู้มีอัธยาศัยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัย
เลว ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียง
กัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    กิเลสเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง บุคคลย่อมตัดเสียได้เพราะความไม่เกี่ยว
    ข้อง แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัยบุคคลผู้เกียจคร้านย่อมจมลง
ในสมุทร คือ สงสาร เปรียบเหมือนบุคคลขึ้นสู่แพไม้น้อยๆ พึง
    จมลงในมหรรณพฉะนั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงเว้นบุคคลผู้เกียจ
    คร้านมี  ความเพียรอันเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ผู้สงัดแล้วผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปรกติเพ่ง ผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
    ผู้เป็นบัณฑิต ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๙

๔. รูปสูตร
    [๒๕๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย อรูปละเอียด
กว่ารูป นิโรธละเอียดกว่าอรูป ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดดำรงอยู่ในอรูปภพ สัตว์
    เหล่านั้นไม่รู้ชัดซึ่งนิโรธเป็นผู้ยังต้องกลับมาสู่ภพใหม่ ส่วนชนเหล่าใด
    กำหนดรู้รูปภพแล้ว ไม่ดำรงอยู่ในอรูปภพชนเหล่านั้นย่อมน้อมไปใน
    นิโรธ เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาอาสวะมิได้
    ถูกต้องอมตธาตุอันไม่มีอุปธิด้วยนามกายแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งการ
    สละคืนอุปธิ ย่อมแสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๔

๓. นิสสรณสูตร
    [๒๕๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่
สลัดออก ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ เนกขัมมะ(รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้ง
หลาย ๑ อรูปฌาน เป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ๑  นิโรธ  เป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว
อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    ภิกษุผู้มีความเพียร รู้ธรรมเป็นเป็นที่สลัดออกซึ่งกาม และอุบายเป็นเครื่อง
    ก้าวล่วงรูปทั้งหลาย ถูกต้องธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงในกาลทุกเมื่อภิกษุนั้นแล
เป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมน้อมไปในธาตุนั้น ภิกษุนั้นแลอยู่จบ
    อภิญญา สงบระงับ ก้าวล่วงโยคะได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๓

คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
    [๓๕] ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี ความ
    สำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี ความ
    สำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความ
    สำรวมด้วยใจเป็นความดีความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุ
    ผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ
    สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตตั้งมั่น
    อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใด
    สำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถ
    และธรรมภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี
    แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
    ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึงเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะ
    ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภ
    น้อยก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ผู้ใดไม่มีความยึดถือใน
    นามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มี
    อยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใส
    แล้วในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร
    เป็นสุข ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว เธอตัด
    ราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานในภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิย
    สังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง
    ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้าม
    โอฆะได้ ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอหมุนไป
    ในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะอย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญ
    ว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญาปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและ
    ปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ความยินดีอันมิใช่ของ
    มนุษย์ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรม
    โดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความ
    เสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและ
    ปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
    อยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความ
    สันโดษ และความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา
    ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจดไม่เกียจคร้าน
    ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วย
    ความปราโมทย์ เพราะความประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาด
    ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุ
    สันตบทอันเป็นที่เข้าไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข ภิกษุใดแล ยังเป็น
    หนุ่มย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
    ไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ
    จบภิกขุวรรคที่ ๒๕


 สัจจบรรพ
     [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัด
ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ดังพรรณนามา
ฉะนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรม
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
เสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสัก
ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.
               จบ ภาณวาร ที่ ๑
          ทุกขอริยสัจ
     [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบ
กับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้
แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด
เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
อันนี้เรียกว่า ชาติ ก็ชราเป็นไฉน? ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่า ชรา ก็มรณะเป็นไฉน? ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความ


สัจจบรรพ
     [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัด
ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ดังพรรณนามา
ฉะนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรม
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
เสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสัก
ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.
               จบ ภาณวาร ที่ ๑
          ทุกขอริยสัจ
     [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบ
กับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้
แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด
เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
อันนี้เรียกว่า ชาติ ก็ชราเป็นไฉน? ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่า ชรา ก็มรณะเป็นไฉน? ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด
ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ... ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึง
มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์
เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ.
สมุทัยอริยสัจ
     [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด อันให้เกิดใน
ภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน? ที่ใด
เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง
อยู่ในที่นั้น อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก? ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ  กายวิญญาณ มโน
วิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัสผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา
มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา
เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญ
เจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง
อยู่ที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก
ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิตก
สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร
โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.
         นิโรธอริยสัจ
     [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน? ความดับด้วยสามารถความ
สำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น
ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน? ที่ใดเป็น
ที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อม
ดับได้ที่นั้น ก็อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก
ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ
ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา
วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ
ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้
ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา
เวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก
ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก
ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญ
เจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ
ย่อมดับที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ
ที่นี้ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปวิจาร สัททวิจาร
คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อ
บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธอริยสัจ.
           ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
     [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน? อริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้
เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่
พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาเป็นไฉน?
การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต
งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา
กัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการ
เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้
เรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย(ใจ) เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้
เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
     [๑๕๐] ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่
         จบ สัจจบรรพ
จบ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
            ผลแห่งการเจริญสติปัฏฐาน
     [๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี
เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
ขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ... ๑ ปี ยกไว้. ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่ง  พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน
๒ เดือน  ๑ เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
           คำนิคม
     [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้ เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดัง
พรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคนี้กล่าวแล้ว.
     พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดี  ชื่นชม ภาษิต ของพระผู้มี
พระภาค แล้วแล.
             จบ สติปัฏฐานสูตรที่ ๑๐
             จบ มูลปริยายวรรคที่ ๑

[๑๗๖]  ข้าพเจ้าครั้นละนิวรณ์  ๕  ประการนี้  อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง  ทำปัญญา
ให้ถอยกำลังแล้ว  จึงได้สงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม  เข้าปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่  ได้เข้าทุติยฌาน  มีความผ่องใสแห่งใจภายใน  มีความเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น  เพราะสงบวิตกและวิจาร  ไม่มี  วิตก  ไม่มีวิจาร  มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่  ได้เป็น
ผู้วางเฉย  เพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่  และเสวยสุขด้วยนามกาย  เข้าตติยฌานที่พระอริยะ
เรียกข้าพเจ้านั้นได้ว่า  ผู้วางเฉย  มีสติ  อยู่เป็นสุขอยู่  ได้เข้าจตุตถฌาน  อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข  ละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ  ได้  มีสติบริสุทธิ์  เพราะอุเบกขาอยู่  ฯ
    [๑๗๗]  ข้าพเจ้าเมื่อจิตเป็นสมาธิ  บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน  ปราศจาก
อุปกิเลส  เป็นจิตอ่อนโยน  ควรแก่การงาน  ตั้งมั่น  ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว  จึงได้น้อม
จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ  ข้าพเจ้าได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์  นี้ที่ดับ
ทุกข์  นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์  ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า  เหล่านี้อาสวะ  นี้เหตุให้เกิดอาสวะ
นี้ที่ดับอาสวะ  นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ  เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้  เห็นอย่างนี้  จิตก็หลุดพ้นแม้
จากกามาสวะ  แม้จากภวาสวะ  แม้จากอวิชชาสวะ  เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว  ได้มีญาณรู้ว่า  หลุด
พ้นแล้วรู้ชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี  ดูกรท่านผู้มีอายุ  เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่  เห็นอยู่อย่างนี้แล  จึงถอนอนุสัยคือ
ความถือตัวว่าเป็นเรา  ว่าของเรา  ในกายอันมีวิญญาณนี้  และในนิมิตทั้งหมดในภายนอกได้
ด้วยดี  ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น  พวกเธอควรชื่นชม  อนุโมทนา  ว่า  สาธุ
ครั้นแล้วพึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า  ดูกรท่านผู้มีอายุ  เป็นลาภ  ของพวกข้าพเจ้า  พวก
ข้าพเจ้าได้ดีแล้ว  ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุ  เช่นตัวท่านเป็นสพรหมจารี  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
        จบ  ฉวิโสธนสูตร  ที่  ๒

            ทรงแสดงฌาน ๔ และวิชชา ๓
    ภ. เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง
อันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้
ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก
เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่
กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
                    ปฐมฌาน
    เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
                    ทุติยฌาน
    เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.
                    ตติยฌาน
    เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.
                    จตุตถฌาน
    เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส
ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
                บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้น
ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัลป์
เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง
เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก พร้อมทั้งอุเทส พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เรา
ได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด
เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
เผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการ
ทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น.
                    จุตูปปาตญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติ
ของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่
เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิด
เป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น
สัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตก
กายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม
รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้ว
ในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว
แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไป
แล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะ
ฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
                    อาสวักขยญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัด
ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความ
ดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้
อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้
ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้
หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์
วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิด
แก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้แล ได้เป็น
เหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.

๙. พาลปัณฑิตสูตร
[๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายกายนี้ของคนพาล ผู้อัน
อวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย
ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้ง
สองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องคนพาล เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ กายนี้ของ
บัณฑิตผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้วประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูป
ในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้   จึงเกิดผัสสะ
สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องบัณฑิต เป็นเหตุให้เสวยสุข
และทุกข์ ฯ
[๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น จะแปลกกันอย่างไร จะมีอธิบายอย่างไร
จะต่างกันอย่างไร  ระหว่างบัณฑิตกับพาล พวกภิกษุกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมของพวก
ข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นเดิม มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ขอประทานพระวโรกาส เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ แจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์เดียว
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแต่พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงฟัง   จงใส่ใจให้ดีเถิด
เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
[๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาลผู้ถูกอวิชชาใด
หุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น   คนพาลยังละไม่ได้ และ
ตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเขาเข้าถึงกายชื่อว่ายังไม่พ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์
กายนี้ของบัณฑิตผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น
บัณฑิตละได้แล้วและตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบัณฑิตได้ประพฤติ
พรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขา
ไม่เข้าถึงกาย ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ  โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส เรากล่าว
ว่า ย่อมพ้นจากทุกข์ อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย อันนี้เป็นความต่างกันของ
บัณฑิตกับคนพาล กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. ปัจจัยสูตร
[๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท
และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
[๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ  ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย  ก็ยังดำรงอยู่
พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง
ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย  จำแนก
กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ภิกษุ
ทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่นมูลเหตุอันแน่นอนในธาตุ
อันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชรา
และมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ...
นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ...อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิด
ขึ้น มีความสิ้นไปเสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้ และ
ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว  เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น
จักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีต
กาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่า
จักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า ในอนาคตกาลเราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็น
อะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไร
หนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า เราเป็นอยู่หรือหนอ หรือ
ไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็นอย่างไรอยู่หนอสัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไป
 ณ ที่ไหน ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
อาหารวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑ อาหารสูตร  ๒ ผัคคุนสูตร  ๓ สมณพราหมณสูตรที่ ๑
๔ สมณพราหมณสูตรที่ ๒  ๕ กัจจานโคตตสูตร  ๖ ธรรมกถิก
สูตร  ๗ อเจลกัสสปสูตร  ๘ ติมพรุกขสูตร  ๙ พาลบัณฑิตสูตร
๑๐ ปัจจัยสูตร ฯ

จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อม
    ไปจากปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของ
    จริง ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
    ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มี
    สติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น