อุบลวรรณาสูตรที่ ๕
[๕๓๔] สาวัตถีนิทาน ฯครั้งนั้น เวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร ฯลฯ ได้ยืนอยู่
ที่โคนต้นสาลพฤกษ์ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ต้นหนึ่ง ฯ
[๕๓๕] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีบังเกิดความ กลัว ความ
หวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาอุบลวรรณา
ภิกษุณีถึงที่ที่ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบลวรรณาภิกษุณี ด้วยคาถาว่า
ดูกรภิกษุณี ท่านคนเดียว เข้ามายังต้นสาลพฤกษ์ ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง
ตลอดยอด แล้วยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์ ก็ฉวีวรรณของท่านไม่มี
ที่สอง คนทั้งหลายก็จะมาในที่นี้เช่นท่านท่านกลัวพวกนักเลงเพราะ
ความเขลาหรือ ฯ
[๕๓๖] ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว คาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ
ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะให้เราบังเกิดความกลัว
ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้ เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าว
คาถา ฯ
ครั้นอุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาปด้วยคาถา
ว่า แม้นักเลงตั้งแสนมาในที่นี้ ก็ตามเถิด เราไม่สะเทือนขน ไม่สะดุ้ง(ผู้มีขนอันตกแล้ว)
ดูกรมาร ถึงเราคนเดียว ก็ไม่กลัวท่าน ฯเรานี้จะหายตัวหรือเข้าท้องพวกท่าน แม้จะยืนอยู่
ณ ระหว่าง ดวงตา บนดั้งจมูก ท่านจักไม่เห็นเราฯ (นิพพานจุดนี้ นั่งเข้านิโรธสมาบัติ อนุปาทิเสลนิพพาน)
เราเป็นผู้ชำนาญในจิต อิทธิบาทเราเจริญดีแล้ว เราพ้นแล้ว จากเครื่องผูกทุกชนิด(ตัณหา) เราไม่กลัวท่านดอก ท่านผู้มีอายุ ฯ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อุบลวรรณาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธาน
ภาพปริศนาธรรมชี้มโนทวารอยู่ระหว่างตาทั้งสองตรงดั่งจมูกหัก ตามที่ลป.สาวกโลกอุดรบอกและในภาพห้อยลูกตุ้มปรอทดำด้วย |
รูปนี้ ใครสร้าง ผู้สร้างรูปอยู่ที่ไหน รูปบังเกิดในที่ไหน รูปดับไปใน
ที่ไหน ฯ
ครั้นเสลาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า
รูปนี้ ไม่มีใครสร้าง อัตภาพนี้ ไม่มีใครก่อ รูปเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุดับไป เพราะเหตุดับ ฯ
พืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่บุคคลหว่านลงในนา ย่อมงอกขึ้นเพราะอาศัย
เหตุ ๒ ประการ คือ รสในแผ่นดิน และยางในพืช ฉันใด ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้ ก็เกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุ ดับไป ฉันนั้น ฯ
สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ(ระหว่างตาทั้งสอง)
ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า
ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับ มาว่าสัตว์ ฯ
ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี ฉันใด ฯ
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ
ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์
ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มี อะไรดับ ฯ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปใน
ที่นั้นเอง ฯ
_________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น