หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อริยสัจ ๔ ความหมายคำในปฏิจจสมุปบาท

๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม   คืออริยสัจ ๔
อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า     ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ     นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็   เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น  ทุกข์ แม้ความประจวบกับ
สิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง    ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้
อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์     ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่ง
ลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน      หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่า
สัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
      ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง   เป็นเกลียว
 ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ       ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่าชรา ฯ
      ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหาย
ไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ      ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์       นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
      ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ  ความผาก
ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ   พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้
ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้   เรียกว่าโสกะ ฯ
      ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ   กิริยาที่
ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคลผู้ประกอบด้วย
ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง  หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
      ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
      ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
      ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น  ภาวะของ
บุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
      ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ    ความพรั่ง
พร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ    อันไม่น่าปรารถนา ไม่
น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น  ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล
ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่  เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความ
ประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก    ก็เป็นทุกข์ ฯ
      ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ    ความไม่
พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส    โผฏฐัพพะ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา  ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนา
ความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก    โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้อง
หญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่ง
ที่รักก็  เป็นทุกข์ ฯ
      ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา  ย่อมบังเกิด
แก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ เกิดเป็นธรรมดา ขอ
ความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ     ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
 อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา      ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้    สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
 ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ
เจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง  ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น     ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความ
ตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ   ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึง
เราเลย ข้อนั้นสัตว์  ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็
 เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส   เป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส    เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทว
ทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อ
ว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น      ก็เป็นทุกข์ ฯ
      ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป    เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕   เป็นทุกข์ ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด    อันมีความ
เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิด
ในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
      ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด    ย่อมเกิด
ที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
      รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน    ตัณหา
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
      จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้      เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
      จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
      จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา   ชิวหาสัมผัสส
ชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก   ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อ
จะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่    ในที่นี้ ฯ
      รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็น
ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ    ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
      รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
      รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็น
ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
      รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก     เป็นที่รักที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่  ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร  เป็นที่รักที่เจริญ
ใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่  ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก   และความดับ
โดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน     เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่
เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล       จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
      ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล จะละ
ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ      ย่อมละเสียได้ในที่นี้
เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
      จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ   มโนวิญญาณ
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ
ในที่นี้ ฯ
      จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้   เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
      จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา   ชิวหาสัมผัสส
ชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา
เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ  ย่อมดับในที่นี้ ฯ
      รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา   ธัมมสัญญา เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
      รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา   โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ
จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
      รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้   เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
      รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญ
ใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ   ย่อมดับในที่นี้ ฯ
      รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร    เป็นที่รักที่เจริญ
ใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน  นี้คือมรรค
มีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ สัมมา
อาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ  
      ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน  ทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
      สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน   ความไม่
พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
      สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า     สัมมาวาจา ฯ
      สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของ
ที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
      สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จ
การเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
      สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม   ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่    เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละ
อกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง     ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่
ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม  แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า
สัมมาวายามะ ฯ
         สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่      มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา    เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
      สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก  อกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่     เธอบรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี     อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน  ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
 โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
      ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง   พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ    เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ
เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง   ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง
สักว่า(ความ)รู้   เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ
 ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น    ธรรมในธรรมอยู่ ฯ
              จบสัจจบรรพ
             จบธัมมานุปัสสนา

อมตนิพพาน
เรียกว่า ฝั่ง ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไป จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด พึงถึง บรรลุ
ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง. คำว่า ถึงฝั่ง คือ ผู้ใด ใคร่เพื่อจะถึงฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง
ผู้ใดย่อมไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใด ถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง.
      สมเด็จจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้วถึงฝั่งแล้ว ดำรงอยู่บนบก
ชื่อว่า เป็นพราหมณ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้น
ถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละ ถึงฝั่งด้วยการเจริญ ถึงฝั่งด้วยการ
ทำให้แจ้ง(อริยสัจสี่) ถึงฝั่งด้วยการบรรลุ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวง
ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งแห่งกิเลสทั้งปวง ด้วยการละ ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ
ถึงฝั่งแห่งนิโรธ ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวง ด้วยการบรรลุ พระอรหันต์นั้น
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุติ
พระอรหันต์นั้น ไปสู่ฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดแล้ว ถึงส่วนสุดแล้ว ไปสู่ที่สุดแล้ว
ถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว
ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกันแล้ว ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่ง
แล้ว ไปสู่ที่ไม่มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว ไปสู่ที่ไม่ตาย
แล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว
ประพฤติจรณะแล้ว มีทางไกลอันถึงแล้ว มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์
อันรักษาแล้ว ถึงทิฏฐิอันอุดมแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทง
ตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว มีสมุทัยอันละแล้ว มีนิโรธ
อันทำให้แจ้งแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรรู้ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว มีธรรมที่ควรกำหนดรู้
กำหนดรู้แล้ว มีธรรมที่ควรละอันละแล้ว มีธรรมที่ควรเจริญอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรทำให้
แจ้งอันทำให้แจ้งแล้ว พระอรหันต์นั้น มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว มีกรรมเป็นคูอัน
กำจัดเสียแล้ว มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว ไม่มีสัญโญชน์เป็นบานประตู เป็น
ผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตกไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยค
กิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ห้าอันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์หก มีสติเป็นธรรมเอกเป็น
เครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่องอาศัยสี่ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว มีการแสวง
หาอันชอบ ไม่หย่อน ประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว
มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ
ถึงความบรรลุปรมัตถะ พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น
ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วจึงตั้งอยู่
ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ
ทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจจะแล้วจึงตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้ว จึง
ตั้งอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วจึงตั้งอยู่ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้ว ตั้งอยู่
ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ซ่องเสพวิมุติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรง
อยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิ มานะ
อันบริสุทธิ์ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์
ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด ตั้งอยู่
ในสรีระที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายที่สุด  
 สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า:
     พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นทีหลัง มิได้
     มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่.
     เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
     เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
          เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกาม
          ทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้น พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล
          วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น ดังนี้.
                    จบ กามสุตตนิทเทส ที่ ๑.
คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒
                ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
     [๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
     นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็
     หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายใน
     โลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.
     [๓๑] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้วมีความว่า
ทรงตรัสคำว่า เป็นผู้ข้องไว้ก่อน. ก็แต่ว่าถ้ำควรกล่าวก่อน กายเรียกว่า ถ้ำ. คำว่า กายก็ดี ถ้ำ
ก็ดี ร่างกายก็ดี ร่างกายของตนก็ดี เรือก็ดี รถก็ดี ธงก็ดี จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี
กระท่อมก็ดี ฝีก็ดี หม้อก็ดี เหล่านี้เป็นชื่อของกาย.
     คำว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือ ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพัน
อยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ที่ตะปู ซึ่ง
ตอกติดไว้ที่ฝา หรือที่ไม้ข้อ ฉะนั้น.
 สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความ
ปรารถนาในรูป ความเข้าไปถือ ความเข้าไปยึดในรูป อันเป็นความตั้งมั่น ความถือมั่น และ
ความนอนตามแห่งจิต บุคคลมาเกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเพราะนั้น. จึงเรียก
ว่า สัตว์. คำว่า สัตว์เป็นชื่อของผู้เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ. คำว่า
ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสเป็นอันมาก ปิดบังไว้
แล้ว คือ อันความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบลู่
ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความดื้อ ความแข่งดี ความ
ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท ปิดบังไว้แล้ว อันกิเลสทั้งปวง อันทุจริตทั้งปวง
อันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง อันความเดือดร้อนทั้งปวง อัน
อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง บ้งไว้ คลุมไว้ หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้
ครอบงำไว้แล้ว  เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว.
     [๓๒] คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง มีความว่า คำว่า นรชน เมื่อตั้งอยู่
ก็เป็นผู้กำหนัด ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความ
สามารถความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความหลง เป็นผู้ผูกพัน ย่อม
ตั้งอยู่ด้วยสามารถความถือตัว เป็นผู้ยึดถือ ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความเห็น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน
ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่แน่นอน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความสงสัย เป็น
ถึงความมั่นคง ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถกิเลสที่นอนเนื่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่
แม้ด้วยประการอย่างนี้.
     สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุ
เพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือรูปนั้น ตั้งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่
พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ... ธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยมนะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
 สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่
ย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ... วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ... หรือวิญญาณที่
เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลิน
ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการ
อย่างนี้
     สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในกาวฬิงการาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น วิญญาณ
ตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมี
อยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด
ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไปมีอยู่ในที่ใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในผัสสาหาร ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในมโนสัญญาเจตนาหาร ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในวิญญาณาหาร
    วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น
ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญ
แห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่
ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไปมีอยู่ในที่ใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.
     คำว่า หยั่งลงในที่หลง มีความว่า กามคุณ ๕ คือ รูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พระผู้มีพระภาค
มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือธรรมนั้นตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่
แม้ด้วยประการอย่างนี้.
ตรัสว่า ที่หลงเพราะเหตุไร กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. เพราะเหตุว่า เทวดา
และมนุษย์โดยมาก ย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม เป็นผู้หลงเสมอ
ในกามคุณ ๕ เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้
ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. คำว่า หยั่งลงในที่หลง
คือ หยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ก็หยั่งลงใน
ที่หลง.
                      ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
     [๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓
อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
     กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่
คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่ง
อยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ
รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
     จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มีจิต
สงัดจากวิตกและวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและ
ทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิต
สงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตน
สัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น
เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบ
เป็นต้นนั้น เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค
สังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ
รูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.
     อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน
เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น
ตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.
     ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่
บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.
      คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลส
มากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่
ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้
มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง. คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้น
เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้น
ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น