หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การทำนาตามแบบพุทธองค์

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พราหมณสังยุตต์
อุปาสกวรรคที่ ๒
กสิสูตรที่ ๑


พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์
พระองค์ผู้เป็นชาวนา


[๖๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อว่าเอกนาลา ในทักขิณาคีรีชนบท
แคว้นมคธ ก็ในสมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทียมไถมีจำนวน ๕๐๐ ในกาล
 (ฤดู) หว่านข้าว ฯ
[๖๗๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่
ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ในเวลาเช้า ฯ
สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหาร (มื้อเช้า) ฯ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงอาหาร (ของเขา) ครั้นแล้วประทับยืน
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
กสิภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่  ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพเจ้าไถและหว่านครั้นไถและหว่านแล้ว
ย่อมบริโภค ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภค
เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว
ก็บริโภค ฯ
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก  หรือโค
ทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย
เมื่อเช่นนี้ท่านพระโคดมยังกล่าวอย่างนี้ว่า  ดูกรพราหมณ์ แม้เรา
ก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ
[๖๗๓] ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย
    คาถาว่าพระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์
พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจงตรัสบอก ไฉน ข้าพระองค์จะรู้การทำนา
ของพระองค์นั้นได้ ฯ
[๖๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริ
เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกาย
คุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร
เราทำการดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็น
เครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง
นำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่
เศร้าโศก ฯ
เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้
แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เป็นชาวนา ขอจงบริโภคอมฤตผล
ที่ท่านพระโคดมไถนั้นเถิด ฯ
[๖๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราไม่พึงบริโภคโภชนะ ซึ่งได้เพราะความ
ขับกล่อม
ดูกรพราหมณ์ นี่เป็นธรรมของบุคคล  ผู้เห็นอรรถและธรรม
อยู่ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมรังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูกร
พราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ ความเป็นไป (อาชีวะ) นี้ก็ยังมีอยู่ แต่ท่าน
จงบำรุง ซึ่งพระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่ มีความคะนองระงับแล้ว
ด้วยข้าวน้ำอันอื่น ด้วยว่าการบำรุงนั้นเป็นนาบุญของผู้มุ่งบุญ ฯ

[๖๗๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้
บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่พระ
โคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ฯ

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยมาร สัตว์ โสดาบันและพระอรหันต์

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค   
                ๒. ราธสังยุต
                    ปฐมวรรคที่ ๑



                    ๑. มารสูตร
                   ว่าด้วยขันธมาร
    [๓๖๖] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ
แล จึงเรียกว่า มาร?
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เมื่อรูปมีอยู่ มาร (ความตาย) จึงมี
ผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นรูปว่า เป็นมาร
เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์
บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมี
ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย
เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณา
เห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ.
     รา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย.
     รา. ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลายกำหนัด.
     รา. ก็ความคลายกำหนัดเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น.
     รา. ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความหลุดพ้นมีประโยชน์เพื่อนิพพาน.
     รา. นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
     พ. ดูกรราธะ เธอถามเลยปัญหาไปเสียแล้ว เธอไม่อาจเพื่อถือเอาที่สุดของปัญหาได้.
ดูกรราธะ อันพรหมจรรย์เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด อันกุลบุตรย่อมอยู่
ประพฤติแล.
                    จบ สูตรที่ ๑.



                    ๒. สัตตสูตร
                ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
    [๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์. ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น
ทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก
ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด
ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น. ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด
ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน

กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว
ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ
เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้
ด้วยมือและเท้า ฉันใด ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้
เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา
ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด
จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง
จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น
นั่นเทียวแล. ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
                    จบ สูตรที่ ๒.



                   ๓. ภวเนตติสูตร
                ว่าด้วยกิเลสที่นำไปสู่ภพ
    [๓๖๘] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ที่เรียกว่า กิเลสเครื่องนำไปในภพ ในภพ ดังนี้ กิเลสเครื่องนำไปในภพเป็นไฉน?
ความดับกิเลสเครื่องนำไปในภพเป็นไฉน?
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน
ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิต ในรูป.
นี้เรากล่าวว่า กิเลสเครื่องนำไปในภพ เพราะความดับสนิทแห่งกิเลสเหล่านั้น เรากล่าวว่า
เป็นธรรมที่ดับสนิทแห่งกิเลสเครื่องนำไปในภพ. ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน
ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิต ในเวทนา ...
ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ. นี้เรากล่าวว่า กิเลสเครื่องนำไปในภพ เพราะความดับ
สนิทแห่งกิเลสเหล่านั้น เรากล่าวว่า เป็นธรรมเป็นที่ดับสนิทแห่งกิเลสเครื่องนำไปในภพ.
                    จบ สูตรที่ ๓.



                  ๔. ปริญเญยยสูตร
               ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
    [๓๖๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เราจักแสดงปริญเญยยธรรม ธรรมอันบุคคลควรกำหนดรู้ ปริญญา
ความกำหนดรู้ และปริญญาตาวีบุคคล บุคคลผู้กำหนดรู้ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ท่านพระราธะ รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ ปริญเญยย
ธรรมเป็นไฉน? ดูกรราธะ รูปแลเป็นปริญเญยยธรรม เวทนาเป็นปริญเญยยธรรม สัญญาเป็น
ปริญเญยยธรรม สังขารเป็นปริญเญยยธรรม วิญญาณเป็นปริญเญยยธรรม. ดูกรราธะ ธรรม
เหล่านี้เรากล่าวว่า ปริญเญยยธรรม: ดูกรราธะ ปริญญาเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้น
โทสะ ความสิ้นโมหะ. นี้เรากล่าวว่าปริญญา. ดูกรราธะ ปริญญาตาวีบุคคลเป็นไฉน? ผู้ที่เขา
พึงเรียกกันว่า พระอรหันต์ คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรราธะ ผู้นี้เรากล่าวว่า
ปริญญาตาวีบุคคล.
                    จบ สูตรที่ ๔.
                ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
         ว่าด้วยผู้ควรยกย่องและไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์
    [๓๗๐] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือ
เวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑
ดูกรราธะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งคุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัด
ออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ได้
รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง
ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้เลย.
    [๓๗๑] ดูกรราธะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งคุณ โทษ และ
ธรรมเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
แล ย่อมได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
อนึ่ง ท่านเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ด้วย.
                    จบ สูตรที่ ๕.
                ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
         ว่าด้วยผู้ควรยกย่องและไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์
    [๓๗๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
นี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ... อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรราธะ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัด
ออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่
ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง
ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ไม่ได้เลย. ดูกรราธะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทาน
ขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้รับยกย่องว่าเป็น
สมณะในหมู่สมณะและได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นย่อมทำ
ให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ด้วย.
                    จบ สูตรที่ ๖.
                  ๗. โสตาปันนสูตร
           ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
    [๓๗๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทาน
ขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรราธะ ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่อง
สลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง. เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า
เป็นโสดาบันผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
                    จบ สูตรที่ ๗.



                   ๘. อรหันตสูตร
            ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    [๓๗๔] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทาน
ขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ... อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรราธะ ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัดออก
แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น. ดูกร
ราธะ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นอรหันตขีณาสพ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว ผู้หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว
ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
                    จบ สูตรที่ ๘.





                 ๙. ฉันทราคสูตรที่ ๑
             ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕
    [๓๗๕] พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เธอ
จงสละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้
รูปนั้นจักเป็นของอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยาน
อยาก ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้น
จักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

              จบ สูตรที่ ๙.


                 ๑๐. ฉันทราคสูตรที่ ๒
             ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕
    [๓๗๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เธอจงละ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็น
ที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้น จักเป็นของอันเธอละได้แล้ว
ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น
อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิตในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณเสีย
ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้น จักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น
เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
                   จบ สูตรที่ ๑๐.
                    จบ วรรคที่ ๑
                 -------------------------
               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
     ๑. มารสูตร๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
     ๒. สัตตสูตร๗. โสตาปันนสูตร
     ๓. ภวเนตติสูตร            ๘. อรหันตสูตร
     ๔. ปริญเญยยสูตร           ๙. ฉันทราคสูตรที่ ๑
     ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑      ๑๐. ฉันทราคสูตรที่ ๒
                 -----------------------------

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การละขันธ์ห้า(การตรัสรูุ้ของพระสารีบุตร)

การละขันธ์ ๕
     [๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ
รูปใรูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูปมีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ
ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก.ปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะ
กล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด
ก็หามิได้.
บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด  ...  เพราะสัญญาใด  ...  เพราะ
สังขารเหล่าใด  ...  เพราะวิญญาณใด  ...  วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว
ทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการ
นับว่าวิญญาณ
มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือน
มหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิด
ก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.
(หมายความว่า ท่านดับขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)


พระสารีบุตรเทศนาพระธรรมให้แม่ก่อนปรินิพพาน


 เวทนา ๓
     [๒๗๓]  อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้
คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑. 
    อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ใน
สมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.
       อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
       อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา(นิพพิทาญาน) เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี         อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฎฐิ.
     [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค. ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
แก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข
ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.

 พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
    [๒๔๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
      รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
      ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
      ใดๆ  เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
      ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี
      ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย
      จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ
      กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ
      แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้(คำนี้สำคัญมาก) นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น
      ความสืบต่อ(สันตติ)เช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่  เบญจขันธ์
      เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง  เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน
      เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
      พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
      ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ
      ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ  ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.
                    จบ สูตรที่ ๓.

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง   ในท้องแห่งมารดา นามรูป
จักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
      ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป นามรูปจักบังเกิด
เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
      ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่ จักขาดความ
สืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย  ปัจจัยแห่งนามรูปก็คือวิญญาณ
นั่นเอง ฯ
      ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้
      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้ อาศัยในนามรูปแล้ว ความ
เกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ ต่อไปได้บ้างไหม ฯ
      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ ก็คือนามรูป
นั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป   จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ
หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ  ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร
ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ    เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ
    [๖๑] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ประมาณเท่าไร
ก็เมื่อบุคคลจะบัญญัติอัตตา มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า  อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร
เมื่อบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ เมื่อบัญญัติ


[๘๙] คำว่า นามรูปนั้นดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ
   ความว่า ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในสงสารมีส่วนเบื้องต้น และที่สุดอันรู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗
ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับ
แห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม
ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ.
     ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในภพ ๕ เว้นภพ ๒ ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วย
สกทาคามิมรรคญาณ.
    ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุ
เว้นภพ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะ
ความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอนาคามิมรรคญาณ.
    ธรรมเหล่าใด คือนามและรูป พึงเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้  ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอรหัตมรรคญาณ.
เมื่อพระอรหันต์ปรินิพานด้วยปรินิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญา สติ และ
นามรูป ย่อมดั
คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความ
ดับแห่งวิญญาณดวงก่อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นามรูปนั้นย่อมดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับ
แห่งวิญญาณ.

     เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
          ดูกรอชิตะ ท่านได้ถามปัญหาข้อใดแล้ว เราจะแก้ปัญหา
          ข้อนั้นแก่ท่าน นามและรูปดับไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด
          นามรูปนั้นก็ดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ.
     [๙๐] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
          พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสข
          บุคคลในทิฏฐิเป็นต้นนี้มีมาก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
          ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา ได้โปรด
ตรัสบอกความดำเนินของพระขีณาสพและเสขบุคคลเหล่านั้น(บอกปฏิปทาคือ มรรค)
          แก่ข้าพระองค์เถิด.
การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่า อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้
 นาม ๑ รูป ๑
     ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
     เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม(อันนี้ไม่ถูกต้อง)
ที่ถูกต้อง คือ นาม คือความดำริ ความจงใจ ความครุ่นคิด
     รูป เป็นไฉน
     ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่
ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
     นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖เป็นปัจจัย
     ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน
     การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
     อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
     จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าอายตนะที่ ๖ เกิด
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ   
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
สรุป ธรรม๓ ประการประชุมกันพร้อมผัสสะ(อายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกกับวิญญาณธาตุรู้)

๔. ที่ฆนขสูตร

 เรื่องทีฆนขปริพาชก(การตรัสรูุ้ของพระสารีบุตร)

     [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
     ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
     อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้. อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น
ละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
         ทิฎฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท
     [๒๗๐] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ สิ่งทั้งปวง
ไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา
บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของ
สมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างกิเลส
อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น. อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้
ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่อง
ความเห็นของข้าพเจ้า.
     อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา นั้นส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลส
อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้าง
ธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
     [๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะ
ยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความ
ทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี. เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความ
เบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันและความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฎฐิอื่นด้วย การละ
การสละคืนทิฎฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ใน
ทิฎฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฎฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา
ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี
เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความ
ทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฎฐินั้นเสียด้วย
ไม่ยึดถือทิฎฐิอื่นด้วย. การละ การสละคืนทิฎฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในทิฎฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควร
แก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่ง
ทิฎฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็น
อย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมี
ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชน
นั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน
ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฎฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฎฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฎฐิเหล่านั้น
ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
     [๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจาย
เป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็น
ดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า


การละขันธ์ ๕
     [๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ
รูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูปมีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ
ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะ
กล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด
ก็หามิได้. บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด  ...  เพราะสัญญาใด  ...  เพราะ
สังขารเหล่าใด  ...  เพราะวิญญาณใด  ...  วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว
ทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการ
นับว่าวิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือน
มหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิด
ก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.
 เวทนา ๓
     [๒๗๓]  อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
สุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ใน
สมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น
แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฎฐิ.

 พระสารีบุตรถวายงานพัดและได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์


     [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค. ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย
ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
แก่เราทั้งหลาย
เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข
ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว
แก่ทีฆนข
ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา
                 ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
     [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอัน
ทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
           จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๕.
            _______________

รัฐธรรมนูญ มาตรา 38 การนับถือศาสนา





รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 38   บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของ ประชาชน
ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอน สิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตาม ศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น

(คห. กฏหมายที่ สร้างปัญหาในการทำให้ศาสนาพุทธ มีหลายลัทธิ นิกาย ที่ทำคำสอนของพุทธองค์ให้ผิดไปหมด แก้ไขไม่ได้ต่างสำนักก็มีความเห็นว่าคำสอนของตัวเองถูกต้อง ไม่มีใครยอมใคร)


กรณีสันติอโศก

กรณีธรรมกายของพระพรหมคุณาภรณ์

ศาสนาพุธ "นิกายอวกาศยาน" (กรณีธรรมกาย)
ธรรมกายมีในพระไตรปิฏกหรือไม่


ความหมายการตรัสรู้ของท่านพุทธทาส






การตรัสรู้ในหนังสือตามรอยพระอรหัตน์ของท่านพุทธทาสแต่งขึ้น เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๗๕
เล่มแรกของสวนโมกข์
การตรัสรู้ หมายความว่า คิดเอาจนรู้
ให้ท่านพิจารณาเอา อันนี้ ลป.ได้นำเอามาเทศน์ 
ท่านพุทธทาส กล่าว ปฏิจจสมุปบาทเป็นอริยสัจใหญ่ อริยสัจสี่เป็นอริยสัจเล็ก
ลป.สาวกโลกอุดร กล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาท มีความจริง ๒ ข้อ คือ ทุกข์ กับสมุทัย แต่
อริยสัจสี่
มีความจริง ๔ ข้อ อย่างไหนมันมากกว่ากัน ?
ลป.บอกว่าท่านหลง ว่าปฏิจจสมุปบาท มี ๑๑ ตอน แท้ที่จริง ก็มีแค่ ๒ สัจจะคือ ทุกข์ กับสมุทัย






(ข้อมูลหนังสือสามารถดาวโหลดได้ที่)

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำทำนายจากหลวงปู่สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล


ลป.สาวกโลกอุดร นั่งในถ้ำเหล็กไหล


ในภาพ เหล็กไหลเข้าตัว ลป.




คำทำนายจากหลวงปู่สาวกโลกอุดร  ธมฺมปาโล
     ทุกวันนี้เข้ากลียุคสังคมจะสอนพระ  หากพระไปสอนสังคมเขาจะเห็นเป็นเรื่องไร้สาระเหลวไหล  ถ้าใครวิ่งตามสังคม  ความล่มจมจะมาถึง  ถ้าใครวิ่งตามความเจริญความยับเยินย่อยยับจะมาถึง  สังคมเดี๋ยวนี้ได้เข้าถึงจุดกลียุค  จึงลุกเป็นฟืนเป็นไฟ  อนาคตต่อไปภายหน้า  น้ำจะท่วมฟ้า  ปลาจะกินดาว  ชาวเมืองคนจะล้มตายคล้ายเขาเบื่อปลา  ชาวประชาจะหูเบา  เชื่อตามกระแสข่าวลือโลกาธิปไตย  คือเชื่อถือตามคนส่วนมากลากไป 
    บางยุคบางสมัย  ในน้ำจะไม่มีปลา  ในนาจะไม่มีข้าว  คนผิวขาวจะเข้าครอง  น้ำอยู่ตามห้วยหนองคลองบึงจะเหือดแห้ง  ข้าวปลาอาหารสิ่งของต้องการบริโภคจะไม่เพียงพอ  สิ่งก่อสร้างจะพุ่งแพง  ภัยแล้งจะเผาผลาญ  ทั่วจักรวาลดินฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปลงเกิดอาเพศ  พวกอวดตัวว่าเป็นผู้วิเศษอย่างออกหน้านับถือศาสนาเหมือนดั่งว่าเขาเป็นสาวกพญามาร  ฝูงชนจะหลงใหลกันไปบนบานบูชากราบไหว้ 


   มือใครยาวสาวได้สาวเอา 
พวกงี่เง่าเจ้าเล่ห์เพทุบาย  จะหลอกขายข่าวลือแบบผีกระสือกระหายให้คนหลงเชื่อแบบงมงาย   จะทำลายพระศาสดา  พวกหน้าหนาปัญญาปีศาจฉลาดแกมโกง  จะกอบโกยกินบ้านเมืองอย่างน่าทุเรศ  พวกอัญญะสัตตถุเทสเหมือนเข้ารีตเดียรถีย์
มีบริวารเป็นคนมารยาจะพากันรุ่งเรือง 
ชาวบ้านชาวเมืองจะอดอยากหิวโหยทุกข์ยากลำบากใจไปทั่วโลก  พวกโสโครกจะมั่งมีได้ดีเป็นใหญ่  ต่อไปฝูงชนจะยกพวกเข้ารบราฆ่าฟันลันแทงกัน
จนเลือดไหลนองกองท่วมพสุธาน่าอุจาด 

   ไฟสงครามกลียุคจะระบาดไปทั่วทุกประเทศ  พวกกิเลสหนาพากันประจบสอพลอจะได้ดี  อลัชชีจะขึ้นทรงสุขสบายร่ำรวยมีศักดิ์ศรี  พระสงฆ์องค์ชีผู้ปฏิบัติดีจะเดือดร้อนยิ่งกว่าตกเป็นทาสสมัยก่อน  หนอนในไส้จะแผลงฤทธิ์คิดขยาย  เชื้อโรคร้ายรักษาไม่หายจะมีมาอีก  เชื้อสารพิษร้ายจะเข้าเผาลนใจกายให้วอดวายตายไปทั้งโลก  ความเศร้าโศกโศกาประชาชาติจะพินาศล่มจม  นิสัยสังคมจะเปลี่ยนแปลงวิปลาสขาดสติไปทั่วโลกา  สงครามจอมซ่าส์บ้าคลั่งศาสนาแบบคนเถื่อนจะมีเกลื่อนแผ่นดิน  ฝูงชนจะแย่งกันอยู่แย่งกันกิน 
   พวกจำศีลภาวนาตั้งอยู่ในศีลห้า  มีศีลธรรมนำหน้าประทับตราประจำใจ 
จึงจะพ้นภัยอุบาทว์จากพวกวิหิงสา 
ต่อแต่นี้ไปทุกชาติทุกศาสนาทั่วทั้งโลกใบนี้จะเกิดมีแต่ภัยพิบัติไปจนถึงที่สุดพุทธันดร**  ต่อจาก พ.ศ. 5000  ไปอีก 80,000 ปี ธรรมชาติในโลกใบนี้จึงจะกลับขึ้นมาสมดุลใหม่อีกครั้งหนึ่ง  และก็จะเข้าสู่ยุคของ พระศรีอริยเมตตรัยสัมมาสัมพุทธเจ้า  คือพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5  ในภัทรกัปนี้.

(**คือสิ้นศาสนาพุทธ 5,000 ปี ของยุคพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า)
หมายเหตุ: คำทำนายนี้หลวงปู่ไม่ระบุว่าเป็นประเทศใดประเทศหนึ่ง  เป็นการทำนายโลกในภาพรวม  ถ้าใครสงสัยคำทำนายว่าจะเกิดภัยพิบัติที่ไหน เวลาไหน  หรือตีปริศนาธรรมไม่ได้ให้ไปถามหลวงปู่เป็นการส่วนตัว . (หลวงปู่สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล)
ปัจจุบัน หลวงปู่ได้ละสังขารแล้ว เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2544 
คณะลูกศิษย์จึงได้พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน  เผื่อว่าชาวพุทธผู้ที่ยังพอมีวาสนาบารมีธรรมอยู่บ้าง  ถ้าได้อ่านแล้วอาจจะได้สติพากันให้ทาน  รักษาศีล  เจริญภาวนา  และประพฤติธรรมกรรมฐานตามแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อให้สังคมไทยรอดพ้นจากกลียุคไปได้.

ขอเชิญรับฟังพระธรรมเทศนาจากหลวงปู่สาวกโลกอุดร  ธมฺมปาโล ได้ทางเวบไซต์ http//www.sawoklokudorn.com/

อุปมา ๓ ข้อ ,ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา อีกสูตร

  พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์


              ๑๐. สคารวสูตร
                 สคาวรมาณพเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
     [๗๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่.
สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานีอาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระ
พุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์. นางพลั้งพลาดแล้ว เปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบ
น้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุธเจ้า
พระองค์นั้น.
     [๗๓๕] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อสคารวะอาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะเป็นผู้รู้จบไตรเพท
พร้อมทั้งคัมภีร์นิคัณฑุและคัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็น
ผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ. เขา
ได้ฟังวาจาที่นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนั้น ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางธนัญชานีพราหมณีว่า
นางธนัญชานีพราหมณีไม่เป็นมงคลเลย นางธนัญชานีเป็นคนฉิบหาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้
ทรงไตรวิชามีอยู่ เออก็นางไปกล่าวสรรเสริญคุณของสมณะหัวโล้นนั้นทำไม? นางธนัญชานี
พราหมณีได้กล่าวว่า ดูกรพ่อผู้มีพักตร์อันเจริญ ก็พ่อยังไม่รู้ซึ่งศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ถ้าพ่อพึงรู้ศีลและพระปัญญาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พ่อจะไม่พึงสำคัญ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า เป็นผู้ควรด่า ควรบริภาษเลย. สคารวมาณพกล่าวว่า ดูกรนาง
ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้านปัจจลกัปปะเมื่อใด พึงบอกแก่ฉันเมื่อนั้น. นางธนัญชานี
พราหมณีรับคำสคารวมาณพแล้ว.
     [๗๓๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลโดยลำดับ เสด็จไป
ถึงบ้านปัจจลกัปปะ. ได้ยินว่า สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพวก
พราหมณ์ชาวบ้านตุทิคาม ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ. นางธนัญชานีพราหมณีได้สดับข่าวว่าพระผู้มี
พระภาคเสด็จถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพราหมณ์ชาวบ้านตุทิคาม ใกล้
บ้านปัจจลกัปปะ. นางจึงเข้าไปหาสคารวมาณพถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกะสคารวมาณพว่า ดูกรพ่อ
ผู้มีพระพักตร์อันเจริญ นี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับอยู่
ในสวนมะม่วงของพวกพราหมณ์ชาวบ้านตุทิคามใกล้บ้านปัจจลกัปปะ พ่อจงสำคัญกาลอันควร
ณ บัดนี้. สคารวมาณพรับคำนางธนัญชานีพราหมณีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
เป็นผู้ถึงบารมีชั้นสุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ในสมณพราหมณ์เหล่า
นั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหม
จรรย์ ท่านพระโคดมเป็นคนไหน ของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น?
                



ความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์
     [๗๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ เรากล่าวความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ได้ ดูกรภารทวาชะ
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้พึงฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกันมานั้น จึงเป็นผู้ถึงบารมี
ชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เหมือนพวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชา
ฉะนั้น. อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะผู้ยิ่งในปัจจุบัน ปฏิญาณอาทิ
พรหมจรรย์ เพราะเพียงแต่ความเชื่ออย่างเดียว เหมือนพวกพราหมณ์นักตรึกนักตรองฉะนั้น.
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมา
ก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ ดูกรภารทวาชะ
ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่ได้ฟังตามกันมาในก่อนถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์
เราเป็นผู้หนึ่งของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนี้พึงรู้ได้โดยบรรยายแม้นี้. เหมือน
สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมาใน
ก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เราเป็นหนึ่งของ
จำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้นฉะนั้น.
     [๗๓๘] ดูกรภารทวาชะ ในโลกนี้ ก่อนแต่การตรัสรู้ เรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น
โพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดเห็นว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอด
โปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจ
สังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด. สมัยต่อมา เรานั้นยังเป็นหนุ่ม ผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยกำลังเจริญ
เป็นปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช) ทรงกันแสงพระเนตรนองด้วย
อัสสุชล เราปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อเราบวช
แล้วอย่างนี้ แสวงหาสิ่งไรจะเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหา
อาฬารดาบสกาลามโคตรถึงสำนักแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติ
พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. ดูกรภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตร
ได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า
ในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย.
เรากล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น
อนึ่ง ทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น. เรามีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร
จะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองด้วย เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียง
ศรัทธาอย่างเดียวดังนี้หามิได้
ที่แท้อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้นเราจึงเข้า
ไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ?
เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบส
กาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ. เราได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตร
สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมาใน
ก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เราเป็นหนึ่งของ
จำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้นฉะนั้น.
     [๗๓๘] ดูกรภารทวาชะ ในโลกนี้ ก่อนแต่การตรัสรู้ เรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น
โพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดเห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอด
โปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจ
สังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด. สมัยต่อมา เรานั้นยังเป็นหนุ่ม ผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยกำลังเจริญ
เป็นปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช) ทรงกันแสงพระเนตรนองด้วย
อัสสุชล เราปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อเราบวช
แล้วอย่างนี้ แสวงหาสิ่งไรจะเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหา
อาฬารดาบสกาลามโคตรถึงสำนักแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติ
พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. ดูกรภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตร
ได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า
ในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย.
เรากล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น
อนึ่ง ทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น. เรามีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร
จะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองด้วย เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียง
ศรัทธาอย่างเดียวดังนี้หามิได้ ที่แท้อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้นเราจึงเข้า
ไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบส
กาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ. เราได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตร
รามบุตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตนให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดย
ไม่ช้า ในธรรมใด แล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลัน
ไม่นานเลย. ย่อมกล่าวญาณวาท และเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่
พูดตอบเท่านั้น อนึ่ง เรา และผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น. เรามีความคิดเห็นว่า รามะ
จะได้ประกาศธรรมนี้ว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียว
แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ หามิได้ ที่แท้ รามะรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกดาบสราม
บุตรแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้วประกาศ
ให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อุทกดาบสรามบุตรได้ประกาศแนว
สัญญานาสัญญายตนะ. เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่ท่านรามบุตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มี
ศรัทธา มิใช่ท่านรามบุตรเท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา (อินทรีย์ห้า)
แม้เราก็มีความเพียร มีสติมีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรมที่ท่านรามบุตรประกาศว่า

เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด. เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ โดยฉับพลันไม่นานเลย. ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้ว
ได้ถามว่า ท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้หรือหนอ? อุทกดาบสรามบุตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองบรรลุแล้ว ประกาศด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. เรากล่าวว่า อาวุโส แม้เราก็ทำธรรมให้แจ้ง
ชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า อาวุโส
เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำ
ธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว
ประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้
เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหาร
หมู่คณะนี้เถิด. ดูกรภารทวาชะ อุทกดาบสรามบุตร เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ได้ตั้งเราไว้
ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น.
เราจึงไม่พอใจ
ธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.
     [๗๔๐] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นเป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบท
อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าอยู่ จึงเที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม.
ณ ที่นั้น เราได้เห็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์ มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท
มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ มีโคจรคามโดยรอบ. เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ภูมิภาคน่ารื่นรมย์หนอ
ไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส แม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าราบเรียบน่ารื่นรมย์ ทั้งโคจรคามมีอยู่
โดยรอบ สถานที่นี้สมควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียรหนอ. เราจึงนั่งอยู่
ณ ที่นั้นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่นี้สมควรเป็นที่ทำความเพียร.
             

   อุปมา ๓ ข้อ
     [๗๔๑] ดูกรภารทวาชะ อนึ่ง อุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยฟังมาในกาลก่อน
มาปรากฏกะเรา.
          ดูกรภารทวาชะอุปมาข้อที่ ๑ เปรียบเหมือนไม้สด ชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ. ถ้าบุรุษ
พึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ
ดังนี้. ดูกรภารทวาชะ
ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สด ชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ มาสีไฟ
จะพึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือหนอ?
     สคารวมาณพกราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้น
ยังสดชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ บุรุษนั้นพึงมีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่าเท่านั้น.
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์
หล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม. ยังมีความพอใจในกาม ความเสน่หาในกาม
ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม อันตนยังละไม่ได้ด้วยดี
ให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน. ท่านสมณะพราหมณ์เหล่านั้น ถึงหากจะเสวยทุกขเวทนา
อันกล้าเผ็ดร้อนเกิดเพราะความเพียรก็ดี หากจะไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น
ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๑ นี้แลอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา.
     [๗๔๒] ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๒ อีกข้อหนึ่งอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาใน
กาลก่อน มาปรากฏกะเรา. เปรียบเหมือนไม้สด ชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ. ถ้าบุรุษ
พึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ.
ดูกรภารทวาชะ ท่านจะเข้าใจ
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ มาสีไฟ จะพึงให้
ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้หรือหนอ?
     สคารวมาณพกราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้
นั้นยังสด ชุ่มด้วยยาง ถึงแม้จะตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงมีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อย
ลำบากเปล่าเท่านั้น.
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว. แต่ยังมีความพอใจในกาม ความเสน่หาในกาม
ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม อันตนยังละไม่ได้ด้วยดี
ยังให้สงบระงับด้วยดีไม่ได้ในภายใน.
ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนา
อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรก็ดี จะไม่ได้เสวยก็ดี ก็ยังไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น
ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๒ นี้แลอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่เรา.
     [๗๔๓] ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๓ อีกข้อหนึ่งอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาใน
กาลก่อน มาปรากฏกะเรา. เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมา
ด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีไฟ จักให้ไฟเกิด จักทำไฟให้ปรากฏ
ดังนี้. ดูกรภารทวาชะ
ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ มาสีไฟ
จะพึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือหนอ?
     สคารวมาณพกราบทูลว่า อย่างนั้นท่านพระโคดม ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะไม้นั้น
แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ.
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายหลีกออกจากกาม ทั้งความพอใจในกาม ความเสน่หาในกาม ความ
หมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม อันตนละได้ด้วยดี ให้สงบระงับ
ด้วยดีแล้วในภายใน. ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อน
ที่เกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้จะไม่ได้เสวยก็ดี ก็สมควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นซึ่งปัญญา
เครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๓ นี้แลอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคย
ได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา.
(หลีกจากกามคุณ ๕ ทางของมาร หรือการเกิดทุกข์ แล้ว(ปฏิปทา)ปฏิบัติอริยมรรค)
               



  ทำทุกกรกิริยา
     [๗๔๔] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงกดฟันด้วยฟัน
กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบไว้ให้แน่น ให้เร่าร้อนเถิด ดังนี้. เราจึงกดฟันด้วยฟัน
กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบไว้ให้แน่น ให้เร่าร้อนอยู่. เมื่อเรากดฟันด้วยฟัน
กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบไว้ให้แน่น ให้เร่าร้อนอยู่. เมื่อเรากดฟันด้วยฟัน
กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบไว้ให้แน่น เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง.
ดูกรภารทวาชะ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบ
ไว้แน่น ให้ร้อนจัด ฉันใด เมื่อเรากดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบไว้แน่น
ให้ร้อนจัด ก็ฉันนั้น เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง. ถึงเช่นนั้น เราก็ปรารภความเพียร
ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติมั่นไว้ ไม่ฟั่นเฟือน แต่ว่ากายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียร
ที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ.

     [๗๔๕] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด
. เราจึงกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก. เมื่อเรา
กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปากและทางจมูก ก็มีเสียงออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือ
ประมาณ. เสียงลมในลำสูบของนายช่างทองที่กำลังสูบอยู่ ดังเหลือประมาณ ฉันใด เมื่อเรา
กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก ก็มีเสียงลมออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือ
ประมาณ ฉันนั้น. ถึงเช่นนั้น เราปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน
แต่ว่ากายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย
ไม่สงบระงับ.
     [๗๔๖] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด.
เราจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู.
เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู ลมก็เสียดแทงศีรษะ
เหลือทน. บุรุษมีกำลังพึงเชือดกระหม่อมด้วยมีดโกนอันคม ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะ
ปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ลมก็เสียดแทงศีรษะเหลือทน ฉันนั้น. ถึงเช่นนั้น
เราก็ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่ว่ากายที่ปรารภความเพียร
ของเราอันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ.
     [๗๔๗] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด.
เราจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู.
เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน.
บุรุษมีกำลัง พึงเอาเส้นเชือกเกลียวเขม็งรัดที่ศีรษะ ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ
ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน ฉันนั้น. ถึงเช่นนั้นเราก็ปรารภ
ความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่กายที่ปรารภความเพียรของเรา
อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ


     [๗๔๘] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด.
เราจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู.
เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู ลมก็เสียดแทงพื้นท้อง
เหลือประมาณ. นายโคฆาต หรือลูกมือนายโคฆาตผู้ขยันพึงเชือดพื้นท้องด้วยมีดสำหรับเชือด
เนื้อโค ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู ลมก็
เสียดแทงพื้นท้องเหลือประมาณ ฉันนั้น. ถึงเช่นนั้น เราก็ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่กายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแล
เสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ.
     [๗๔๙] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด.
เราจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู.
เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อนในกาย
เหลือทน. บุรุษมีกำลังสองคน จับบุรุษที่มีกำลังน้อยกว่าคนละแขน ย่างรมไว้ในหลุม
ถ่านเพลิง ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู
ก็มีความร้อนในกายเหลือทน ฉันนั้น. ถึงเช่นนั้น เราก็ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติ
ไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่กายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียรที่ตนได้ยากนั้นแลเสียดแทง
จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ. ดูกรภารทวาชะ โอ เทวดาทั้งหลายเห็นเราแล้วพากันกล่าว
อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทำกาละแล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมยังไม่ทำ
กาละ แต่กำลังทำกาละ. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม แม้กำลังทำกาละก็หา
มิได้ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้นั้น เป็นวิหารธรรมของพระอรหันต์.
     [๗๕๐] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดย
ประการทั้งปวงเถิด
. ทันใดนั้น เทวดาเหล่านั้นได้เข้ามาหาเรา แล้วกล่าวว่า ดูกร
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่ออดอาหาร
โดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะแซกทิพโอชาลงตามขุมขนของท่าน ท่านจักได้เยียวยา
ชีวิตไว้ด้วยทิพโอชานั้น. เรานั้นมีความคิดเห็นว่า เราเองปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดย
ประการทั้งปวง แต่เทวดาเหล่านี้จะแซกทิพโอชาลงตามขุมขนของเรา ทั้งเราก็จักเยียวยาชีวิต
ไว้ได้ด้วยทิพโอชานั้น ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้. เราบอกเลิกแก่เทวดาเหล่านั้น จึงกล่าว
ว่า อย่าเลย.
     [๗๕๑] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารผ่อนลง
วันละน้อยๆ
คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้างเถิด. เราจึงกินอาหารผ่อนลงทีละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อ
ถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. เมื่อเรากินอาหารผ่อน
ลงทีละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ถึงความซูบผอมลงเหลือเกิน. เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้นเอง
อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเป็นเหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ฉะนั้น. ตะโพกของ
เราเป็นเหมือนดังเท้าอูฐ กระดูกสันหลังของเราผุดระกะ เปรียบเหมือนเถาวัลย์ชื่อวัฏฏนาวฬี
ฉะนั้น. ซี่โครงของเราขึ้นนูนเป็นร่องดังกลอนศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ฉะนั้น. ดวงตา
ของเราถล่มลึกเข้าไปในเบ้าตา ปรากฏเหมือนดวงดาวในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น. ผิวศีรษะของเรา
ที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ราวกับผลน้ำเต้าที่เขาตัดมาแต่ยังสด ถูกลมและแดดแผดเผา ก็เหี่ยว
แห้งไปฉะนั้น. เราคิดว่าจักลูบผิวหนังท้อง ก็จับถูกกระดูกสันหลังด้วย คิดว่าจักลูบกระดูก
สันหลัง ก็จับถูกผิวหนังท้องด้วย ผิวหนังท้องของเรากับกระดูกสันหลังติดถึงกัน. เรานั้นคิดว่า
จักถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็เซซวนล้มลง ณ ที่นั้นเอง. เรานั้นเมื่อจะให้กายนี้แลสบาย จึง
เอาฝ่ามือลูบตัว เมื่อเราเอาฝ่ามือลูบตัว ขนอันมีรากเน่าก็ร่วงตกจากกาย. มนุษย์ทั้งหลายเห็น
เราแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป. บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ไม่ดำเป็นแต่คล้ำไป. บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า จะว่าพระสมณโคดมดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็
ไม่ใช่ เป็นแต่พร้อยไป. ดูกรภารทวาชะ ผิวพรรณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของเรา ถูกกำจัดเสียแล้ว
เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง.




     [๗๕๒] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียง
เท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเสวยทุกขเวทนา
อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงสมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร
อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงเช่นนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุญาณทัศนะอันวิเศษของพระ
อริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นเพื่อ
ความตรัสรู้กระมังหนอ. เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดา
เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก
วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้
มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เรามีความคิดเห็นว่า เรา
กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุข
อันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม(ความเห็นว่า มันขัดแย้งในพุทธประวัติ ตามประวัติท่านศึกษาฌาน ๘ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
มาแล้ว จากสำนักอุทกดาบส  แต่ทำไมท่านจึงไม่นำมาปฏิบัติ)ลป.สาวกโลกอุดร เทศน์ว่า มีการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงคำสอนให้สับสน


     [๗๕๓] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า อันบุคคลผู้มีกายอันถึงความซูบผอม
เหลือทนอย่างนี้ จะบรรลุถึงความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือ
ข้าวสุก ขนมกุมมาสเถิด. เราจึงกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส. สมัยนั้น ภิกษุ
(ปัญจวัคคีย์) ๕ รูป บำรุงเราอยู่ด้วยหวังใจว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด จักบอกธรรม
นั้นแก่เราทั้งหลาย. แต่เมื่อเรากินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมกุมมาส. พวกภิกษุ (ปัญจ
วัคคีย์) ๕ รูปนั้น เบื่อหน่ายเราหลีกไปด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลาย
ความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก.
        ฌาน ๔
     [๗๕๔] ดูกรภารทวาชะ ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้วจึงสงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เรามีอุมีเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ
อยู่เป็นสุข เราบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
        ญาณ ๓(วิชชา ๓หรือรู้อริยสัจสี่ และปฏิจจสมุปบาทมีอาการ ๓ รอบ)
     [๗๕๕] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.
เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรภารทวาชะ นี้เป็นวิชชา
ข้อที่ ๑ เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความ
มืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.
     [๗๕๖] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์
ทั้งหลาย. เราเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรม ดูกรภารทวาชะ นี้เป็นวิชชาข้อที่ ๒ เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา
เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.
     [๗๕๗] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. เรา
นั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ. เมื่อเรา
นั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตหลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรภารทวาชะ นี้เป็นวิชชาข้อ
ที่ ๓ เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืด
เรากำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.
     [๗๕๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ความเพียรอันไม่หยุดหย่อนได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ ความเพียรของสัตบุรุษได้มีแล้ว
แก่ท่านพระโคดมหนอ สมควรเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าแต่ท่านพระโคดม เทวดา
มีหรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดย
ฐานะ.
     ส. ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า เทวดามีหรือหนอ ดังนี้ ตรัส
ตอบว่า ดูกรภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของ
พระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า เป็นมุสามิใช่หรือ?
     พ. ดูกรภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า เทวดามีอยู่หรือ พึงกล่าวว่าข้อที่ว่า เทวดามีอยู่
เป็นอันรู้กันได้โดยฐานะ ก็เท่ากับกล่าวว่า เรารู้จักเทวดา เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึง
ความตกลงในเรื่องนี้ว่า เทวดามีอยู่ดังนี้ ได้โดยส่วนเดียวแท้.
     ส. ก็ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเสียด้วยคำแรกเล่า?
     พ. ดูกรภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่ดังนี้นั้น เขาสมมติกันในโลกด้วยศัพย์อันสูง.
                  สคารวมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
     [๗๕๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า สคารวมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูป
ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
ท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ฉะนี้แล.
         จบ สคารวสูตร ที่ ๑๐.
         จบ พราหมณวรรค ที่ ๕.
          ___________________