หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธรรม ๑๐ ประการ นิสสรณสูตร รูปสูตร ปริหานสูตร


พระพุทธเจ้าทีปังกร เสด็จข้ามโดยมีสุเมธดาบส
แล้วทำนายอนาคตว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต(พระพุทธเจ้าของเรา)


 ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภัททาลิ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ อันเป็นของ
พระอเสขะ(พระอรหันต์) มรรค ๘ เพิ่มอีก ๒ ข้อ
    ดูกรภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ
เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่อัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มี
นาบุญอื่นยิ่งไปกว่าดังนี้.

    ๓. นิสสรณสูตร
    [๒๕๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่
สลัดออก ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
เนกขัมมะ(รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ๑
อรูปฌานเป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ๑
นิโรธเป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    ภิกษุผู้มีความเพียร รู้ธรรมเป็นเป็นที่สลัดออกซึ่งกาม และอุบายเป็นเครื่อง
 ก้าวล่วงรูปทั้งหลาย ถูกต้องธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปว
ในกาลทุกเมื่อภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมน้อมไปในธาตุนั้น
ภิกษุนั้นแลอยู่จบ อภิญญา สงบระงับก้าวล่วงโยคะได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๓
    


๔. รูปสูตร
    [๒๕๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย อรูปละเอียด
กว่ารูป นิโรธละเอียดกว่าอรูป
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดดำรงอยู่ในอรูปภพ สัตว์
    เหล่านั้นไม่รู้ชัดซึ่งนิโรธเป็นผู้ยังต้องกลับมาสู่ภพใหม่ ส่วนชนเหล่าใด
    กำหนดรู้รูปภพแล้ว ไม่ดำรงอยู่ในอรูปภพชนเหล่านั้นย่อมน้อมไปใน
    นิโรธ เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาอาสวะมิได้
    ถูกต้องอมตธาตุอันไม่มีอุปธิ(อุปาทานขันธ์)ด้วยนามกาย(ใจ)แล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งการ
    สละคืนอุปธิ ย่อมแสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๔

๙. ธาตุสูตร
    [๒๕๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้ง
หลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อม
เทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกันกับสัตว์
ผู้มีอัธยาศัยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัย
เลว ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกัน
เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ฯ
  
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    กิเลสเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง บุคคลย่อมตัดเสียได้เพราะความไม่เกี่ยวข้อง
     แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัยบุคคลผู้เกียจคร้านย่อมจมลง
    ในสมุทร คือ สงสาร เปรียบเหมือนบุคคลขึ้นสู่แพไม้น้อยๆ พึง
    จมลงในมหรรณพฉะนั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงเว้นบุคคลผู้เกียจ
    คร้านมีความเพียรอันเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ผู้สงัดแล้ว ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปรกติเพ่ง(ฌาน) ผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
    ผู้เป็นบัณฑิต ฯ 
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๙
    ๑๐. ปริหานสูตร
    [๒๕๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓
ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการงาน ขวนขวายใน ความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ๑
เป็นผู้ชอบคุย ยินดีในการคุย ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบคุย ๑
เป็นผู้ชอบหลับ ยินดีในการหลับ ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบหลับ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ
๓ ประการเป็นไฉน
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้
  ไม่เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการงาน ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ๑
ไม่ชอบคุย ไม่ยินดีในการคุย ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบคุย ๑
ไม่ชอบหลับ ไม่ยินดีในการหลับ ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบหลับ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    ภิกษุผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการคุย ชอบหลับและฟุ้งซ่าน
    ผู้เช่นนั้นไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุดเพราะเหตุนั้นแล
    ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย เว้นจากความหลับไม่ฟุ้งซ่าน  ภิกษุผู้เช่นนั้นควรเพื่อ
    บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด ฯ 
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
    ____________
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. มิจฉาทิฐิสูตร             ๒. สัมมาทิฐิสูตร
    ๓. นิสสรณสูตร             ๔. รูปสูตร
    ๕. ปุตตสูตร                 ๖. อวุฏฐิกสูตร
    ๗. สุขสูตร                ๘. ภินทนสูตร
    ๙. ธาตุสูตร                ๑๐. ปริหานสูตร ฯ
    จบวรรคที่ ๓

3 ความคิดเห็น:

  1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้ง
    หลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อม
    เทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกันกับสัตว์
    ผู้มีอัธยาศัยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล
    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัย
    เลว ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกัน
    เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ฯ สาธุครับผม ทุกข้อธรรมมีคุณค่านับประมาณไม่ได้จริง ๆ

    ตอบลบ
  2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้
    ไม่เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการงาน ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ๑
    ไม่ชอบคุย ไม่ยินดีในการคุย ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบคุย ๑
    ไม่ชอบหลับ ไม่ยินดีในการหลับ ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบหลับ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ สาธุ

    ตอบลบ
  3. และสุดท้าย พึงอยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ผู้สงัดแล้ว ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปรกติเพ่ง(ฌาน) ผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
    ผู้เป็นบัณฑิต ฯ สาธุอนุโมทามิ

    ตอบลบ