หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิกขาสูตรที่ ๒

ผู้ใดไม่มีความยึดถือใน
    นามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม  ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มี
    อยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ


สิกขาสูตรที่ ๒
         [๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตต
สิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน(รูปฌาน) ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิกขา ๓ นี้แล ฯ
           ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ  คุ้มครองอินทรีย์
พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ  ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต
 และอธิปัญญา เมื่อก่อนฉันใด  ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด
 เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องต่ำก็ฉันนั้นในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น ในกลางคืน
ฉันใดในกลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็น
 นักศึกษา เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดี
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้
ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้น
ตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจาก  สังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ

1 ความคิดเห็น:

  1. จิตหลุดพ้นจาก สังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท ... สาธุ สาธุ สาธุ

    ตอบลบ