หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยพระประวัติพระโคตมพุทธเจ้า


โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕
ว่าด้วยพระประวัติพระโคตมพุทธเจ้า
[๒๖] บัดนี้ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้านามว่า โคดม เจริญในศากยสกุล
ราบำเพ็ญเพียรแล้ว ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม พรหมอาราธนา
แล้ว ประกาศพระธรรมจักร





ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์๑๘ โกฏิ ต่อแต่นั้น เมื่อเราแสดงธรรม
ในสมาคมมนุษย์และเทวดา
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ จะพึงกล่าวโดยคำนวณนับมิได้ ในคราวที่เรา
กล่าวสอนราหุลบุตรของเราบัดนี้ ณ ที่นี้แล

ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓
จะพึงกล่าวโดยคำนวณนับมิได้ เรามีการประชุมพระสาวกผู้แสวงหา
คุณใหญ่ครั้งเดียว ภิกษุที่ประชุมกันมี ๑๒๕๐ รูป (มาฆบูชา)


เราผู้ปราศจากมลทินรุ่งเรือนอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เราให้สิ่งที่ปรารถนา
ทุกอย่างเหมือนแก้วมณีให้สิ่งที่ต้องการทั้งปวง ฉะนั้น เราประกาศจตุราริยสัจ
พื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้หวังผล ผู้แสวงหาธรรมเครื่องละ
ความพอใจในภพ
(อริยสัจสี่)



ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สองแสน ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์โดยจะคณนานับมิได้ คำสั่งสอน
ของเราผู้เป็นศากยมุนี กว้างขวางเจริญแพร่หลายงอกงามดี บริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ภิกษุหลายร้อยล้วนเป็น
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคงแวดล้อมเราอยู่ทุก

เมื่อในกาลบัดนี้ ภิกษุเหล่าใด เป็นพระเสขะยังมิได้บรรลุอรหัต
ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้น วิญญูชนตำหนิ ชนทั้งหลายผู้ชอบใจ
ทางพระอริยเจ้า ยินดีในธรรมทุกเมื่อ มีปัญญารุ่งเรือง ถึงจะยัง
ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ก็จักตรัสรู้ได้





นครของเราชื่อกบิลพัสดุ์
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นโยมบิดาของเรา โยมมารดาบังเกิดเกล้าของเรา
เรียกพระนามว่า มายาเทวี เราครอบครองอาคารสถานอยู่ ๒๙ ปี
มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุจันทะ โกกนุทะ และ
โกญจะ มีสนมนารีกำนัลในแปดหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดา
สวยงาม มเหสีของเรานามว่า ยโสธรา บุตรชายของเราชื่อว่าราหุล
เราเห็นนิมิต ๔ ประการ(เกิด  แก่ เจ็บตาย) จึงออกผนวชด้วยอัสวราชยาน
ได้บำเพ็ญเพียรประพฤติทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี


เราประกาศธรรมจักที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เรา
เป็นพระสัมพุทธเจ้าชื่อว่าโคดม
เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง ภิกษุ ๒ รูป ชื่ออุปติสสะและโกลิตะ
เป็นอัครสาวกของเรา ภิกษุชื่ออานนทะ เป็นอุปัฏฐาก อยู่ในสำนัก
ของเรา ภิกษุณีชื่อเขมาและอุบลวรรณาเป็นอัครสาวิกา จิตต
คฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เป็นอัครอุปัฏฐาก นันท
มาดาและอุตราอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา เราบรรลุสัมโพธิญาณ-
อันอุดม ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ เรามีรัศมีซ่านออกด้านละวาทุกเมื่อ
สูงขึ้นไป ๑๖ ศอก บัดนี้ อายุของเราน้อย มี ๑๐๐ ปี ถึงเราจะดำรง
อยู่เพียงนั้น ก็ช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย เราตั้งคบ
เพลิงคือธรรมไว้สำหรับให้คนภายหลังได้ตรัสรู้ อีกไม่นานเลย แม้
เรากับสงฆ์สาวกก็จักนิพพาน ณ ที่นี้แลเพราะสิ้นอาหาร (วิญญาณ)เหมือน
ไฟสิ้นเชื้อ ฉะนั้น เรามีร่างกายเป็นเครื่องทรงคุณ คือ เดชอันไม่มี
เทียบเคียง ยศ กำลังและฤทธิ์เหล่านี้ วิจิตด้วยลักษณะอันประเสริฐ
๓๒ ประการ(พุทธลักษณะ) มีรัศมี ๖ ประการ สว่างไสวไปทั่วทิศน้อยใหญ่ ดุจ
พระอาทิตย์ ทุกอย่างจักหายไปหมดสิ้น สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ
ฉะนี้แล.
จบโคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕
พุทธปกิรณกกัณฑ์
ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
[๒๗] ในกัปอันประมาณมิได้แก่ภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกชั้น
พิเศษ ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า ๑
พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า ๑ พระสรณังกรสัมพุทธเจ้า ๑ และพระ
ทีปังกรสัมพุทธเจ้า ๑ ท่านเหล่านั้นเสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน ต่อจาก
ที่พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
พระองค์เดียวเสด็จอุบัติกัปหนึ่ง ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสาร
ได้มากมาย ระหว่างพระผู้มีพระภาคทีปังกร และพระโกณฑัญญะ
บรมศาสดา เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้ ต่อจากพระโกณ
ฑัญญะบรมศาสดา มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ แม้ระหว่าง
พระโกณฑัญญะและพระมังคละพุทธเจ้านั้น ก็เป็นอันตรกัป โดยจะ
คำนวณนับมิได้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ สุมนะ เรวตะ และ
โสภิตะ ผู้เป็นมุนี มีจักษุ มีพระรัศมีสว่างไสว แม้พระพุทธเจ้า ๔
พระองค์นั้นก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว กันต่อจากพระโสภิตพุทธเจ้า
มีพระมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี แม้ระหว่างพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าโสภิตะ และอโนมทัสสีนั้นก็เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิ
ได้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ปทุมะ และนารทะ ผู้เป็น
มุนีกระทำที่สุดความมืด ก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว ต่อจากพระ
นารทสัมพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติใน
กัปหนึ่ง ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย แม้ระหว่าง
พระผู้มีพระภาคนารทะและพระปทุมุตรศาสดานั้น ก็เป็นอันตรกัป
โดยจะคำนวณนับมิได้ในแสนกัป มีพระมหามุนีพระองค์เดียว คือ
พระปทุมุตระผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ในสามหมื่นกัป
ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์
คือ พระสุเมธะและพระสุชาตะ ในพันแปดร้อยกัป (แต่กัปนี้) มี
พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี และ
พระธรรมทัสสี ต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดม
กว่าสัตว์ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลก ๓ พระองค์นั้น เสด็จอุบัติใน
กัปเดียวกัน ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระมหามุนีพระองค์เดียว
คือ พระสิทธัตถะ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ยอดเยี่ยมโดยมีบุญสิริ ในกัป
ที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระติสสะ
และพระปุสสะ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีพระกรุณาพระนามว่าวิปัสสี
ทรงเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากเครื่องผูก ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ มี
พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระสิขีและพระเวสสภู ผู้ไม่มีบุคคล
เปรียบเสมอ ในภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระ
กุกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ บัดนี้เราเป็นพระ
สัมพุทธเจ้าและจักมีพระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธเจ้า ๕
พระองค์นี้ ก็เป็นนักปราชญ์ อนุเคราะห์โลก บรรดาพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นธรรมราชาเหล่านี้ พระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้าจักตรัสบอกมรรคา
นั้นแก่ผู้อื่นหลายโกฏิ แล้วจักเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก
ฉะนี้แล.
จบพุทธปกิรณกกัณฑ์.
ธาตุภาชนียกถา
ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
[๒๘] พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพานที่นครกุสินารา
พระธาตุของพระองค์ เรี่ยรายแผ่ไปในประเทศนั้นๆ พระธาตุ
ทะนานหนึ่ง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงนำไปไว้ในพระนครราชคฤห์
ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองเวสาสี ทะนานหนึ่งอยู่ในนครกบิลพัสดุ์
ทะนานหนึ่งอยู่ในอัลลากัปปนคร ทะนานหนึ่งอยู่ในรามคาบ
ทะนานหนึ่งอยู่ในเวฏฐาทีปกนคร ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองปาวาของ
มัลลกษัตริย์ ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ให้ช่าง
สร้างสถูป บรรลุทะนานทอง กษัตริย์โมริยะผู้มีหทัยยินดี รับสั่งให้
สร้างสถูปบรรจุพระอังคาร พระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ ๘ แห่ง
เป็น ๙ แห่ง ทั้งตุมพเจดีย์ รวมพระอังคารสถูปด้วยเป็น ๑๐ แห่ง
ประดิษฐานอยู่แล้วในกาลนั้น พระทาฐธาตุข้างหนึ่งอยู่ในดาวดึงส
พิภพ ข้างหนึ่งอยู่ในนาคบุรี ข้างหนึ่งอยู่ในเมืองคันธารวิสัย ข้าง
หนึ่งอยู่ในเมืองกาลิงคราช พระทันตธาตุ ๔๐ พระเกศธาตุและพระ
โลมาทั้งหมด เทวดานำไปไว้ในจักรวาลหนึ่งๆ จักรวาลละอย่าง
บาตรไม้เท้าและจีวรของพระผู้มีพระภาค อยู่ในวชิรานครสงบอยู่ใน
กุลฆรนคร ผ้าปัจจัตถรณะอยู่ในสีหฬ ธมกรกและประคตเอว อยู่
ในนครปาฏลิบุตร ผ้าอาบน้ำอยู่ในจำปานคร อุณณาโลมอยู่ใน
แคว้นโกศล ผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ในพรหมโลก ผ้าโพกอยู่ในดาวดึงส์
(รอยพระบาทอันประเสริฐที่หิน เหมือนมีอยู่ที่กัจฉตบุรี) ผ้านิสีทนะ
อยู่ในอวันตีชนบท ผ้าลาดอยู่ในดาวดึงส์ ไม้สีไฟอยู่ในมิถิลานคร
ผ้ากรองน้ำอยู่ในวิเทหรัฐ มีดและกล่องเข็มอยู่ในอินทปัตถนคร ใน
กาลนั้น บริขารที่เหลือ อยู่ในชนบท ๓ แห่งในกาลนั้น หมู่
มนุษย์ในกาลนั้นจักบูชาบริขารที่พระมุนีทรงบริโภค พระธาตุของ
พระโคดมผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง กระจายแผ่กว้างไป เพื่อ
อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นของเก่าในกาลนั้น ฉะนี้แล.
จบธาตุภาชนียกถา.
จบพุทธวงศ์
----------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น