หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุคคล ๓ จำพวก



[๘๘] บุคคลผู้มีวาทะเหมือนคูถ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบพูดเท็จ ไปอยู่ในที่ประชุม ไปอยู่ในบริษัทไปอยู่ใน
ท่ามกลางญาติ ไปอยู่ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ในท่ามกลางราชตระกูล ถูกเขานำไปซักถาม
ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร จงพูดอย่างนั้น บุคคลนั้นไม่รู้
กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้ หรือรู้อยู่ กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ไม่เห็น กล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น หรือเห็นอยู่
กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวคำเท็จโดยรู้อยู่ว่าเท็จดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตนหรือเพราะ
เหตุแห่งคนอื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคลนี้เรียกว่าผู้มีวาจาเหมือนคูถ
    บุคคลผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเสียแล้วซึ่งมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาทไปอยู่ในที่
ประชุม ไปอยู่ในบริษัท ไปอยู่ในท่ามกลางญาติ ไปอยู่ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ใน
ท่ามกลางราชตระกูล ถูกเขานำไปเพื่อซักถาม ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ
 ท่านรู้อย่างไร จงพูดอย่างนั้นบุคคลนั้นไม่รู้ กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่รู้ หรือรู้อยู่ กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้
ไม่เห็น กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น เห็นอยู่ กล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวคำเท็จโดยรู้อยู่ว่าเท็จ
ดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้

บุคคลผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ วาจานั้นใดไม่มีโทษ สะดวกหู เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ถึงใจ
เป็นของชาวเมือง อันคนมากใคร่ เป็นที่ชอบใจของคนมากเป็นผู้กล่าววาจาเช่นนั้น บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง


บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก เป็นไฉน
    [๑๑๓] หนู ๔ จำพวก
            หนูที่ขุดรูไว้ แต่ไม่อยู่
            หนูที่อยู่ แต่มิได้ขุดรู
            หนูที่ขุดรูด้วย อยู่ด้วย
            หนูที่ทั้งไม่ขุดรู ทั้งไม่อยู่
    [๑๑๔] บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลกก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก เป็นไฉน
            บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่
            บุคคลเป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำที่อยู่
            บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ และอยู่ด้วย
            บุคคลทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่อยู่ด้วย
    บุคคลทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่
หนูนั้นทำรังไว้แต่ไม่อยู่แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้นบุคคลเป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำที่อยู่ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้นรู้อยู่ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำ
ที่อยู่ หนูที่เป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำรังนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น
    บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ และอยู่ด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้น ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำที่อยู่ และ
อยู่ด้วย หนูที่ทำรังอยู่และอยู่ด้วยนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่อยู่ด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะเวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่
อยู่ด้วย หนูที่ทั้งไม่ทำรัง ทั้งไม่อยู่ด้วยนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
  
[๘๙] บุคคลมีจิตเหมือนแผลเรื้อรัง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคั่งแค้น ถูกเขาว่าเพียงเล็กน้อย
 ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปรกติ ย่อมกระด้างย่อมแสดงความโกรธ ความ
คิดประทุษร้าย อาการไม่ชอบใจ ให้ปรากฏ เหมือนแผลเรื้อรังถูกท่อนไม้หรือกระเบื้องกระทบ
 ย่อมมีน้ำเลือดน้ำหนองไหลออกมากมาย ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ
มากไปด้วยความคั่งแค้น ถูกเขาว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิด
ปรกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจ ให้ปรากฏ
ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนแผลเรื้อรัง
    บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เหมือนบุรุษมีจักษุ พึงเห็นรูปทั้งหลายใน
ระหว่างที่ฟ้าแลบในเวลามืดกลางคืนชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่านี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็
ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
    บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ
ซึ่งปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่
ในทิฏฐธรรม เหมือนแก้วมณีหรือแผ่นหิน อะไรชื่อว่าไม่แตก ย่อมไม่มี เมื่อฟ้าผ่าลงไป
ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ
ซึ่งปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถ
อยู่ในทิฏฐธรรม ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า




[๙๐] บุคคลผู้บอด เป็นไฉน
    บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้ว ให้เจริญด้วยจักษุเช่นใด
 จักษุเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคลพึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล
รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษรู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบ
โดยเป็นธรรมดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนี้
เรียกว่าบุคคลผู้บอด
    บุคคลตาข้างเดียว เป็นไฉน
    บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้เจริญด้วยจักษุเช่นใด
 จักษุเช่นนั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคลพึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล
รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วน
เปรียบ โดยเป็นธรรมดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้น ก็ย่อมไม่มีแก่บุคคล
เช่นนั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีตาข้างเดียว
    บุคคลมีตาสองข้าง เป็นไฉน
    บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้เจริญด้วยจักษุเช่นใด
จักษุเช่นนั้น ย่อมมีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคลพึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล
รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วน
เปรียบโดยเป็นธรรมดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้นก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้น
บุคคลนี้เรียกว่าคนมีตาสองข้าง


[๙๑] บุคคลมีปัญญาดังหม้อคว่ำ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนืองๆ พวก
ภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะแก่บุคคลนั้น
ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นพึงนั่งแล้วที่
อาสนะนั้น ย่อมไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้นเลยย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ใจถึงที่สุด
แม้ลุกออกจากอาสนะแล้วก็ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถา
นั้นเลยเหมือนน้ำที่เขาเทใส่หม้อที่คว่ำไว้ ย่อมไหลไป ย่อมไม่ขังอยู่ ชื่อแม้ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนืองๆพวกภิกษุย่อมแสดง
ธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะแก่
บุคคลนั้น ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น
 ย่อมไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้นเลย
แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถา
นั้นเลยก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า มีปัญญาดังหม้อคว่ำ
    บุคคลมีปัญญาดังหน้าตัก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนืองๆ พวก
ภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะแก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่
อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง
แต่ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถา
นั้นเลย เหมือนของเคี้ยวนานาชนิด เช่น งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทรา วางเรี่ยรายอยู่แล้ว
แม้บนตักของบุรุษ เมื่อเขาเผลอตัวลุกจากอาสนะ พึงกระจัดกระจายไป ชื่อแม้ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนืองๆภิกษุทั้งหลายย่อม
แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
แก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น
ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง แห่งกถานั้น
แต่ลุกออกจากอาสนะนั้นแล้วย่อมไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ใจ
ถึงที่สุด แห่งกถานั้นเลย ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า มีปัญญาดังหน้าตัก
    บุคคลมีปัญญามาก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนืองๆ พวก
ภิกษุย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะ แก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่
อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง
แม้ลุกออกจากอาสนะนั้นแล้วก็ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจ
ถึงที่สุดบ้างแห่งกถานั้น เหมือนน้ำที่เขาเทใส่หม้อที่หงายไว้ ย่อมขังอยู่ ย่อมไม่ไหลไปชื่อแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนืองๆ
พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เขานั่งที่อาสนะ
นั้นแล้ว ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุด แห่งกถานั้น
แม้ลุกออกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจ
ถึงที่สุดบ้าง แห่งกถานั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีปัญญามาก
    [๙๒] บุคคลมีราคะยังไม่ไปปราศแล้วในกามและภพ เป็นไฉน
    พระโสดาบันและสกทาคามีบุคคลเหล่านี้ เรียกว่าบุคคลผู้มีราคะ ยังไม่ไปปราศในกาม
และภพ
    บุคคลมีราคะไปปราศแล้วในกาม แต่มีราคะยังไม่ไปปราศแล้วในภพ เป็นไฉน
    พระอนาคามีบุคคล นี้เรียกว่า บุคคลมีราคะไปปราศแล้วในกาม แต่มีราคะยังไม่ไป
ปราศแล้วในภพ
    บุคคลมีราคะไปปราศแล้วในกามและภพ เป็นไฉน
    พระอรหันต์ นี้เรียกว่า บุคคลมีราคะไปปราศแล้วในกามและภพ


  

 [๙๓] บุคคลเหมือนรอยขีดในหิน เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธอยู่เนืองๆ และความโกรธของเขานั้นแล ย่อมนอน
เนื่องอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน เหมือนรอยขีดในหิน ย่อมไม่เลือนไปได้ง่าย เพราะลมหรือ
เพราะน้ำ ย่อมเป็นของตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธอยู่เนืองๆ
 และความโกรธของเขานั้นแล ย่อมนอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า
 บุคคลเหมือนรอยขีดในหิน
    บุคคลเหมือนรอยขีดในแผ่นดิน เป็นไฉ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้น ย่อมไม่นอน
เนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน เหมือนรอยขีดในแผ่นดิน ย่อมลบเลือนไปได้ง่าย เพราะลมหรือ
เพราะน้ำ ไม่ตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ความโกรธ
ของเขานั้น ย่อมไม่นอนเนืองอยู่สิ้นกาลยาวนาน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลเหมือนรอยขีด
ในแผ่นดิน
    บุคคลเหมือนรอยขีดในน้ำ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกบุคคลว่ากล่าวแม้ด้วยถ้อยคำกระด้าง แม้ด้วยถ้อยคำหยาบคาย
แม้ด้วยถ้อยคำไม่เป็นที่พอใจ ยังคงสนิทกัน ยังคงติดต่อกันยังคงชอบกัน เหมือนรอยขีด
ในน้ำย่อมลบเลือนไปได้ง่าย ไม่ตั้งอยู่ได้นานชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกบุคคล
ว่ากล่าว แม้ด้วยคำกระด้างบ้างแม้ด้วยคำหยาบ แม้ด้วยคำไม่เป็นที่ชอบใจ ยังคงสนิทกัน
ยังคงติดต่อกันยังคงชอบกัน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลเหมือนรอยขีดในน้ำ
 

บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวกเป็นไฉน
    [๙๖] ผ้ากาสี ๓ ชนิด คือ
    ผ้ากาสีแม้ใหม่ก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก
    ผ้ากาสีแม้กลางเก่ากลางใหม่ก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก
    ผ้ากาสีแม้อย่างเก่าก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก คนทั้งหลายย่อมเอาผ้ากาสี
แม้เก่าแล้วไปใช้สำหรับห่อรัตนะบ้าง หรือเก็บผ้ากาสีนั้นไว้ในโถของหอมบ้าง
  
[๙๗] บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน
    บุคคล ๓ จำพวก เป็นไฉน
    แม้หากว่า ภิกษุใหม่มีศีล มีธรรมอันงาม ผ้ากาสีนั้นมีสีอันงาม แม้ฉันใด บุคคลนี้
ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะงาม ส่วนคนเหล่าใด ย่อมสมาคม ย่อมคบ
ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การเสพนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน ผ้ากาสีนั้นนุ่งห่มสบาย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
 นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีสัมผัสสบายก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ของคนเหล่าใดทานของคนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก ย่อมมีอานิสงส์มาก ผ้ากาสีนั้น
 ย่อมมีราคามากแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีราคามาก
    แม้หากว่าภิกษุชั้นมัชฌิมะ ฯลฯ
    แม้หากภิกษุชั้นพระเถระ มีศีล มีธรรมอันงาม ผ้ากาสีนั้นสีงาม แม้ฉันใด บุคคลนี้
ก็มีอุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะงาม ส่วนคนเหล่าใด ย่อมสมาคม ย่อมคบ
ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การเสพนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน ผ้ากาสีนั้นมีสัมผัสสบาย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีสัมผัสสบายก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช
บริขารของคนเหล่าใดทานของคนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ผ้ากาสีนั้น
มีราคามากแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะค่าที่บุคคลนี้มีค่ามาก หากว่าพระเถระ
 เห็นปานนี้จะว่ากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะกล่าวกับพระเถระผู้นั้นนั่นอย่างนี้ว่า
ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงเงียบเสียง พระเถระกล่าวธรรมและวินัย ถ้อยคำของพระเถระนั้น
ย่อมถึงซึ่งความเป็นของควรเก็บไว้ในหทัย ดุจผ้ากาสีนั้นอันบุคคลควรเก็บไว้ในโถของหอมฉะนั้น
บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลที่ประมาณได้ง่าย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้มีมานะฟูขึ้นดุจไม้อ้อ เป็นผู้กลับกลอก
เป็นผู้ปากกล้า เป็นผู้มีวาจาเกลื่อนกล่น [ไม่สังเกตคำพูด] มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์เปิดเผยนี้เรียกว่า บุคคลประมาณได้ง่าย
    [๙๘] บุคคลที่ประมาณได้ยาก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่มีมานะฟูขึ้นดุจไม้อ้อ ไม่เป็นผู้
กลับกลอก ไม่เป็นผู้ปากกล้า ไม่เป็นผู้มีวาจาเกลื่อนกล่น มีสติตั้งมั่น  มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น
 มีจิตเป็นสมาธิ มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว นี้เรียกว่าบุคคลประมาณได้ยาก
    บุคคลที่ประมาณไม่ได้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ
ซึ่งปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถ
อยู่ในทิฏฐธรรม นี้เรียกว่า บุคคลประมาณไม่ได้
    [๙๙] บุคคลไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสื่อมจากศีล จากสมาธิ จากปัญญา บุคคลเห็นปานนี้
ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ควรเว้นจากความเอ็นดู เว้นจากความอนุเคราะห์
    บุคคลควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอกันด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา บุคคลเห็นปานนี้
ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าศีลกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย
 ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล จักมีแก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้น จักเป็นความผาสุกแก่เราทั้งหลาย
และกถานั้นจักเป็นไปแก่เราทั้งหลาย [คือจักไม่เดือดร้อน] สมาธิกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย
ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยสมาธิ จักมีแก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้นจักเป็นความผาสุกแก่เรา
ทั้งหลาย และกถานั้นจักเป็นไปแก่เราทั้งหลาย [คือจักไม่เดือดร้อน] ปัญญากถาของสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลายทั้งกถานั้นจักเป็นความผาสุก
แก่เราทั้งหลาย และกถานั้นจักเป็นไปแก่เราทั้งหลาย[คือจักไม่เดือดร้อน] เพราะฉะนั้น
บุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้
    บุคคลที่ควรสักการะเคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเห็นปานนี้ ควร
สักการะเคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเราจักได้บำเพ็ญศีลขันธ์
ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราจักถือเอาตาม ซึ่งศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ
เราจักได้บำเพ็ญสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราจักได้ถือเอาตามซึ่งสมาธิขันธ์ที่
บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เราจักได้บำเพ็ญซึ่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ
เราจักได้ถือเอาตามซึ่งปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้
ควรสักการะเคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้
    [๑๐๐] บุคคลควรเกลียด ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ผู้ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น
อันไม่สะอาด และมีสมาจารอันผู้อื่นหรือตนพึงระลึกได้ด้วยความระแวง ผู้มีการงานอันปกปิด
ผู้มิใช่สมณะแต่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะมิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณตนว่าประพฤติ
พรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ผู้อันราคะชุ่มแล้ว ผู้รุงรัง บุคคลเห็นปานนี้ควรเกลียด ไม่ควรสมาคม
ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าถึงแม้บุคคลผู้คบจะไม่เอาอย่างบุคคลนี้
แต่กิตติศัพท์อันลามก ก็ย่อมฟุ้งขจรไปสู่บุคคลผู้คบนั้นว่าบุคคลผู้เป็นบุรุษมีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว
คบคนชั่ว ดังนี้   งูที่เปื้อนคูถ   ถึงจะไม่กัดคน  ก็จริง   ถึงอย่างนั้น   ย่อมเปื้อนบุคคลนั้น
ชื่อแม้ฉันใด ถึงบุคคลผู้คบนั้น จะไม่เอาอย่างบุคคลเช่นนี้ก็จริงถึงอย่างนั้น กิตติศัพท์อันลามก
 ย่อมฟุ้งไปแก่บุคคลนั้นว่า บุคคลผู้เป็นบุรุษมีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น
บุคคลเห็นปานนี้จึงควรเกลียด ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
    บุคคลที่ควรเฉยๆ เสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อย
ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิด
ประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ เหมือนแผลเรื้อรัง ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อม
มีน้ำเลือดน้ำหนองไหลออกมากมาย ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไป
ด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ
ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น
 ใบมะพลับแห้งถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบแล้ว ย่อมมีเสียงดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะเกินประมาณ ชื่อแม้
ฉันใดบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียง
เล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้างย่อมแสดงความโกรธ
ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น หลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้อง
กระทบ ย่อมมีกลิ่นเหม็นเกินประมาณ ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ
มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิด
ปกติ ย่อมกระด้างย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจ ให้ปรากฏ
ก็ฉันนั้น บุคคลเห็นปานนี้ควรวางเฉยเสียไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะว่าเขาจะพึงด่าเราบ้าง พึงบริภาษเราบ้าง พึงกระทำความฉิบหายแก่เราบ้าง
เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรวางเฉยเสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
    บุคคลควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม
ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าถึงแม้ว่าบุคคลผู้คบ จะไม่เอาอย่างบุคคล
เห็นปานนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามก็ย่อมฟุ้งขจรไปสู่บุคคลผู้คบนั้นว่า บุคคลผู้เป็นบุรุษ มีมิตรดี
มีสหายดี คบคนดีดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้
    [๑๐๑] บุคคลผู้มีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีปกติกระทำแต่พอประมาณในสมาธิ
มีปกติกระทำแต่พอประมาณในปัญญา เป็นไฉน
    พระโสดาบัน พระสกทาคามีเหล่านี้เรียกว่า มีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีปกติ
กระทำแต่พอประมาณในสมาธิ มีปกติกระทำแต่พอประมาณในปัญญา
    บุคคลมีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล และมีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ มีปกติ
กระทำแต่พอประมาณในปัญญา เป็นไฉน
    พระอนาคามี นี้เรียกว่า บุคคลมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล และมีปกติกระทำให้
บริบูรณ์ในสมาธิ มีปกติทำแต่พอประมาณในปัญญา
    บุคคลมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีลในสมาธิ และในปัญญา เป็นไฉน
    พระอรหันต์ นี้เรียกว่า บุคคลมีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล สมาธิและปัญญา
    [๑๐๒] ในศาสดาเหล่านั้น ศาสดา ๓ จำพวก เป็นไฉน
    ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติการละกาม แต่ไม่บัญญัติการละรูปไม่บัญญัติการ
ละเวทนา
    ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติการละกามด้วย ย่อมบัญญัติการละรูปด้วย แต่ไม่
บัญญัติการละเวทนา
    ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติการละกามด้วย ย่อมบัญญัติการละรูปด้วย ย่อม
บัญญัติการละเวทนาด้วย
    บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดานี้ใด บัญญัติการละกาม แต่ไม่บัญญัติการละรูป
ไม่บัญญัติการละเวทนา พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้ได้รูปาวจรสมาบัติ โดยการบัญญัตินั้น
    ศาสดานี้ใด บัญญัติการละกามด้วย บัญญัติการละรูปด้วย แต่ไม่บัญญัติการละเวทนา
พึงเห็นว่าศาสดานั้น เป็นศาสดาผู้ได้อรูปาวจรสมาบัติ โดยการบัญญัตินั้น
    ศาสดานี้ใด บัญญัติการละกามด้วย บัญญัติการละรูปด้วย บัญญัติการละเวทนาด้วย
พึงเห็นว่า ศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยการบัญญัตินั้น
    เหล่านี้เรียกว่า ศาสดา ๓ จำพวก
    [๑๐๓] บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดา ๓ จำพวก แม้อื่นอีก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติตนในทิฏฐธรรม [คืออัตภาพนี้]โดยความเป็นของ
มีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และย่อมบัญญัติตนภายหน้า[ในอัตภาพอื่น] โดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
    ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติตนในทิฏฐธรรม โดยความเป็นของมีจริง โดย
ความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติตนในภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็น
ของยั่งยืน
    ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่บัญญัติตนในทิฏฐธรรม โดยความเป็นของมีจริง โดย
ความเป็นของยั่งยืน และย่อมไม่บัญญัติตนในภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็น
ของยั่งยืน
    บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดานี้ใด ย่อมบัญญัติตนในทิฏฐธรรมโดยความเป็นของ
มีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติตนในภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความ
เป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่าศาสดานั้น เป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าเที่ยง โดยการบัญญัตินั้น
    ศาสดานี้ใด ย่อมบัญญัติตนในทิฏฐธรรม และย่อมไม่บัญญัติตนภายหน้า โดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าขาดสูญ
โดยการบัญญัตินั้น
    ศาสดานี้ใด ย่อมไม่บัญญัติตนในทิฏฐธรรม โดยความเป็นของมีจริงโดยความเป็น
ของยั่งยืน และย่อมไม่บัญญัติตนในภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
 พึงเห็นว่าศาสดานั้น เป็นศาสดาผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการบัญญัตินั้น
    เหล่านี้เรียกว่าศาสดา ๓ จำพวก แม้อื่นอีก
                ติกนิทเทส จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น