หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๖๘๙] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน

    ความละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ความละวิตกวิจาร ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความ
ละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน ฯลฯความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ
ความละรูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
ความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯความละวิญญา
ณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯความละอากิญจัญญายตนสัญญา
ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสัญชีวะท่านพระขาณุโกณฑัญญะ อุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา
 มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
(ยังไม่ถึงขั้นสัญญาเวทยิตนิโรธ)(รูปฌาน อรูปฌาน อีกแล้ว)
    [๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ
    ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็
มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล
ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความ
สำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและ
ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่ง
ที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ก็เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ฯ
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ภิกษุ
มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนา
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งทั้งไม่น่าปรารถนาและ
น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
    ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
    ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยงในสิ่งทั้งที่น่า
ปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูล
อยู่อย่างนี้

    ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล
อยู่อย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วย
ใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติ
สัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ ฯ
(อยู่ในขั้นอรหัตตผล>>สัญญาเวทยิตนิโรธ)

    [๖๙๑] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน ฯ
    นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวกมีฤทธิ์เกิดแต่ผล
กรรม นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ฯ
    [๖๙๒] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน ฯ
    พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ตลอดจนพวกปก
ครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดีฤทธิ์ของชฏิลคฤหบดี ฤทธิ์ของ
เมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดีฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
นี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฯ
    [๖๙๓] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน ฯ
    พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้าบ้าง พลรถบ้าง
 พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ในอากาศกลางหาวนี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา ฯ
    [๖๙๔] ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ
อย่างไร ฯ
    ความละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความ
ว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆความละพยาบาท ย่อมสำเร็จได้ด้วยความ
ไม่พยาบาท ฯลฯ ความละถีนมิทธะย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ วามละกิเลสทั้งปวง ย่อม
สำเร็จได้ด้วยอรหัตมรรค
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบ
ชอบในส่วนนั้นๆ
ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ
อย่างนี้ฤทธิ์ ๑๐ ประการเหล่านี้
            จบอิทธิกถา ฯ
            ______

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น