หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

คำปณิธานพระเจ้าตากสินมหาราช





พระราชปณิธาน พระเจ้าตากสินมหาราช


อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวาย แผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญ สมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธ ศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน ฯ




(จากจารึกในศาลพระเจ้า ตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม)




วัดอินทารามวรวิหาร
สันติสถานของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
 วัดอินทาราม  เป็นวัดสำคัญของสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  เป็นวัดอนุสรณ์สันติสถานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  มหาวีระกษัตริย์ของไทยเราทรงประกอบพระราชกุศล  มีโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์เป็นชีวิตจิตใจหลายอย่าง  ที่นับว่าสำคัญน่าชมและศึกษา คือพระแท่นบรรทมไสยาสน์  เป็นพระราชอาสน์ที่พระองค์ทรงประทับแรมทรงศีลแลทรงเจริญกรรมฐาน ประวัติที่น่าศึกษาของวัดนี้คือ  เป็นที่ประดิษฐาน (ฝัง) พระบรมศพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๗  และบรมศพพระอัครมเหสีของพระองค์  ก็ได้ถวายพระเพลิงและบรรจุพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดนี้ทั้งสองพระองค์
วัดอินทารามขณะนี้เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร  ตั้งอยู่ที่ถนนเทอดไท  ปากคลองบางยี่เรือ  ริมคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แขวงบางยี่เรือ  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร  (แต่เดิมหน้าวัดอยู่ทางคลองบางกอกใหญ่  แต่เมื่อตัดถนนแล้ว  จึงใช้ทางหลวงเป็นหน้าวัดด้วย)  เนื้อที่ของวัดนี้เดิมเป็นแปลงเดียวตลอดกันทั้งวัด  ต่อมาทางรถไฟสายมหาชัยได้ตัดทางเข้ามาทางหลังวัด  กินเนื้อที่วัดเข้ามาเขตตะวันออกจดคลองบางยี่เรือ (คลองสำเหร่)  และเทศบาลนครธนบุรีได้ตัดทางรถยนต์เข้ามาทางด้านตะวันออก  เฉียดกำแพงรอบนอกพระอุโบสถจดถึงลำคลองบางยี่เรือ  เพราะเหตุนี้วัดจึงแยกเป็นสองแปลง  เนื้อที่ตั้งวัดประมาณ ๑๕ ไร่ ๒ งาน  เป็นที่ธรณีสงฆ์สำหรับจัดหาผลประโยชน์บำรุงวัดประมาณ ๙ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา  รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๕ ไร่
(แหล่งที่มา วัดอินทาราม)

ท้าทายให้พวกท่านพิสูจน์

คำสอนของ ลป.สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล
  1. ไม่มีใครเทศนาเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทได้ชัดเจน โดยเฉพาะศัพท์คำว่า นามรูป ซึ่งไม่เคยมีใครสนใจ และนำมาเทศน์ และอธิบายความหมายได้ถูกต้อง ชาวพุทธเองก็ไม่เคยได้ยินศัพท์นี้มาก่อน
  2.  สังคยานาพระไตรปิฏก ซึ่งพระอรหันต์ผลเท่านั้น ที่่สามารถแบ่งหมวดหมู่ในอริยสัจสี่ได้
  3. อจินไตย ก็ไม่เคยมีใครมาเทศน์ ว่าญานของพระอรหันต์เป็นอย่างไร 
  4. ไม่เคยมีพระรูปใดเลยที่บอกว่าบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ว่าปฏิบัติธรรมอย่างไร สภาวธรรม หรือว่านิพพานเป็นอย่างไร นิพพานมี  ๒ คือ อนุปาทิเสสนิพพาน กับ สอุปาทิเสสนิพพาน มีความต่างกันอย่างไร อธิบายกันก็ผิด
  5. จุดมโนทวาร ที่เกิดของจิต ไม่มีใครรู้ มีแต่ว่าที่หัวใจด้านซ้าย กันทั้งนั้น แต่ลป.บอกได้ถูกอยู่ตรงดั้งจมูกหักของเรานี่เอง และก็เป็นจุดเดีียวกับพระนิพพาน
  6. ธรรมในการดับสังขาร คือ อนุปุพพวิหารเก้า (รูปฌาน อรูปฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ),ให้ดูตอนปรินิพพานแล้วก็โปรดปัญจวคีย์ เครื่องอยู่ของพระอรหัตน์(พระสารีบุตรก็มีในพระสูตร)
    วิปัสสนาญาน ๙ ,วิสุทธิ ๗(ของพระมันตาณีบุตร) (ส่วน ญาน๑๖ หรือโสฬลญาน ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า แต่งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. ๙๐๐ ที่ศรีลังกาเป็นของปลอมแปลงเข้ามาในพุทธศาสนา)
  7. การแยกสงฆ์ ถือว่าเป็นสังฆเภท เป็นอนันตริยกรรม ห้ามนิพพาน