หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ธรรมทั้ง ๓ ประการรวมเป็นผัสสะ

ทุกขสูตร
[๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์  เธอทั้งหลาย
จงฟัง ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน
ความเกิดแห่งทุกข์นั้น คืออาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุ
วิญญาณ รวมธรรมทั้ง ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโน
วิญญาณ รวมธรรม ๓ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา นี้แลเป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯ
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความดับแห่งทุกข์นั้น คือ
อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดย
ไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโน
วิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับเพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๓

โลกสูตร
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอทั้งหลาย
จงฟัง ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน ความเกิดแห่งโลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิด
จักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิด
ภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสนี้เป็นความเกิดแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์เกิดมโน
วิญญาณ  รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย  จึงเกิดชาติเพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ

[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน ความดับแห่งโลกนั้น คือ
อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา  เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดย
ไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เป็นความดับแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับเพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔
เสยยสูตร
[๑๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมี  เพราะยึดมั่นอะไร
ถือมั่นอะไร จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขาหรือว่าเลวกว่าเขา ฯ
(มานะ ทิฎฐิ)
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์
มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเหตุ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี เพราะยึดมั่นจักษุ ถือมั่นจักษุ จึงมีความสำคัญตนว่า
ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯลฯ เมื่อใจมีเพราะยึดมั่นใจ ถือมั่นใจ จึงมี
ความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขาหรือว่าเลวกว่าเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนจักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่นสิ่งนั้นแล้ว
จะพึงมีความสำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่นสิ่งนั้นแล้ว
จะพึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน
จักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ
หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕