หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มารหรือการบัญญัติว่ามาร






สมิทธิสูตรที่ ๑

     [๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯครั้น
แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร
 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ
จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มี  อยู่ ณ ที่นั้น
ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ  ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯ
     [๗๒] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย  จักษุวิญญาณ ไม่มี
ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะ
พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด  มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ
                 
   จบสูตรที่ ๓
                    สมิทธสูตรที่ ๒
     [๗๓] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์ ฯลฯ
                     จบสูตรที่ ๔
                    สมิทธิสูตรที่ ๓
     [๗๔] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระเจ้าข้า จะพึงเป็นทุกข์ หรือบัญญัติว่าทุกข์ ฯลฯ
                     จบสูตรที่ ๕
 สมิทธิสูตรที่ ๔
     [๗๕] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร
จึงเป็นโลก หรือบัญญัติว่าโลก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ
ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด  โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯ
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ   ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการ
บัญญัติว่าโลกก็มี  อยู่ ณ ที่นั้น ฯ

     [๗๖] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย  จักษุวิญญาณ
ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
ไม่มี ณ ที่ใด โลก หรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ
                     จบสูตรที่ ๖
อรรถกถาสมิทธิสูตรที่  ๖
            ในสมิทธิสูตรที่  ๖  มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
            บทว่า  โลโก  ความว่า  ที่ชื่อว่า โลก  เพราะอรรถว่า  แตกทำลาย.
ในสูตรทั้ง  ๕ ตั้งแต่สูตรที่พระมิคชาลเถระอาราธนา  ตรัสเฉพาะวัฏฏะและ
วิวัฏฏะเท่านั้น  
ด้วยประการฉะนี้.
                                       จบ  อรรถกถาสมิทธิสูตรที่  ๖

  ว่าด้วยมารเสนา
     [๑๓๔] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความว่า มารเสนาเรียกว่า
เสนา กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ อภิสังขารคือ
อกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่ามารเสนา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
           กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑ ของท่าน
          ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๒ ของท่าน
           ความหิวกระหาย เรากล่าวว่า  เป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน
          ตัณหา เรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน
          ความง่วงเพราะหาวนอน เรากล่าวว่า ป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน
           ความขลาดเรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๖ ของท่าน
          ความลังเลใจ เรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๗ ของท่าน
           ความลบหลู่และความกระด้าง เรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๘ ของท่าน
           ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศที่ได้โดยทางผิด เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๙ ของท่าน
           ความยกตนและข่มผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๑๐ ของท่าน
ดูกรพระยามาร เสนาของท่านเหล่านี้ เป็นผู้มีปกติกำจัด  ผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะเสนานั้นได้
           ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้สุข ดังนี้.
          
     เมื่อใด มารเสนาทั้งหมดและกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันบุคคลผู้มีปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดินนั้นชนะแล้ว ให้แพ้แล้ว ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วย

อริยมรรค ๔ (อริยสัจสี่)เมื่อนั้นบุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา.
บุคคลนั้นเป็นผู้กำจัดเสนาในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ อารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในรูป
ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง.
[๑๓๕] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย มีความว่า ซึ่งบุคคล
นั้นนั่นแหละ ผู้เห็นธรรมอันหมดจด เห็นธรรมอันหมดจดวิเศษ เห็นธรรมอันหมดจดรอบ
เห็นธรรมอันขาว เห็นธรรมอันขาวรอบ.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นอันหมดจด มีความเห็น
อันหมดจดวิเศษ มีความเห็นอันหมดจดรอบ มีความเห็นอันขาว มีความเห็นอันขาวรอบ. คำว่า
เปิดเผย มีความว่าเครื่องปิดบัง คือ ตัณหา กิเลส อวิชชา. ครื่องปิดบังเหล่านั้น อันบุคคลนั้น
เปิดเผยแล้ว กำจัดเลิกขึ้น เปิดขึ้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นเผาเสียแล้ว
ด้วยไฟ คือญาณ. คำว่าผู้ประพฤติ คือ ผู้ประพฤติ ผู้เที่ยวไป เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป
ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย.
[๑๓๖] คำว่า ใครๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด ... ด้วยกิเลสอะไรเล่า มีความว่า คำว่า
กำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑
ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความ
กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา
สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดบุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า เป็นผู้กำนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึง
ความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง. กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นอันบุคคล
นั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคล
นั้นด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์
เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็น
สัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็น
เครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนดแห่งใครๆ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก
มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ ในโลกนี้ พึง
กำหนด ... ด้วยกิเลสอะไรเล่า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
           บุคคลมีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
           ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ
           ในโลกนี้ พึงกำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย
           ด้วยกิเลสอะไรเล่า.
     [๑๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
           สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้อง
           หน้า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว
           สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำ
           ความหวังในที่ไหนๆ ในโลก.

1 ความคิดเห็น:

  1. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
    ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลก หรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น สาธุ ๆ ๆ

    ตอบลบ