หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย


พระเทวทัตผลักก้อนหิน หมายจะฆ่าพระพุทธองค์

พระเทวทัตส่งมาฆ่าพระพุทธองค์



สังฆเภท

     [๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า  สังฆเภท สังฆเภท
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
     ๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
     ๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
     ๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
     ๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย
     ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้
     ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัส  ภาษิตไว้
     ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมา
     ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้   ประพฤติมา
     ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
     ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
     ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
     ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
     ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
     ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
     ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
     ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
     ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
     ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
     พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมแยก ทำอุโบสถ แยก
ทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม
     ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว
                          สังฆสามัคคี
     [๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า  สังฆสามัคคี สังฆ
สามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
     ๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม
     ๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม
     ๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
     ๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
     ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้    ตรัสภาษิตไว้
     ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส   ภาษิตไว้
     ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต   มิได้ประพฤติมา
     ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต    ประพฤติมาแล้ว
     ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้
     ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
     ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
     ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
     ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
     ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
     ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
     ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
     ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
     ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
     พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมไม่  แยกทำอุโบสถ
ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม
     ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ
     [๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียง
กันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผล
ชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ


                              นิคมคาถา
     [๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป
     ภิกษุผู้ยินดีในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจาก
     ธรรมอันเกษมจากโยคะ(นิพพาน) ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว
     ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ
     [๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่ แตกกันแล้วให้
พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้  พร้อมเพรียงกัน
ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป

นิคมคาถา
     [๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งสุข และการ
     สนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีใน
     ความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษม
     จากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว  ย่อมบรรเทิง
     ในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ



                     ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย
     [๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำ  ลายสงฆ์ต้องเกิดใน
อบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป
ช่วยเหลือไม่ได้
     อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก
อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้
     พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ ชั่วกัป พอช่วย
เหลือได้  
     อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้ เป็นไฉน
     พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม
นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม   อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ
อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง    ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์
ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่   ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม  นั้นว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น   อำพรางความถูกใจ อำพรางความ
ชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย
จงจับสลากนี้ จงชอบ   ใจสลากนี้
 ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่ว  กัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม
มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง   ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ
อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ
สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก   อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรม  นั้นว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในการแตกกันว่าเป็นอธรรม ...
     ... มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีความสงสัยในความแตกกัน ...
     ... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น อธรรม ...
     ... มีความสงสัยในอธรรมนั้นมีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม ...
     ... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพราง ความเห็น อำพราง
ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อม   ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ  สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่   ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงสิ่งมิใช่ วินัยว่าเป็นวินัย
ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัส   ภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัส
ภาษิตไว้ ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดง
กรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า   เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงกรรมอันตถาคต
ประพฤติมาแล้ว  ว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติ
ไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตมิ  ได้บัญญัติ
ไว้ ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ย่อม    แสดงอาบัติเบาว่าเป็น
อาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา ย่อมแสดง อาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็น
อาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้   ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ย่อมแสดง
อาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม    มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นใน
ธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็น
อธรรม มี  ความสงสัยในความแตกกัน มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความ
แตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยใน  ความแตกกัน มีความ
สงสัยในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม   มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความ
เห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความสงสัย   ในธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน
อำพรางความเห็น อำพรางความถูก  ใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้
จับสลากว่า นี้ธรรมนี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่   ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
                        ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย
     [๔๑๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์  ไม่ต้องเกิดในอบาย
ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ เป็นไฉน
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงอธรรมว่า  เป็นธรรม
มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่า   เป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น
ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า
นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์   ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก  อยู่ชั่วกัป
พอช่วยเหลือได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงอาบัติชั่ว   หยาบว่าเป็นอาบัติ
ไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน  ความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่
อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพราง  ความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อม
ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย  นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจ
สลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก  อยู่ชั่วกัป
พอช่วยเหลือได้ ฯ
                        ตติยภาณวาร จบ
                    สงฆ์เภทขันธกะ ที่ ๗ จบ
            ______________________________
                    หัวข้อประจำขันธกะ
     [๔๑๓] เรื่องพระพุทธเจ้าประทับที่อนุปิยนิคม เรื่องศากยกุมารผู้มีชื่อเสียง เรื่องพระ
อนุรุทธะสุขุมาลชาติไม่ปรารถนาจะทรงผนวช เรื่องไถ หว่าน ไขน้ำ ถอน  หญ้า เกี่ยวข้าว ขนข้าว
ตั้งลอม นวดข้าว สงฟาง โปรยข้าวลีบ ขนขึ้นฉางเรื่องการงาน  ไม่สิ้นสุด มารดา บิดา ปู่ย่า
ตายาย ตายไปหมด เรื่องพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ   พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ
สำคัญพระองค์ว่าเป็นศากยะ เรื่องพระพุทธเจ้า   ประทับที่เมืองโกสัมพี เรื่องพระเทวทัตเสื่อมจาก
ฤทธิ์ เรื่องกักกุธะโกฬิยบุตรตาย   เรื่องประกาศพระเทวทัต เรื่องปลงพระชนม์พระชนก เรื่องส่ง
บุรุษ เรื่องกลิ้งศิลาเรื่องปล่อยช้างนาฬาคิรี เรื่องอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ เรื่องวัตถุ ๕
ประการ เรื่องทำลายสงฆ์มีโทษหนัก เรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์ เรื่องให้ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุ
 ผู้ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย เรื่ององค์ ๘ สามเรื่อง เรื่องอสัทธรรม ๓ ประการ เรื่องสังฆราชี
 เรื่องสังฆเภท ฯ
                              หัวข้อประจำขันธกะ จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น