หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผัสสายตนะ ๖

ฉฬวรรคที่ ๕
                      สังคัยหสูตรที่ ๑
     [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง
ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ  ๖ ประการเป็นไฉน คือ
จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่  ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่
คุ้มครอง ไม่ รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ

     [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี  คุ้มครองดี
รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้
      ผัสสายตนะ ๖เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ
ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุข
มากมาให้
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว ย่อม นำสุขมากมาให้
       พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ
     [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖
นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์  บุคคลเหล่า
ใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็น
เพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่  บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและ
เห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึง
เสียใจว่า รูปไม่น่ารัก ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยิน
เสียงที่น่ารักและเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง
บรรเทาโทสะในเสียงที่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่น่ารักของเรา
(เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจอันน่ายินดี
และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารักใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดใน
กลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่ พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อย
ล็กน้อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส ที่เป็นสุข
กระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า แล้ว ไม่พึงหวั่นไหว
ในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควร
ยินดี ไม่ควรยินร้ายเพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา
มีความ สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุให้
เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่
ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่
ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา ใจให้ประกอบด้วย
เนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาล
นั้น จิตของบุคคลนั้นอันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวใน
ที่ไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ
                     จบสูตรที่ ๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น