หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง , มารเสนา

 ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี ๒ อย่าง

     [๖๙๔] ชื่อว่าความติด ในคำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน  ย่อมไม่ติดในโลก ได้แก่ความ
ติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา
ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ มุนี(พระอรหันต์)นั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว
เพราะละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ จึงเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่เข้าไปติด
ย่อมไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก คือ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ออก สลัดออก
พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม
ไม่ติดในโลก
.
    คำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ความว่า บุคคลย่อมติเตียนได้ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
เพราะกระทำอย่าง ๑ เพราะไม่กระทำอย่าง ๑. บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่
กระทำอย่างไร? บุคคลย่อมติเตียนตนได้ว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต
เราไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต ฯลฯ เราทำมิจฉาทิฏฐิ
เราไม่ทำสัมมาทิฏฐิ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง
บุคคลย่อมติเตียนตนว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบความเพียรเป็น
เครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ
สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่
ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ละสมุทัย เรา
ไม่เจริญมรรค เราไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ
บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ
อย่างนี้ มุนีไม่กระทำกรรมเป็นเหตุ ติเตียนตน คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้
บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติเตียนตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้
ติเตียนตน ย่อมไม่ติดในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
 มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วย
           ความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้น
           ขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.
     [๖๙๕] มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่
           ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว
           ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาค
           ตรัสว่าดังนี้.
     [๖๙๖] มารเสนา เรียกว่า เสนา ในคำว่า มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง(จำไว้ใช้บ่อย)
คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ
โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่
ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ
ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ
เดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ชื่อว่ามารเสนา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
           กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑ ของท่าน
           ความไม่ยินดี เรา กล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๒ ของท่าน
           ความหิวกระหาย เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๓ ของท่าน
           ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๔ ของท่าน
           ความง่วงเหงาหาวนอน เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๕ ของท่าน
           ความขลาด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๖ ของท่าน
           ความลังเลใจ เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๗ ของท่าน
           ความลบลู่ ความกระด้าง เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๘ ของท่าน
           ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาโดยทางผิด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๙ ของท่าน
           ความยกตนและข่มคนอื่น เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑๐ ของท่าน
      ดูกรพระยามาร
           เสนาของท่านนี้ เป็นผู้มีปกติกำจัดบุคคลผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อม
           ไม่ชนะมารเสนานั้นได้ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อม
           ได้ความสุข ดังนี้.
เมื่อใด มารเสนาทั้งหมด และกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันมุนีชนะ
ให้พ่ายแพ้ ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค ๔(อริยสัจสี่) เมื่อนั้น มุนีนั้น
เรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนาแล้ว. มุนีนั้น กำจัดเสนาในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่
ทราบ ในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง
คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ.
(สรุป คือ ดับขันธ์ห้าได้หมด กองนามรูป(รูปกิเสล ธรรมารมณ์)ดับ วิญญาณดับนั้นคือสมุทัย สติ ปัญญา(โลกีย์)ดับด้วย)
                     

ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง

๖๙๗] ชื่อว่าภาระ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ได้แก่
ภาระ ๓ อย่างคือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑.
ขันธภาระเป็นไฉน?   รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าขันธภาระ.
กิเลสภาระเป็นไฉน? ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง นี้ชื่อว่ากิเลสภาระ.
อภิสังขารภาระเป็นไฉน? ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่าอภิสังขารภาระ
ขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้ง
ดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อใด เมื่อนั้น
มุนีนั้นเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว มีภาระตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อย
แล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีภาระระงับแล้ว


ว่าด้วยโมเนยยะ ๓ อย่าง

     คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น
ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไป
กำหนดเฉพาะ ความเป็นบันฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็น
เครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุลแผ่นดิน
ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว
ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญา
เป็นดังศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง
ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วย
๖๙๗] ชื่อว่าภาระ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ได้แก่
ภาระ ๓ อย่างคือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑.
    ขันธภาระเป็นไฉน?รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าขันธภาระ.
    กิเลสภาระเป็นไฉน? ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
    อกุสลาภิสังขารทั้งปวง นี้ชื่อว่ากิเลสภาระ.
     อภิสังขารภาระเป็นไฉน? ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่าอภิสังขารภาระ
ขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้ง
ดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อใด เมื่อนั้น
มุนีนั้นเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว มีภาระตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อย
แล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีภาระระงับแล้ว.
ชนเหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี (ยังต้องปฏิบัติอยู่ พระโสดาบัน ถึง อรหัตน์มรรค)
พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี
พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่ามุนิมุนี.
     สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
           บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นแต่ผู้เปล่า ไม่ใช่ผู้รู้
           ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคน
           ที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่ามุนีโดย
           เหตุนั้น บุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้นเรียกว่ามุนีโดยเหตุนั้น
           บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวงทั้ง
           ภายในและภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่า
           ข่ายดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าเป็น
           มุนี.
     คำว่า พ้นขาดแล้ว ความว่า จิตของมุนีพ้น พ้นขาด พ้นวิเศษดีแล้วจากราคะ
โทสะ โมหะ ฯลฯ
 อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว
พ้นขาดแล้ว.
     [๖๙๘] ชื่อว่าความกำหนด ในคำว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ
ปรารถนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วย
ตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ
กำหนดด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะ
เป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา
หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด. คำว่า ไม่เข้าไปยินดี ความว่า พาลปุถุชนทั้งปวง ย่อม
กำหนด พระเสขะ ๗ จำพวกรวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมยินดี ยินดียิ่ง ยินดียิ่งเฉพาะ เพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ส่วน
พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม. (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรค)
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ่มแจ้งซึ่งอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วย
การทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
           มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน
           ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มี
           ความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาค
           ตรัสว่า ดังนี้ ฉะนี้แล.
                   จบมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓.
                       --------------
                      ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔
     [๖๙๙] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า)
           ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ผู้สงัด มีสันติบท
           แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว จึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไร
           ในโลก ย่อมดับ.
                     ว่าด้วยปุจฉามี ๓ อย่าง
     [๗๐๐] ชื่อว่าปุจฉา ในคำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ปุจฉามี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑.
     อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะใดที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พิจารณา ไม่เทียบเคียง
ไม่กระจ่าง ไม่แจ่มแจ้งโดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อจะรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อ
เทียบเคียง เพื่อกระจ่าง เพื่อแจ่มแจ้ง ซึ่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
     ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะใดที่รู้ เห็น พิจารณา เทียบเคียง กระจ่าง
แจ่มแจ้งแล้วโดยปกติ บุคคลย่อมถามเพื่อต้องการสอบสวนลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่นๆ นี้ชื่อว่า
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.
     วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลเป็นผู้เล่นไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยเป็นสองทาง
ว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ หรือไม่เป็นอย่างนี้ เป็นอะไรหนอ หรือเป็นอย่างไร บุคคลนั้นถาม
ปัญหาเพื่อต้องการตัดความเคลือบแคลงสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา. ปุจฉามี ๓ อย่างนี้.
     ปุจฉาอีก ๓ อย่าง คือ มนุสสปุจฉา ๑ อมนุสสปุจฉา ๑ นิมมิตปุจฉา ๑.
     มนุสสปุจฉาเป็นไฉน? มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อม
ทูลถามปัญหา คือ พวกภิกษุย่อมทูลถาม พวกภิกษุณีย่อมทูลถาม พวกอุบาสกย่อมทูลถาม
พวกอุบาสิกาย่อมทูลถาม พระราชาย่อมทูลถาม กษัตริย์ย่อมทูลถาม พราหมณ์ย่อมทูลถาม
แพศย์ย่อมทูลถาม ศูทรย่อมทูลถาม คฤหัสถ์ย่อมทูลถาม บรรพชิตย่อมทูลถาม นี้ชื่อว่า
มนุสสปุจฉา.
     อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน? พวกอมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูล
ถามปัญหา คือ นาคย่อมทูลถาม ครุฑย่อมทูลถาม ยักษ์ย่อมทูลถาม อสูรย่อมทูลถาม คน
ธรรพ์ย่อมทูลถาม ท้าวมหาราชย่อมทูลถาม พระอินทร์ย่อมทูลถาม พรหมย่อมทูลถาม เทวดา
ย่อมทูลถาม นี้ชื่อว่า อมนุสสปุจฉา.
     นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคทรงนิรมิตพระพุทธรูปใด อันสำเร็จด้วยพระ
หฤทัย มีอวัยวะครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่วิการ พระพุทธนิมิตนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ผู้ตรัสรู้แล้ว ตรัสถามปัญหา พระผู้มีพระภาค ทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่า  นิมมิตปุจฉา. ปุจฉามี ๓
อย่างนี้.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ตน ๑ การถามถึงประโยชน์ผู้อื่น ๑ การ
ถามถึงประโยชน์ทั้งสองอย่าง ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ในภพนี้ ๑ การถามถึงประโยชน์ใน
ภพหน้า ๑ การถามถึงประโยชน์อย่างยิ่ง ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ไม่มีโทษ ๑ การถามถึงประโยชน์ไม่มี
กิเลส ๑ การถามถึงประโยชน์แห่งธรรมขาว ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงธรรมส่วนอดีต ๑ การถามถึงธรรมส่วนอนาคต ๑
การถามถึงธรรมส่วนปัจจุบัน ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงธรรมเป็นภายใน ๑ การถามถึงธรรมเป็นภาย
นอก ๑ การถามถึงธรรมทั้งเป็นภายในและภายนอก ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงกุศลธรรม ๑ การถามถึงอกุศลธรรม ๑ การ
ถามถึงอัพยากตธรรม ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงขันธ์ ๑ การถามถึงธาตุ ๑ การถามถึงอายตนะ ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงสติปัฏฐาน ๑ การถามถึงสัมมัปปธาน ๑ การ
ถามถึงอิทธิบาท ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงอินทรีย์ ๑ การถามถึงพละ ๑ การถามถึง
โพชฌงค์ ๑.
     ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงมรรค ๑ การถามถึงผล ๑ การถามถึงนิพพาน ๑.
     คำว่า ขอทูลถามพระองค์ ความว่า ขอทูลถาม ขออ้อนวอน ขอเชื้อเชิญ ขอ
วิงวอนว่า ขอได้โปรดตรัสบอกธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถาม
พระองค์.
     คำว่า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า พระสุริยะ เรียกว่า พระอาทิตย์. พระ
อาทิตย์เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระผู้มีพระภาค ก็เป็นโคดมโดยพระโคตร. พระผู้มีพระภาค
ผู้ปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้า
เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์.
                      ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
     [๗๐๑] ชื่อว่า วิเวก ในคำว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่ดังนี้ วิเวกมี
๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑ จิตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑.
     กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า
โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่
เธอเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว
นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว อธิษฐาน จงกรมผู้เดียว ผู้เดียวเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ ผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
     จิตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุบรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มี
จิตสงัดจากวิตกวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุข
และทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตต
สัญญา บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญ
จัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มี
จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นพระโสดาบัน มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน
กับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น เป็นพระสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค
สังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กาม
ราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียดๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์
เป็นต้นนั้น เป็นพระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น
และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า จิตวิเวก.
     อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า อุปธิ. อมตนิพพาน
เรียกว่าอุปธิวิเวก. ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น
ตัณหา เป็นที่สำรอกตัณหา เป็นที่ดับตัณหา เป็นที่ออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า
อุปธิวิเวก.
     ก็กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตวิเวก ย่อมมีแก่
บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมด
อุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.
     คำว่า สันติ ได้แก่สันตบ้าง สันติบทบ้าง โดยอาการอย่างเดียวกัน ก็สันติบทนั้น
นั่นแล คือ อมตนิพพาน ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง .... เป็นที่ออกจากตัณหาเครื่อง
ร้อยรัด. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บทใด คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ....
เป็นที่ออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด บทนั้น เป็นความสงบ เป็นธรรมชาติประณีต. อีกอย่างหนึ่ง
โดยอาการอื่น ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อ
ทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าสันติบท บทสงบ ตาณบท บทที่
ต้านทาน เลณบท บทที่ซ่อนเร้น สรณบท บทที่พึ่ง อภยบท บทไม่มีภัย อัจจุตบท บท
ไม่เคลื่อน อมตบท บทไม่ตาย นิพพานบท บทดับตัณหา.
     คำว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหาคุณใหญ่ คือ ทรง
แสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ สมาธิขันธ์ใหญ่ ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
     พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความทำลายกองมืดใหญ่ ความ
ทำลายวิปลาสใหญ่ ความถอนลูกศร คือ ตัณหาใหญ่ ความปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่ ความ
กำจัดธงคือมานะใหญ่ ความระงับอภิสังขารใหญ่ ความปิดกั้นโอฆะใหญ่ ความปลงภาระใหญ่
ความตัดสังสารวัฏใหญ่ ความดับความเดือดร้อนใหญ่ ความระงับความเร่าร้อนใหญ่ ความยก
ขึ้นซึ่งธงคือธรรมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
     พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อมตนิพพานเป็นปรมัตถ์
ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
     อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้อันสัตว์ทั้งหลายที่มีศักดิ์มาก แสวงหา เสาะหา
ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าเป็นเทวดา
ยิ่งกว่าเทวดาประทับอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่.
     [๗๐๒] คำว่า ภิกษุเห็นแล้วอย่างไร .... ย่อมดับ ความว่า ภิกษุเห็น พบ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งอย่างไร จึงดับ สงบ เข้าไปสงบ เข้าไป
สงบวิเศษ ระงับ ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตี
เสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความ
ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวาย
ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงของตน. คำว่า
ภิกษุ คือ ภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชนหรือภิกษุที่เป็นเสขบุคคล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเห็น
อย่างไรแล้ว .... ย่อมดับ.
     [๗๐๓] คำว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ความว่า ไม่ถือมั่น ไม่ยึด ไม่จับ
ต้องด้วยอุปาทาน ๔. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุ
โลก อายตนโลก. คำว่า สังขารอะไร คือ สังขารอะไร ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก. เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิต
นั้นจึงตรัสถามว่า
          ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้สงัด มีสันติบท
          แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้วจึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรใน
          โลก ย่อมดับ.
     [๗๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลส
           ที่เป็นรากเง่าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะด้วยปัญญา
           ก็ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อ
           กำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น