หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อาหาร ๔ นามรูป วิญญาณ อัฏฐังคิกมรรค(รวมธรรมฝ่ายกุศล)


๔. อัตถิราคสูตร
[๒๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเพื่อความดำรงอยู่ของสัตวโลกที่เกิดมาแล้ว เพื่ออนุเคราะห์
แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔อย่างนั้น คือ ๑ กวฬีการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
๒ ผัสสาหาร ๓ มโนสัญเจตนาหาร ๔ วิญญาณาหาร อาหาร ๔ อย่างนี้แล เพื่อความดำรงอยู่
ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก (ตัณหา)มีอยู่ใน
กวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในกวฬีการาหารนั้นในที่ใด วิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ใน
ที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป(รูปกิเลส) ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความ
เจริญแห่งสังขาร(ความคิด)ทั้งหลาย ในที่ใด  มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดใน
ภพใหม่ต่อไป ในที่ใด มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด
มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่ามีความโศก มีธุลี (คือราคะ) มีความคับแค้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน(นันทิ) ความทยานอยาก(ตัณหา)มีอยู่ในผัสสาหารไซร้ ... ถ้าความ
ยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้ ... ถ้าความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความทยานอยากมีอยู่ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่(วิญญาณฐิติ)อกงามในวิญญาณาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด มีการ
หยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่ง
สังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่ามีความโศก
มีธุลี มีความคับแค้น ฯ
ปฏิจจสมุปบาท :อวิชชา สังขาร (ความคิด)วิญญาณ(จิต)<<จุดดับ>> นามรูป(รูปกิเลส) สฬายตนะ(รูป) ผัสสะ เวทนา >>>จุดตัดที่นี่X ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ( ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ อุปายะ >>> คือเสวยทุกข์แล้ว)
(อธิบาย เพิ่ม วิญญาณ คือหนึ่งอาหาร ๔ สฬายตนะ คือ รูป หรือหทัยทวาร สังขาร +วิญญาน = จิตตสังขาร )

[๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีน้ำย้อม ครั่ง ขมิ้น สีเขียวหรือสีบานเย็น ช่าง
ย้อมหรือช่างเขียนพึงเขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษให้มีอวัยวะน้อยใหญ่ได้ครบถ้วนที่แผ่นหินขาว แผ่น
กระดาน ฝาผนัง หรือที่ผืนผ้า(สังขาร ปรุงแต่งจิต หรือวิญญาณ นามรูปก็เกิดพร้อม) แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน (นันทิ)ความทยานอยาก(ตัณหา) มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ ตั้งอยู่งอกงามในกวฬีการาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่
ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่ามี
ความโศก มีธุลี มีความคับแค้น (โสกะ ปริเทวะ อุปายะ)
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน(ในเวทนา) ความทยานอยาก มีอยู่ในผัสสาหารไซร้ ... ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้ ... ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก มีอยู่ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใด มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใด มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด
มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น ฯ
(วรรคสุดท้ายท่านเน้นที่มโนทวาร ให้ท่านสังเกตุ ลักษณะการแสดงธรรมจะปิดด้วย มโนทวาร)
๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก ไม่มี
อยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในกวฬีการาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณไม่
ตั้งอยู่ไม่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป
 ในที่นั้น ย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใด ไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
ในที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใด ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น
ย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด ไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่าไม่มีความโศก
ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น ฯ
  ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก ไม่มีในผัสสาหาร ...
ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ... ไม่มีในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในอาหารนั้น
 ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงาม ในที่นั้นย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด ไม่มี
การหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใด ไม่มีความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมไม่มีความเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใด ไม่มีความเกิด
ในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด ไม่มีชาติชรามรณะต่อไป
ภิกษุทั้งหลายเราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น ฯ


[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรือนยอด[ปราสาท] หรือศาลา
มีสองยอด หน้าต่างด้านทิศตะวันออก อันบุคคลเปิดไปทางเหนือหรือทางใต้ เมื่อพระอาทิตย์
ขึ้นไปแสงสว่างส่องเข้าไปทางหน้าต่าง จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
<<(รูป กระทบ อายตนะ (ตา)จักษุวิญญาณ/นามรูป) รูป= มหาภูตรูปสี่ นาม=ความดำริ ความจงใจ ความครุ่นคิด เอาปัจจัยคือ นามรูปออกไป หรือไม่มีนามรูป  รูปกิเสล ธรรมารมณ์  ความหมายเดียวกัน สังขารปรุงแต่งวิญญาณไม่ได้  เพราะความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก ไม่มี   เมื่อปัจจัยไม่ครบขันธ์ทั้งห้าก็ไม่เกิด คือการประชุมพร้อมของธาตุ ๓  (รูป+ อายตนะภายใน + วิญญาณ)เพื่อที่จะเกิดเป็น >>ผัสสะ >>เวทนา >>ตัณหา >>อุปาทาน>>ภพ >>ชาติ >>ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ
อุปายสะ  ตัวทุกข์ >>

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาด้านตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ที่แผ่นดิน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแผ่นดินไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ที่น้ำ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ไม่ตั้งอยู่เลย พระเจ้าข้า ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน   ความทะยาน
อยาก ไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ ... ในผัสสาหารไซร้ ... ในมโนสัญเจตนาหารไซร้ ... ในวิญญาณา
หารไซร้  วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอก
งาม ในที่นั้น ย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น
ย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใด ไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น
ย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใด ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป  ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติ
ชรามรณะต่อไป ในที่ใด ไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่าไม่มีความโศก ไม่มีธุลี
ไม่มีความคับแค้น ฯ
จบสูตรที่ ๔
(อธิบาย ปัจจัย การเกิดวิญญาณตั้งมั่น /หยั่งลงนามรูป เพราะ ความยินดี ความเพลิน ความทะยานอยาก จึงมีสังขาร ภพ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ นี่คือความเกิดของทุกข์ทั้งปวง)

(หัวข้อต่อไปท่านเน้นที่ มโนหรือใจ จิต หทัย ที่เดียว)


 ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน  ตามความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์(รูป)
ตามความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ  ตามความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส  ตาม
ความเป็นจริง  เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวย  อารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
ก็ตาม (เวทนา) ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย  ตามความเป็นจริง  ย่อมไม่กำหนัดในมโน 
ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์  ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ  ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส  ไม่กำหนัด(เวทนา)
ในความเสวยอารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม  ที่  เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย  ตามความเป็นจริง  เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว  ไม่ประกอบพร้อมแล้ว  ไม่ลุ่มหลง
เล็งเห็นโทษอยู่  ย่อมมีอุปาทานขันธ์  ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป  และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่
ภพใหม่  สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี  อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ
ได้จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย  แม้ทางใจได้  จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย  แม้ทาง
ใจได้  จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย  แม้ทางใจได้  เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง  สุขทางใจบ้าง
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว  มีความเห็นอันใดความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ  มีความดำริอัน
ใด  ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ  มีความพยายามอันใด  ความพยายามอันนั้นย่อมเป็น
สัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด  ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ  มีความตั้งใจอันใด  ความ
ตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ  ส่วนกายกรรม  วจีกรรม  อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้อง
ต้นเทียว (สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ) ด้วยอาการอย่างนี้ 
เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์  ฯ
[๘๖๕]  ดูกรอานนท์  เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของ
พระอริยะ  แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่  แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว  ด้วยประการ
ฉะนี้แล  ดูกรอานนท์  กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความ
อนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจนั้น  เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ  ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้
 นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลาย  จงเพ่งฌาน  อย่าได้ประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้
เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคฉะนี้แล  ฯ
                    จบ  อินทรียภาวนาสูตร  ที่  ๑๐
                    จบ  สฬายตนวรรค  ที่  ๕

(เน้นคำว่า เพ่งฌาน ที่มโนทวาร หรือหทัยประสาท ตรงดั้งจมูกหัก เพื่อตัดกระแสตัณหา)
(การเจริญอินทรีย์ห้า มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ให้มีความแก่กล้า)
(เรากล่าวความแตกต่างอริยบุคคล คือความต่างของอินทรีย์)
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
[๑๐๓] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคว่า
กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ที่เป็นของเที่ยงย่อมไม่มี บุรุษผู้เกี่ยวข้องแล้ว
ผู้ประมาทแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ทั้งหลายอันมีอยู่ในหมู่
มนุษย์นี้ ไม่มาถึงนิพพานเป็นที่ไม่กลับมาแต่วัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ
เบญจขันธ์เกิดแต่ฉันทะทุกข์ก็เกิดแต่ฉันทะ เพราะกำจัดฉันทะเสีย
จึงกำจัดเบญจขันธ์ได้ เพราะกำจัดเบญจขันธ์ได้ จึงกำจัดทุกข์ได้
อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลกไม่เป็นกาม ความกำหนัดที่พร้อมไปด้วย
ความดำริเป็นกามของบุรุษ อารมณ์อันงามทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในโลก
อย่างนั้นนั่นแหละ บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมกำจัดฉันทะในอารมณ์
ทั้งหลายนั้นโดยแท้ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะเสีย พึง
ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสียทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ตกถึงบุคคลนั้น ผู้ไม่
เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ขีณาสวภิกษุละ
บัญญัติเสียแล้ว ไม่ติดมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้
พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์
ทั้งหลายก็ดี ในสถานเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดีเที่ยวค้นหา ก็
ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มี
ตัณหา ฯ

[๑๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาทั้งหลายนี้ว่า
ใครๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟังส่วนเดียว บุคคล
ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจากเครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทา(มรรค)
อันมั่นคงนี้บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทราบความเป็นไปของโลกแล้วรู้
แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องในโลกแล้วย่อมไม่
พูดโดยแท้ ฯ
[๑๑๓] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้
ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่าศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หากว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ไม่ตั้งอยู่ แต่นั้นบริวารยศและเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้นอนึ่ง เขานั้นละทิ้งสรีระแล้ว
ก็ไปสู่สวรรค์ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะเสีย พึงล่วง
สังโยชน์ทั้งปวงเสียกิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยวบุคคล
นั้น ผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ฯ
 สกลิกสูตรที่ ๘
     [๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในสวนมัททกุจฉิ   เขตพระนคร
ราชคฤห์ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ด หินกระทบแล้ว ได้ยินว่า
 เวทนาทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคมาก เป็นความลำบากมีในพระสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ได้ยินว่า   พระผู้มีพระภาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลาย
 ไม่ทรงเดือดร้อน ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาส
โดยพระปรัสเบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่
    [๑๓๐] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
ท่านทั้งหลายจงดูสมาธิที่พระสมณโคดมให้เจริญดีแล้ว อนึ่ง จิตพระสมณโคดมให้พ้นดีแล้ว
อนึ่ง จิตเป็นไปตามราคะ พระสมณโคดมไม่ให้น้อม   ไปเฉพาะแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามโทสะ
 พระสมณโคดมไม่ให้กลับมาแล้ว  อนึ่ง จิตพระสมณโคดม หาต้องตั้งใจข่ม ต้องคอยห้ามกันไม่
บุคคลใดพึงสำคัญ พระสมณโคดมผู้เป็นบุรุษนาค เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษ
องอาจเป็นบุรุษใฝ่ธุระ เป็นบุรุษฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่าเป็นผู้อันตนพึงล่วงเกิน บุคคลนั้น  จะเป็น
อะไรนอกจากไม่มีตา ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น