หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พุทธสุภาษิต

ลกกามคุณสูตรที่ ๑
[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่าที่สุดของโลกอัน
บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำ
ที่สุดทุกข์

ข้าพระองค์อยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติแลเป็นส่วนมากในบัดนี้  ฯ
  ๙. วัชชีปุตตเถรคาถา
               สุภาษิตเตือนให้ปฏิบัติธรรม
    [๒๕๖] ดูกรอานนท์ผู้โคตมโคตร ท่านจงเข้าไปสู่ชัฏแห่งโคนไม้ จงหน่วงนิพพาน
        ไว้ในหทัยแล้วจงเพ่งฌาน และอย่าประมาท การใส่ใจถึงประชุมชน จักทำ
        ประโยชน์อะไรให้แก่ท่านได้.
             ๔. โสมมิตตเถรคาถา
              สุภาษิตชี้โทษความเกียจคร้าน
    [๒๗๑] เต่าตาบอดเกาะขอนไม้เล็กๆ จมลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตร
        อาศัยคนเกียจคร้านดำรงชีพ ย่อมจมลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
        บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้านผู้มีความเพียรเลวทรามเสีย ควรอยู่ร่วมกับ
        บัณฑิตทั้งหลายผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้เพ่งฌาน มีความเพียร
        อันปรารภแล้วเป็นนิตย์.

 สุภาษิตเย้ยตัณหา
    [๒๘๙] เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหา
        นายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้น
        ชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือน
        บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลส
        ของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน
        เราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพ
        นี้เอง

๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา
            สุภาษิตเกี่ยวกับการรู้เห็นเบญจขันธ์
    [๒๕๗] เบญจขันธ์ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ตั้งอยู่ ข้าพระองค์
        บรรลุถึงความสิ้นทุกข์แล้ว บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.
          ทุกนิบาต
              เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๑
         ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในทุกนิบาต วรรคที่ ๑
                  ๑. อุตตรเถรคาถา
                  สุภาษิตชี้โทษของภพ
    [๒๕๘] ได้ยินว่า ท่านพระอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาไว้ ๒ คาถาอย่างนี้ว่า ภพอะไร
        ที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและ
        เวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัด
        ตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.
              ๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
               สุภาษิตชี้ทางดำเนินชีวิตที่ถูก
    [๒๕๙] ได้ยินว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถาไว้ ๒ คาถาอย่างนี้ว่า
        ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควร อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ
        เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหาร
        โดยทางที่ชอบ นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการไหว้
        การบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด
        ถอนขึ้นได้ยาก สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก.
                  ๓. วัลลิยเถรคาถา
                  สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต
    [๒๖๐] วานรเข้าไปอยู่ในกระท่อมมีประตู ๕ ประตู พยายามเวียนเข้าออกทาง
        ประตูนั้นเนืองๆ จงหยุดนิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับ
        เจ้าไว้ได้ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ.(กระท่อมคือกาย มี ห้าทวาร วานร คือ รูป ลิง คือจิต)
  ๘. สุราธเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    [๒๖๕] ชาติของเราสิ้นแล้ว คำสั่งสอนของพระชินเจ้าเราอยู่จบแล้ว ข่าย คือ
        ทิฏฐิและอวิชชาเราละได้แล้ว ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพเราถอนได้แล้ว
        เราออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว
        ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงเราก็ได้บรรลุแล้ว.

    สุภาษิตชี้โทษของกาม
    [๒๙๑] อุบาสกทั้งหลายผู้ทรงธรรมกล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เราได้เห็นแล้ว
        อุบาสกเหล่านั้นเป็นผู้กำหนัด รักใคร่ห่วงใยในแก้วมณี บุตรธิดา และ
        ภรรยา เราได้เห็นแล้ว เพราะอุบาสกเหล่านั้น ไม่รู้ธรรมในพระพุทธ
        ศาสนานี้แน่แท้ แม้ถึงอย่างนั้นก็ได้กล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง แต่
        กำลังญาณเพื่อจะตัดราคะของอุบาสกเหล่านั้น ไม่มี เพราะฉะนั้น อุบาสก
        เหล่านั้นจึงติดอยู่ในบุตรภรรยาและในทรัพย์.
               ๕. สัมพหุลกัจจานเถรคาถา
                สุภาษิตเกี่ยวกับผู้รักสงบ
    [๒๙๒] ฝนก็ตก ฟ้าก็กระหึ่ม เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่คนเดียว เมื่อเราอยู่ในถ้ำ
        อันน่ากลัวคนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว หรือขนลุก
        ขนพองมิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่ผู้เดียว ไม่มีความกลัว
        หรือสะดุ้งหวาดเสียวนี้ เป็นธรรมดาของเรา.
                  ๖. ขิตณเถรคาถา
               สุภาษิตแสดงผลการอบรมจิต
    [๒๙๓] จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็น
        ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
        ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน จิตของเราตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา จิตของเราไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
        ความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เราอบรม
        จิตได้แล้วอย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงเราแต่ที่ไหนๆ
              ๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
             สุภาษิตแสดงการไม่ยอมแพ้กิเลส
    [๒๙๔] ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรีเพื่อจะหลับ
        โดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้ง ปรารถนาแล้วเพื่อประกอบ
        ความเพียร.
    ครั้นพระโสณะได้ฟังดังนั้นก็สลดใจ ยังหิริและโอตตัปปะให้เข้าไปตั้งไว้แล้ว อธิษฐาน
 อัพโภคาสิกังคธุดงค์ กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาที่ ๒ นี้ว่า
        ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกลงจากคอช้าง เราตายเสียในสงครามประเสริฐ
        กว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร.

                ๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญพระรัตนตรัย
    [๒๙๘] น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระคุณสมบัติของพระศาสดา
        ของเราทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยประพฤติพรหมจรรย์ของพระสาวกผู้จัก
        ทำให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ พระสาวกเหล่าใดเป็นผู้ยังไม่ปราศจากขันธ์ ๕
        ในอสังไขยกัป พระกุมารกัสสปนี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น
        ร่างกายนี้มีในที่สุด สงสารคือการเกิดการตายมีในที่สุด บัดนี้ ภพใหม่
        ไม่มี.
   ๕. สุนาคเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
    [๒๒๒] ผู้ฉลาดในการถือเอา ซึ่งนิมิตแห่งภาวนาจิตเสวยรสแห่งวิเวก เพ่งฌาน
        ฉลาดในการรักษากัมมัฏฐาน มีสติตั้งมั่น พึงบรรลุนิรามิสสุขอย่าง
        แน่นอน.
                  ๖. นาคิตเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับทางไปนิพพาน
    [๒๒๓] ในลัทธิแห่งเดียรถีร์ภายนอกพระศาสนานี้ ย่อมไม่มีทางไปสู่นิพพาน
        เหมือนอริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นบรมครู ทรงพร่ำ
        สอนภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เอง เหมือนดังทรงแสดงผลมะขามป้อมในฝ่า
        พระหัตถ์ ฉะนั้น.
                  ๗. ปวิฏฐเถรคาถา
             สุภาษิตเกี่ยวกับการเห็นเบญจขันธ์
    [๒๒๔] เราเห็นเบญจขันธ์ตามความจริงได้แล้ว ทำลายภพทั้งปวงได้แล้ว ชาติ
        สงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
                   ๘. อัชชุนคาถา
             สุภาษิตเกี่ยวกับการยกคนพ้นกิเลส
    [๒๒๕] เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบกคือนิพพานได้ เหมือนคนที่ถูก
        ห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว ยกตนขึ้นจากน้ำฉะนั้น เราแทงตลอดสัจจะ
        ทั้งหลายแล้ว.
                 ๙. เทวสภเถรคาถา
               สุภาษิตเกี่ยวกับการพ้นกิเลส
    [๒๒๖] กามราคะเพียงดังเปือกต้ม และฉันทราคะเพียงดังหล่ม เราข้ามพ้นแล้ว
        เราเว้นทิฏฐิราคะเพียงดังบาดาลแล้ว เราพ้นจากโอฆะและกิเลสเครื่อง
        ร้อยกรอง ทั้งกำจัดมานะหมดสิ้นแล้ว.
  ๑๐. สามิทัตตเถรคาถา
            สุภาษิตเกี่ยวกับการรู้เห็นเบญจขันธ์
    [๒๒๗] เบญจขันธ์เรากำหนดรู้แล้ว (ทุกข์ให้กำหนดรู้)ตัดรากขาดแล้ว ตั้งอยู่ ชาติสงสารสิ้นแล้ว
        บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
            _____________________________________
          ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
         ๑. พระสมิติคุตตเถระ            ๒. พระกัสสปเถระ
         ๓. พระสีหเถระ                 ๔. พระนีตเถระ
         ๕. พระสุนาคเถระ               ๖. พระนาคิตเถระ
         ๗. พระปวิฏฐเถระ               ๘. พระอัชชุนเถระ
         ๙. พระเทวสภเถระ              ๑๐. พระสามิทัตตเถระ.
                    จบ วรรคที่ ๙
            เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๑๐
        ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๑๐
                 ๑. ปริปุณณกเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญรสพระธรรม
    [๒๒๘] สุธาโภชน์มีรสตั้งร้อย ที่เราบริโภคในวันนี้ ก็ไม่เหมือนอมตะที่เราได้
        บริโภค พระธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้โคดม ทรงเห็นซึ่งธรรมหาประมาณมิได้
        ทรงแสดงไว้แล้ว.
                  ๒. วิชยเถรคาถา
               สุภาษิตสรรเสริญผู้สิ้นอาสวะ
    [๒๒๙] ผู้ใดมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ติดอยู่ในอาหารมีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตต
        วิโมกข์เป็นโคจร รอยเท้าของผู้นั้นรู้ได้ยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนก
        ในอากาศ ฉะนั้น.
                  ๓. เอรกเถรคาถา
               สุภาษิตว่าด้วยโทษของกาม
    [๒๓๐] ดูกรเอรกะ กามเป็นทุกข์ กามไม่เป็นสุขเลย ผู้ใดใคร่กามผู้นั้นชื่อว่า
        ใคร่ทุกข์ ผู้ใดไม่ใคร่กาม ผู้นั้นชื่อว่าไม่ใคร่ทุกข์.
                 ๔. เมตตชิเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญพระพุทธองค์
    [๒๓๑] ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคศากยบุตร ผู้มีพระศิริพระองค์นั้น พระองค์
        ผู้ถึงแล้วซึ่งธรรมอันสูงสุด ได้ทรงแสดงอัครธรรมนี้ด้วยดี.
                 ๕. จักขุปาลเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับการไม่คบคนชั่ว
    [๒๓๒] เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว เดินทางไกลอยู่ เรายอมนอน
        (ตาย) ณ ที่นี้ จักไม่ไปกับเพื่อนผู้ร่วมทางอันลามก.
                ๖. ขัณฑสุมนเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญความเสียสละ
    [๒๓๓] เพราะเสียสละดอกไม้เพียงดอกเดียว เราได้รับการบำเรออยู่ในสวรรค์
        ถึง ๘๐ โกฏิปี ที่สุดได้บรรลุนิพพาน เพราะผลกรรมที่เหลือ.
                  ๗. ติสสเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญบาตรดินเผา
    [๒๓๔] เราได้สละภาชนะทองคำ มีน้ำหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ วิจิตรด้วยลวดลาย
        ตั้งร้อยชนิด มาถือเอาบาตรดิน นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่สองของเรา.
                  ๘. อภัยเถรคาถา
                 สุภาษิตชี้โทษรูปารมณ์
    [๒๓๕] เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็นที่รัก สติก็หลงลืม
        ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดีเสวยรูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
        ทั้งหลายย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ.
                  ๙. อุตติยเถรคาถา
                 สุภาษิตชี้โทษสัททารมณ์
    [๒๓๖] บุคคลได้สดับเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็นที่รัก สติก็หลงลืม
        ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดีเสวยสัททารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
        ทั้งหลายย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร.
                 ๑๐. เทวสภเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับความเพียรชอบ
    [๒๓๗] ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ประดับ
        ประดาด้วยดอกไม้ คือ วิมุติ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน.
                  __________________
          ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
    ๑. พระปริปุณณกเถระ            ๒. พระวิชยเถระ
    ๓. พระเอรกเถระ              ๔. พระเมตตชิเถระ
    ๕. พระจักขุปาลเถระ            ๖. พระขัณฑสุมนเถระ
    ๗. พระติสสเถระ               ๘. พระอภัยเถระ
    ๙. พระอุตติยเถระ              ๑๐. พระเทวสภเถระ
                   จบ วรรคที่ ๑๐
              ______________________________

2 ความคิดเห็น:

  1. สุภาษิตเกี่ยวกับการไม่คบคนชั่ว
    [๒๓๒] เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว เดินทางไกลอยู่ เรายอมนอน
    (ตาย) ณ ที่นี้ จักไม่ไปกับเพื่อนผู้ร่วมทางอันลามก สาธุ สาธุ สาธุ

    ตอบลบ
  2. ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกลงจากคอช้าง เราตายเสียในสงครามประเสริฐ
    กว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร. ถ้าว่าแล้วก็เด็ด ๆ ทุกประโยค ทุกวลีอย่างแท้จริงครับ แต่น่าเสียดายที่คนที่มีจิตใจดีจริง บริสุทธิ์จริงนั้นหายาก แต่ก็ยุติธรรมเพราะถ้าคนไม่ดีจริงก็ย่อมไม่คู่ควรในสิ่งวิเศษนี้ สาธุในพระธรรมครับผม

    ตอบลบ