หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ธรรมอันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด


        ๖.  ฉฉักกสูตร  (๑๔๘)



    [๘๑๐]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก  ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  พระผู้มี  พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราจัก
แสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย  อันไพเราะในเบื้องต้น  ในท่ามกลาง  ในที่สุด 
พร้อมทั้งอรรถทั้ง
พยัญชนะ  ประกาศ  พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง  คือ  ธรรมหมวดหก  ๖  หมวด  พวกเธอ
จงฟังธรรมนั้น  จงใส่ใจให้ดี  เราจักกล่าวต่อไป  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าชอบแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า  ฯ
    [๘๑๑]  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า  พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน  ๖  อายตนะ
ภายนอก  ๖  หมวดวิญญาณ  ๖  หมวดผัสสะ  ๖  หมวดเวทนา  ๖ หมวดตัณหา  ๖  ฯ
    [๘๑๒]  ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบอายตนะภายใน  ๖  นั่น  เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ได้แก่  อายตนะคือจักษุ  อายตนะคือโสตะ  อายตนะคือฆานะอายตนะคือชิวหา  อายตนะคือกาย
อายตนะคือมโน  ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบอายตนะภายใน  ๖  นั่น  เราอาศัยอายตนะดังนี้
กล่าวแล้ว  นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่  ๑  ฯ
    [๘๑๓]  ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบอายตนะภายนอก  ๖  นั่น  เราอาศัยอะไรกล่าว
แล้ว  ได้แก่  อายตนะคือรูป  อายตนะคือเสียง  อายตนะคือกลิ่นอายตนะคือรส  อายตนะคือ
โผฏฐัพพะ  อายตนะคือธรรมารมณ์  ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบอายตนะภายนอก  ๖  นั่น  เรา
อาศัยอายตนะดังนี้  กล่าวแล้ว  นี้ธรรมหมวดหก  หมวดที่  ๒  ฯ
    [๘๑๔]  ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบหมวดวิญญาณ  ๖  นั่น  เราอาศัย  อะไรกล่าวแล้ว
 คือ  บุคคลอาศัยจักษุและรูป  จึงเกิดจักษุวิญญาณ  อาศัยโสตะและเสียง  จึงเกิดโสตวิญญาณ
อาศัยฆานะและกลิ่น  จึงเกิดฆานวิญญาณ  อาศัยชิวหาและรส  จึงเกิดชิวหาวิญญาณ  อาศัยกาย
และโผฏฐัพพะ  จึงเกิดกายวิญญาณอาศัยมโนและธรรมารมณ์  จึงเกิดมโนวิญญาณ  ข้อที่เรา
กล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบ  หมวดวิญญาณ  ๖  นั่น  เราอาศัยวิญญาณดังนี้  กล่าวแล้ว  นี้ธรรมหมวดหก
หมวดที่  ๓  ฯ
    [๘๑๕]  ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบหมวดผัสสะ  ๖  นั่น  เราอาศัย  อะไรกล่าวแล้ว
คือ  บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  อาศัย
โสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  อาศัยฆานะและกลิ่น
เกิดฆานวิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ  ความประจวบ
ของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ  ความ  ประจวบของธรรม
ทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบหมวดผัสสะ  ๖นั่น  เราอาศัยผัสสะดังนี้
กล่าวแล้ว  นี้ธรรมหมวดหก  หมวดที่  ๔  ฯ
    [๘๑๖]  ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบหมวดเวทนา  ๖  นั่น  เราอาศัย  อะไรกล่าวแล้ว
 คือ  บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย  จึงมีเวทนา
    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ  ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ  ...
    อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ  ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ  ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  จึงมีเวทนา  ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบหมวด  เวทนา  ๖  นั่น  เราอาศัย
เวทนาดังนี้  กล่าวแล้ว  นี้ธรรมหมวดหก  หมวดที่  ๕  ฯ
    [๘๑๗]  ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึงทราบหมวดตัณหา  ๖  นั่น  เราอาศัย  อะไรกล่าวแล้ว
  คือ  บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย  จึงมีเวทนา  เพราะเวทนาเป็นปัจจัย  จึงมีตัณหา
    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ  ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ  ...
    อาศัยชิวหาและลิ้นเกิดชิวหาวิญญาณ  ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ  ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  จึงมีเวทนา  เพราะเวทนาเป็นปัจจัย  จึงมีตัณหาข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า  พึง
ทราบหมวดตัณหา  ๖  นั่น  เราอาศัยตัณหาดังนี้  กล่าวแล้ว  นี้ธรรมหมวดหก  หมวดที่  ๖  ฯ
    [๘๑๘]  ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า  จักษุเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  จักษุย่อมปรากฏแม้
ความเกิด  แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม  สิ่งนั้นต้องกล่าวได้
อย่างนี้ว่า  อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึง
ไม่ควร  ด้วยประการฉะนี้  จักษุจึง  เป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  รูปเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  รูปย่อมปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม 
ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม  สิ่งนั้น  ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า  อัตตาของ
เราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำของผู้ที่  กล่าวว่า  รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร  ด้วยประการ
ฉะนี้  จักษุจึงเป็นอนัตตา  รูปจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  จักษุวิญญาณเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  จักษุวิญญาณ  ย่อมปรากฏแม้
ความเกิด  แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความ  เสื่อม  สิ่งนั้นต้องกล่าวได้
อย่างนี้ว่า  อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็น
อัตตานั้น  จึงไม่ควร  ด้วยประการฉะนี้  จักษุจึง  เป็นอนัตตา  รูปจึงเป็นอนัตตา  จักษุวิญญาณจึง
เป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  จักษุสัมผัสเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  จักษุสัมผัสย่อมปรากฏแม้
ความเกิด  แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม  สิ่งนั้นต้องกล่าวได้
อย่างนี้ว่า  อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป  เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตา
นั้น  จึงไม่ควร  ด้วยประการฉะนี้  จักษุจึง  เป็นอนัตตา  รูปจึงเป็นอนัตตา  จักษุวิญญาณจึงเป็น
อนัตตา  จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  เวทนาเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  เวทนาย่อมปรากฏ  แม้ความเกิด
แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อมสิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า
อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำ  ของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา  นั้น  จึงไม่
ควร  ด้วยประการฉะนี้  จักษุจึงเป็นอนัตตา  รูปจึงเป็นอนัตตา  จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา  จักษุ
สัมผัสจึงเป็นอนัตตา  เวทนาจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  ตัณหาเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  ตัณหาย่อมปรากฏแม้  ความเกิด  แม้
ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม  สิ่ง  นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า
อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำของผู้ที่กล่าวว่า  ตัณหาเป็นอัตตานั้น  จึงไม่
ควร  ด้วยประการฉะนี้  จักษุจึงเป็นอนัตตา  รูปจึงเป็นอนัตตา  จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา  จักษุ
สัมผัสจึงเป็นอนัตตา  เวทนาจึงเป็นอนัตตา  ตัณหาจึงเป็นอนัตตา  ฯ
    [๘๑๙]  ผู้ใดกล่าวว่า  โสตะเป็นอัตตา  ...
    ผู้ใดกล่าวว่า  ฆานะเป็นอัตตา  ...
    ผู้ใดกล่าวว่า  ชิวหาเป็นอัตตา  ...
    ผู้ใดกล่าวว่า  กายเป็นอัตตา  ...
    ผู้ใดกล่าวว่า  มโนเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  มโนย่อมปรากฏแม้ความเกิด  แม้
ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม  สิ่ง  นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า
อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำของผู้ที่กล่าวว่า  มโนเป็นอัตตานั้น  จึงไม่ควร
ด้วยประการฉะนี้  มโนจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  ธรรมารมณ์เป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  ธรรมารมณ์ย่อม  ปรากฏแม้
ความเกิด  แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อมสิ่งนั้นต้องกล่าวได้
อย่างนี้ว่า  อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำ  ของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็น
อัตตา  นั้น  จึงไม่ควร  ด้วยประการฉะนี้  มโนจึงเป็นอนัตตา  ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา วิญญาณจึงเป็นอนัตตา ฯ
    ผู้ใดกล่าวว่า  มโนวิญญาณเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  มโนวิญญาณย่อมปรากฏแม้
ความเกิด  แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความ  เสื่อม  สิ่งนั้นต้องกล่าวได้
อย่างนี้ว่า  อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่า  มโนวิญญาณเป็น
อัตตา  นั้น  จึงไม่ควร  ด้วยประการฉะนี้  มโนจึงเป็นอนัตตา  ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา  มโน
วิญญาณจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  มโนสัมผัสเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  มโนสัมผัสย่อม  ปรากฏแม้
ความเกิด  แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม  สิ่งนั้นต้องกล่าว
ได้อย่างนี้ว่า  อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำของผู้ที่กล่าวว่า  มโนสัมผัสเป็น
อัตตา  นั้น  จึงไม่ควร  ด้วยประการฉะนี้มโนจึงเป็นอนัตตา  ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา  มโน
วิญญาณจึงเป็นอนัตตา  มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  เวทนาเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  เวทนาย่อมปรากฏแม้ความเกิด
แม้ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อมสิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า
อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำ  ของผู้ที่กล่าวว่า  เวทนาเป็นอัตตา  นั้น  จึงไม่
ควร  ด้วยประการฉะนี้  มโนจึงเป็นอนัตตา  ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา  มโนวิญญาณจึงเป็น
อนัตตา  มโนสัมผัสจึงเป็น  อนัตตา  เวทนาจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า  ตัณหาเป็นอัตตา  คำของผู้นั้นไม่ควร  ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด  แม้
ความเสื่อม  ก็สิ่งใดแล  ปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อมสิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า  อัตตา
ของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป  เพราะฉะนั้น  คำ  ของผู้ที่กล่าวว่า  ตัณหาเป็นอัตตา  นั้น  จึงไม่ควร
ด้วยประการฉะนี้  มโนจึงเป็นอนัตตา  ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา  มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา  เวทนาจึงเป็นอนัตตา  ตัณหาจึงเป็นอนัตตา  ฯ
    [๘๒๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ  ดังต่อไปนี้แล
บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นรูปว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา
นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า  นั่นของเรานั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นจักษุ
สัมผัสว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นเวทนาว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่น
อัตตาของเรา  เล็งเห็นตัณหาว่านั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นโสตะว่า  นั่น
ของเรา  ...  เล็งเห็นฆานะว่า  นั่นของเรา  ...  เล็งเห็นชิวหาว่า  นั่นของเรา  ...  เล็งเห็นกายว่า
นั่นของเรา  ...  เล็งเห็นมโนว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า
นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตา
ของเรา  เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นเวทนาว่า  นั่น
ของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  เล็งเห็นตัณหาว่า  นั่นของเรา  นั่นเรา  นั่นอัตตาของเรา  ฯ
    [๘๒๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ  ดังต่อไปนี้แล  บุคคล
เล็งเห็นจักษุว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเราเล็งเห็นรูปว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตา
ของเรา  เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นเวทนา
ว่า  นั่นไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นตัณหาว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่
เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นโสตะว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ...  เล็งเห็นฆานะว่า  นั่นไม่ใช่ ของ
เรา  ...  เล็งเห็นชิวหาว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ...  เล็งเห็นกายว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา...  เล็งเห็นมโนว่า
 นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่
เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นมโน  วิญญาณว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นเวทนาว่า  นั่น
ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา  เล็งเห็นตัณหาว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่
ใช่อัตตาของเรา  ฯ
    [๘๒๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบ
ของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ 
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์  เป็นสุขบ้าง
 เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง  เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมเพลิดเพลิน 
พูดถึง  ดำรง
อยู่ด้วยความติดใจ  จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่  อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมเศร้าโศก  ลำ
บาก  ร่ำไห้  คร่ำครวญ  ทุ่มอก  ถึงความหลงพร้อม  จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่  อันอทุกขมสุข
เวทนา ถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่ง
เวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ (ราคะ โมหะ(อวิชชา) โทสะ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้น
ยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา  ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา  ยังไม่ถอนอวิชชา
นุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา  ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย  และจักเป็นผู้กระทำที่
สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้  ฯ(คือต้องดับเวทนา สัญญา คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยโสตะและเสียง  เกิดโสตวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น  เกิดฆานวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยชิวหาและรส  เกิดชิวหาวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ  เกิดกายวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์  เกิดมโนวิญญาณ  ความประจวบ
ของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์  เป็นสุขบ้าง
เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง  เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมเพลิดเพลิน  พูดถึง
ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงมีราคานุสัย  นอนเนื่องอยู่  อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมเศร้าโศก
ลำบาก  ร่ำไห้  คร่ำครวญทุ่มอก  ถึงความหลงพร้อม  จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่  อันอทุกขม
สุขเวทนา  ถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ  และที่สลัดออก
แห่งเวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่  ดูกรภิกษุ  ทั้งหลาย  ข้อที่บุคคล
นั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา  ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา  ยังไม่ถอนอวิชชา
นุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา  ยังไม่ทำ  วิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย  แล้วจักเป็นผู้กระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน  ได้  นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้  ฯ
    [๘๒๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบของ
ธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์  เป็นสุขบ้าง  เป็น
ทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง  เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง
ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่  อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่
เศร้าโศก  ไม่ลำบากไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลงพร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัย
นอนเนื่องอยู่  อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ
และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย  นอนเนื่องอยู่  ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา  ถอน
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยโสตะและเสียง  เกิดโสตวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น  เกิดฆานวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยชิวหาและลิ้น  เกิดชิวหาวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ  เกิดกายวิญญาณ  ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์  เกิดมโนวิญญาณ  ความประจวบ
ของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์  เป็นสุขบ้าง
เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง  เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูด
ถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่  อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อม
ไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบากไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลงพร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัย
นอนเนื่องอยู่  อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป   คุณ
โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย  นอนเนื่องอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา
ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็น
ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ
    [๘๒๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อริยสาวกผู้สดับแล้ว  เห็นอยู่อย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักษุ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
สัมผัส  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง  ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น  ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส  ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ  ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่าย  แม้ในมโน
วิญญาณ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา   ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ตัณหา  เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด  เพราะคลายกำหนัด  จึงหลุดพ้น  เมื่อหลุดพ้นแล้ว  ย่อม
มีญาณรู้ว่า  หลุดพ้นแล้ว  และทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้
ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค  และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่  ภิกษุประมาณ  ๖๐  รูป
ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ  เพราะไม่ถือมั่นแล  ฯ
        จบ  ฉฉักกสูตร  ที่  ๖
        __________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น