ผมจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบ คำเทศนาของลป.สาวกโลกอุดรกับในพระไตรปิฏก ว่าเหมือนกัน เพื่อท้าทายให้พวกท่านได้พิสูจน์ว่า ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์จริงองค์เดียวในยุคปัจจุบัน
วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ว่าด้วยวิเวก ๓ ในระดับอริยบุคคล
ให้ท่านสังเกตุ จิตตวิเวก ว่า ชื่อ ฌานเหมือนในอนุปุพพวิหารเก้า ตอนปรินิพพาน มีรูปฌาน อรูปฌาน ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธ(อนุปาทิเสสนิพพาน)ท่านเว้นไว้ เพราะเป็นระดับอริยบุคคล ๔ จำพวก แล้วแต่อินทรีย์ ๕ ของใครจะแก่กล้า ให้ดูเรื่องอินทรีย์ ๕ ประกอบ
ว่าด้วยวิเวก ๓
[๒๒๙] คำว่า จะศึกษาในวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ คือ กายวิเวก ๑
จิตตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑.
กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า
โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ
เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ใน
ที่หลีกเร้นผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยว อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ
รักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน?
ภิกษุเข้าปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์
เข้าทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร
เข้าตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ
เข้าจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
เข้าอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา
เข้าอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา
ลำดับอริยบุคคล (ในระดับสัญญาเวทยิตนิโรธในการทรงสภาวะไว้ได้นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับความต่างของอินทรีย์ห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
(เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐา
นุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
เป็นพระสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่าง
หยาบๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
เป็นพระอนาคามีมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียดๆ
และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็น
พระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงใน
ภายนอก นี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.
อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตนิพพาน
เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา
ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.
ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมี
แก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมด
อุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร. (๑)- *
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แจ่มแจ้งมากครับ อยู่ในที่ไหนก็ให้อยู่แต่ผู้เดียว เด็ดเหลือเกินครับ สาธุ กับบทวิเวก ๓ ครับ
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบ