หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

การตรัสรู้ธรรมของพระสารีบุตร (อนุปุพพวิหาร ๙ )

 คำยืนยันการตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคลสมัยพุทธกาล
  1. คำปรินิพพานของพระอานนท์
  2. โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ธรรมเดียวกันคือ อนุปุพพวิหาร ๙
  3. ลำดับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
  4.  ลำดับการปรินิพพานของพระนางปชาบดีโคตรมี
  5. คำยืนยันของพระพุทธเจ้าว่าถ้ายังเข้าออกอนุโลม ปฏิโลม อนุปุพพวิหาร ๙   ไม่ได้ก็ยังไม่ได้ปฏิญานว่าเป็นสัมมาพระพุทธเจ้า
  6. คำสอนทั้งหมดล้วนมีอนุปาทานิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย คือ     สัญญาเวทยิตนิโรธ
  7. วิเวก ๓  กายวิเวก จิตตวิเวก(รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ เว้นสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่อด้วยอริยบุคคล ๔ จำพวก) อุปธิวิเวก คือ พระนิพพาน


 อนุปทวรรค
        ๑.  อนุปทสูตร  (๑๑๑)
    [๑๕๓]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถ  บิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ  ทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  ฯ
    [๑๕๔]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเป็นบัณฑิต  มี
ปัญญามาก  มีปัญญากว้างขวาง  มีปัญญาร่าเริง  มีปัญญาว่องไว  มีปัญญาเฉียบแหลม  มีปัญญา
ทำลายกิเลส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม  ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน 
ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น  เป็นดังต่อไปนี้  ฯ

   [๑๕๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในเรื่องนี้  สารีบุตรสงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม
 เข้าปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก  อยู่  ก็ธรรมในปฐมฌาน  คือ  วิตก  วิจาร  ปีติ
สุข  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ
อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้ง
ที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มี
แก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัด
ว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๕๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าทุติยฌานมีความผ่องใส
แห่งใจภายใน  มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะสงบวิตกและวิจาร  ไม่มีวิตก  ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ  อยู่  ก็ธรรมในทุติยฌาน  คือความผ่องใสแห่งใจภายใน  ปีติ  สุข
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม
เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย  เพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่  และเสวยสุขด้วยนามกาย(ใจ)  เข้าตติยฌานที่  พระอริยะเรียกเธอได้ว่า 
ผู้วางเฉย  มีสติ  อยู่  เป็นสุข  อยู่  ก็ธรรมในตติยฌานคือ  อุเบกขา  สุข  สติ  สัมปชัญญะ
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่
 และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มี
แล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมี
ธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก
  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์
 ไม่มีสุข  เพราะละสุข  ละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
 อยู่  ก็ธรรมในจตุตถฌาน  คือ  อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา  ความไม่คำนึงแห่งใจ  เพราะ
บริสุทธิ์แล้ว  สติบริสุทธิ์  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ
อธิโมกข์  วิริยะสติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอัน
สารีบุตร  รู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้
 เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลส
ไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน
ได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม  เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำ
เครื่องสลัดออกนั้น  ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
มนสิการว่า  อากาศไม่มีที่สุด  อยู่  พราะล่วงรูปสัญญาได้โดย  ประการทั้งปวง  เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาได้  เพราะไม่มนสิการ นานัตตสัญญา  ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน  คือ 
อากาสานัญจายตนสัญญา  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ สติ  อุเบกขามนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่
ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้
ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด  อยู่  ก็ธรรม
ในวิญญาณัญจายตนฌาน  คือ  วิญญาณัญจายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา
เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนด
ได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่าด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ
 มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๖๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า  ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง  อยู่  ก็ธรรม
ในอากิญจัญญายตนฌาน  คือ  อากิญจัญญายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา
วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตาม
ลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไปเธอไม่ยินดี  ไม่
ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำ
ให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความ
เห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่  เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว  พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว  แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า
  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่  เพราะเห็นด้วยปัญญา  อาสวะของเธอจึงเป็น
อันสิ้นไป  เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น  ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการ  นี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสืมไป
เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็น  ผู้ถึงความชำนาญ
 ถึงความสำเร็จ ในอริยศีล  ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา  ในอริยวิมุติ  ภิกษุรูปนั้นคือ  สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า  เป็นผู้ถึงความชำนาญ  ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ  ฯ
    [๑๖๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็นบุตรเป็นโอรส
ของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรมอันธรรมเนรมิต  เป็นธรรม
ทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง  ที่ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า
 เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต  เป็นธรรมทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรย่อม
ประกาศธรรมจักร  อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว  ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค  แล  ฯ
        จบ  อนุปทสูตร  ที่  ๑

๓.  สัปปุริสสูตร  (๑๑๓)มีข้อความทำนองเดียวกัน
๖.  อาเนญชสัปปายสูตร  (๑๐๖)
อา.  น่าอัศจรรย์จริง  พระพุทธเจ้าข้า  ไม่น่าเป็นไปได้  พระพุทธเจ้าข้า  อาศัยเหตุนี้
เป็นอันว่า  พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว  ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ  วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน  ฯ
    [๙๒]  พ.  ดูกรอานนท์  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้  ซึ่งกามทั้งที่มี
ในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งรูปทั้งที่มีใน
ภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งอาเนญชสัญญา
ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา  ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา  ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้  ซึ่งอมตะ
คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น  ดูกรอานนท์  ด้วยประการนี้แล  เราแสดงปฏิปทา
มีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
 เรา  แสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  อาศัยเหตุนี้  เป็น อันเรา
แสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ  คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว  ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดา
ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจ
นั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ  ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน 
อย่าประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์  ชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
          จบ  อาเนญชสัปปายสูตร  ที่  ๖
        _________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น