หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

อนุปาทาปรินิพพานสูตร

       อนุปาทาปรินิพพานสูตร 

     ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (คือ มรรค ๘)
[
๑๒๖ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ 
ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์ อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า 
     ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[
๑๒๗ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ

เธอ ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่
[๑๒๘ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉนข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็น ไฉนอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์  นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ 
นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง ชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้
           
จบ สูตรที่  

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ประวัติ หลวงปู่สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล

 ประวัติ หลวงปู่สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล 




หลวงปู่ เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น  ค่ำ เดือน  ปีเถาะ .๒๔๘๒ ที่บ้านสงเปลือยหมุ่  .หลุบ .เมือง.กาฬสินธุ์ บิดาชื่อ สมบูรณ์ มารดาชื่อ ที นามสกุล ดลอารมณ์ อุปสมบท  พัทธสีมาวัดชัยสุนทร.เมือง .กาฬสินธุ์ โดยพระครูโสภณสุตกิจ เจ้าคณะอำเภอเมืองเป็นอุปัชฌาย์ พระทองอินทร์ โกวิโท เป็นกรรมวาจาจารย์ พระระมัดศักดิ์ สิริธโร เป็นอนุสาวราจารย์ 

บวชได้  วันก็ไปเข้าวิปัสสนากับอาจารย์มหาพิมพ์หรือพระครูคลคณารักษ์ ที่วัดบ้านหนองริวหนัง.โคกเครือ .หนองกุงศรี .กาฬสินธุ์ ออกจากวัดหนองริวหนังก็ออกเดินธุดงค์ไปทางภาคเหนือเดินธุดงค์เรื่อยไปจนถึง .จันทบุรี ได้ไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าลึกสำนักสงฆ์เขาช่องลม .สองพี่น้อง.ท่าใหม่ .จันทบุรี ออกจากเขาช่องลมแล้วก็ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอ่างหิน อยู่ในตัวเมืองจันทบุรี แล้วออกเดินธุดงค์ไปจำพรรษา อยู่ที่สำนักสงฆ์ที่บ้านนาเบี้ย .นาทอ .ด่านซ้าย .เลย เป็นเวลา  ปี(.๒๕๒๙ – ๒๕๓๔ ) .ที่นี้ เมื่อคืนวันที่ ๒๖ เดือน พฤศจิกายน .๒๕๓๑ ตรงกับแรม  ค่ำเดือน ๑๒ ปีมะโรง หลวงปู่ได้บรรลุธรรมในขณะที่มีอายุได้ ๔๙ ปี 


หลังจากนั้นได้จาริกเผยแผ่ธรรมไปตามสถานที่ต่าง  ตามแต่จะมีผู้อาราธนานิมนต์ เช่น ในงานเข้าปริวาสกรรม และงานปฏิบัติธรรมตามที่ต่าง  


ต่อมาพ.๒๕๓๕ ได้กลับมาโปรดโยมที่วัดชัยสุนทร .เมือง .กาฬสินธุ์ .๒๕๓๖ จำพรรษาที่วัดบ่อสร้างพระอินทร์ .นาแก .นครพนม โดยการอาราธนานิมนต์พระมหาเชื้อ 


.๒๕๓๗ จำพรรษาที่วัดป่าศรีรัตนพุทธาราม .โคกหินแฮ่ .เรณูนคร .นครพนม ซึ่งที่นี้ เมื่อวันที่๒๗ กุมภาพันธ์ –  มีนาคม .๒๕๓๗ หลวงปู่ได้เป็นประธานจัดงานปริวาสกรรมเป็นครั้งแรกและครั้งที่ส่องที่วัดป่าอุทุมพร บ้านนามท่า .เรณูนคร .นครพนม ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม - มิถุนายน ในปีเดียวกัน และครั้งที่สามที่ บ้านโคกม่วง .โนนสัง .หนองบัวลำภู โดยมีหลวงพ่อสุดพุทธญาโณ เจ้าอาวาสวัดเขาทองนพคุณ อาราธนานิมนต์ 


.๒๕๓๘ – ๒๕๔๐ จำพรรษาที่วัดเขาทองนพคุณ (ภูเก้าบ้านตาดไฮ .โคกม่วง .โนนสัง.หนองบัวลำภู ในระหว่างนี้หลวงปู่ได้เป็นประธานจัดงานปริวาสกรรม ดังนี้ 


เดือนมีนาคม .๒๕๓๘ ที่วัดประตูทรงธรรม .วาปีปทุม .มหาสารคาม 


วันที่ ๑๙ – ๒๘ พฤษภาคม .๒๕๓๘ ที่สะโทยธรรมสถาน .วังสรรพรส .ขลุง .จันทบุรี 


วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ปีนี้หลวงปู่ได้แสดงธรรมที่อภิธรรมมูลนิธิวัดโพธิ์ ท่าเตียน (วัดพระเชตุพนกรุงเทพมหานคร และในปี .๒๕๓๙ 


ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงปู่ได้ประกาศตนเป็น “พระอรหันต์” ท่ามกลางคณะสงฆ์อำเภอโนนสัง เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม .๒๕๓๙ และเรียกองค์ท่านเองว่า “พระครูเทพโลกอุดรตัวจริง” 


วันที่  – ๑๘ กุมภาพันธ์ .๒๕๔๐ ที่ป่าช้าบ้านหนองจิก .หนองบัว .ศรีขรภูมิ .สุรินทร์ 


.๒๕๔๑ –๒๕๔๒ จำพรรษา ที่พักสงฆ์วัดเทพโลกอุดร บ้านซับกระทิงใต้ .หนองย่างเสือ .มวกเหล็ก .สระบุรี ในระหว่างนี้หลวงปู่ได้เป็นประธานจัดงานปริวาสกรรม ดังนี้ 


วันที่ ๓๐ มกราคม –  กุมภาพันธ์ .๒๕๔๑ ที่ป่าช้าบ้านนาน้อย .เหล่าพัฒนา .นาหว้า.นครพนม วันที่ ๒๕ มีนาคม –  เมษายน .๒๕๔๓ ที่ป่าช้าบ้านนาน้อย .เหล่าพัฒนา .นาหว้า.นครพนม 


.๒๕๔๓ จำพรรษาที่วัดป่าโพธิ์ชัย บ้านหนองเปง .ฝั่งแดง .ธาตุพนม .นครพนม 


.๒๕๔๔ จำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านหนองเรือ ๑๐ .ท่าตะเกียบ .ท่าตะเกียบ .ฉะเชิงเทรา ที่นี้หลวงปู่ได้ละสังขาร เมื่อเดือน ๒๖ ตุลาคม .๒๕๔๔ สิริรวมอายุ ๖๒ ปี 

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

คำปณิธานพระเจ้าตากสินมหาราช





พระราชปณิธาน พระเจ้าตากสินมหาราช


อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวาย แผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญ สมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธ ศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน ฯ




(จากจารึกในศาลพระเจ้า ตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม)




วัดอินทารามวรวิหาร
สันติสถานของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
 วัดอินทาราม  เป็นวัดสำคัญของสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  เป็นวัดอนุสรณ์สันติสถานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  มหาวีระกษัตริย์ของไทยเราทรงประกอบพระราชกุศล  มีโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์เป็นชีวิตจิตใจหลายอย่าง  ที่นับว่าสำคัญน่าชมและศึกษา คือพระแท่นบรรทมไสยาสน์  เป็นพระราชอาสน์ที่พระองค์ทรงประทับแรมทรงศีลแลทรงเจริญกรรมฐาน ประวัติที่น่าศึกษาของวัดนี้คือ  เป็นที่ประดิษฐาน (ฝัง) พระบรมศพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๗  และบรมศพพระอัครมเหสีของพระองค์  ก็ได้ถวายพระเพลิงและบรรจุพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดนี้ทั้งสองพระองค์
วัดอินทารามขณะนี้เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร  ตั้งอยู่ที่ถนนเทอดไท  ปากคลองบางยี่เรือ  ริมคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แขวงบางยี่เรือ  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร  (แต่เดิมหน้าวัดอยู่ทางคลองบางกอกใหญ่  แต่เมื่อตัดถนนแล้ว  จึงใช้ทางหลวงเป็นหน้าวัดด้วย)  เนื้อที่ของวัดนี้เดิมเป็นแปลงเดียวตลอดกันทั้งวัด  ต่อมาทางรถไฟสายมหาชัยได้ตัดทางเข้ามาทางหลังวัด  กินเนื้อที่วัดเข้ามาเขตตะวันออกจดคลองบางยี่เรือ (คลองสำเหร่)  และเทศบาลนครธนบุรีได้ตัดทางรถยนต์เข้ามาทางด้านตะวันออก  เฉียดกำแพงรอบนอกพระอุโบสถจดถึงลำคลองบางยี่เรือ  เพราะเหตุนี้วัดจึงแยกเป็นสองแปลง  เนื้อที่ตั้งวัดประมาณ ๑๕ ไร่ ๒ งาน  เป็นที่ธรณีสงฆ์สำหรับจัดหาผลประโยชน์บำรุงวัดประมาณ ๙ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา  รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๕ ไร่
(แหล่งที่มา วัดอินทาราม)

ท้าทายให้พวกท่านพิสูจน์

คำสอนของ ลป.สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล
  1. ไม่มีใครเทศนาเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทได้ชัดเจน โดยเฉพาะศัพท์คำว่า นามรูป ซึ่งไม่เคยมีใครสนใจ และนำมาเทศน์ และอธิบายความหมายได้ถูกต้อง ชาวพุทธเองก็ไม่เคยได้ยินศัพท์นี้มาก่อน
  2.  สังคยานาพระไตรปิฏก ซึ่งพระอรหันต์ผลเท่านั้น ที่่สามารถแบ่งหมวดหมู่ในอริยสัจสี่ได้
  3. อจินไตย ก็ไม่เคยมีใครมาเทศน์ ว่าญานของพระอรหันต์เป็นอย่างไร 
  4. ไม่เคยมีพระรูปใดเลยที่บอกว่าบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ว่าปฏิบัติธรรมอย่างไร สภาวธรรม หรือว่านิพพานเป็นอย่างไร นิพพานมี  ๒ คือ อนุปาทิเสสนิพพาน กับ สอุปาทิเสสนิพพาน มีความต่างกันอย่างไร อธิบายกันก็ผิด
  5. จุดมโนทวาร ที่เกิดของจิต ไม่มีใครรู้ มีแต่ว่าที่หัวใจด้านซ้าย กันทั้งนั้น แต่ลป.บอกได้ถูกอยู่ตรงดั้งจมูกหักของเรานี่เอง และก็เป็นจุดเดีียวกับพระนิพพาน
  6. ธรรมในการดับสังขาร คือ อนุปุพพวิหารเก้า (รูปฌาน อรูปฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ),ให้ดูตอนปรินิพพานแล้วก็โปรดปัญจวคีย์ เครื่องอยู่ของพระอรหัตน์(พระสารีบุตรก็มีในพระสูตร)
    วิปัสสนาญาน ๙ ,วิสุทธิ ๗(ของพระมันตาณีบุตร) (ส่วน ญาน๑๖ หรือโสฬลญาน ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า แต่งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. ๙๐๐ ที่ศรีลังกาเป็นของปลอมแปลงเข้ามาในพุทธศาสนา)
  7. การแยกสงฆ์ ถือว่าเป็นสังฆเภท เป็นอนันตริยกรรม ห้ามนิพพาน

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

การตรัสรู้ธรรมของพระสารีบุตร (อนุปุพพวิหาร ๙ )

 คำยืนยันการตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคลสมัยพุทธกาล
  1. คำปรินิพพานของพระอานนท์
  2. โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ธรรมเดียวกันคือ อนุปุพพวิหาร ๙
  3. ลำดับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
  4.  ลำดับการปรินิพพานของพระนางปชาบดีโคตรมี
  5. คำยืนยันของพระพุทธเจ้าว่าถ้ายังเข้าออกอนุโลม ปฏิโลม อนุปุพพวิหาร ๙   ไม่ได้ก็ยังไม่ได้ปฏิญานว่าเป็นสัมมาพระพุทธเจ้า
  6. คำสอนทั้งหมดล้วนมีอนุปาทานิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย คือ     สัญญาเวทยิตนิโรธ
  7. วิเวก ๓  กายวิเวก จิตตวิเวก(รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ เว้นสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่อด้วยอริยบุคคล ๔ จำพวก) อุปธิวิเวก คือ พระนิพพาน


 อนุปทวรรค
        ๑.  อนุปทสูตร  (๑๑๑)
    [๑๕๓]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถ  บิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ  ทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  ฯ
    [๑๕๔]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเป็นบัณฑิต  มี
ปัญญามาก  มีปัญญากว้างขวาง  มีปัญญาร่าเริง  มีปัญญาว่องไว  มีปัญญาเฉียบแหลม  มีปัญญา
ทำลายกิเลส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม  ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน 
ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น  เป็นดังต่อไปนี้  ฯ

   [๑๕๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในเรื่องนี้  สารีบุตรสงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม
 เข้าปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก  อยู่  ก็ธรรมในปฐมฌาน  คือ  วิตก  วิจาร  ปีติ
สุข  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ
อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้ง
ที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มี
แก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัด
ว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๕๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าทุติยฌานมีความผ่องใส
แห่งใจภายใน  มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะสงบวิตกและวิจาร  ไม่มีวิตก  ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ  อยู่  ก็ธรรมในทุติยฌาน  คือความผ่องใสแห่งใจภายใน  ปีติ  สุข
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม
เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย  เพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่  และเสวยสุขด้วยนามกาย(ใจ)  เข้าตติยฌานที่  พระอริยะเรียกเธอได้ว่า 
ผู้วางเฉย  มีสติ  อยู่  เป็นสุข  อยู่  ก็ธรรมในตติยฌานคือ  อุเบกขา  สุข  สติ  สัมปชัญญะ
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่
 และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มี
แล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมี
ธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก
  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์
 ไม่มีสุข  เพราะละสุข  ละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
 อยู่  ก็ธรรมในจตุตถฌาน  คือ  อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา  ความไม่คำนึงแห่งใจ  เพราะ
บริสุทธิ์แล้ว  สติบริสุทธิ์  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ
อธิโมกข์  วิริยะสติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอัน
สารีบุตร  รู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้
 เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลส
ไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน
ได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม  เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำ
เครื่องสลัดออกนั้น  ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
มนสิการว่า  อากาศไม่มีที่สุด  อยู่  พราะล่วงรูปสัญญาได้โดย  ประการทั้งปวง  เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาได้  เพราะไม่มนสิการ นานัตตสัญญา  ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน  คือ 
อากาสานัญจายตนสัญญา  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ สติ  อุเบกขามนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่
ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้
ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด  อยู่  ก็ธรรม
ในวิญญาณัญจายตนฌาน  คือ  วิญญาณัญจายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา
เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนด
ได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่าด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ
 มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๖๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า  ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง  อยู่  ก็ธรรม
ในอากิญจัญญายตนฌาน  คือ  อากิญจัญญายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา
วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตาม
ลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไปเธอไม่ยินดี  ไม่
ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำ
ให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความ
เห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่  เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว  พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว  แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า
  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่  เพราะเห็นด้วยปัญญา  อาสวะของเธอจึงเป็น
อันสิ้นไป  เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น  ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการ  นี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสืมไป
เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็น  ผู้ถึงความชำนาญ
 ถึงความสำเร็จ ในอริยศีล  ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา  ในอริยวิมุติ  ภิกษุรูปนั้นคือ  สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า  เป็นผู้ถึงความชำนาญ  ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ  ฯ
    [๑๖๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็นบุตรเป็นโอรส
ของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรมอันธรรมเนรมิต  เป็นธรรม
ทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง  ที่ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า
 เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต  เป็นธรรมทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรย่อม
ประกาศธรรมจักร  อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว  ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค  แล  ฯ
        จบ  อนุปทสูตร  ที่  ๑

๓.  สัปปุริสสูตร  (๑๑๓)มีข้อความทำนองเดียวกัน
๖.  อาเนญชสัปปายสูตร  (๑๐๖)
อา.  น่าอัศจรรย์จริง  พระพุทธเจ้าข้า  ไม่น่าเป็นไปได้  พระพุทธเจ้าข้า  อาศัยเหตุนี้
เป็นอันว่า  พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว  ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ  วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน  ฯ
    [๙๒]  พ.  ดูกรอานนท์  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้  ซึ่งกามทั้งที่มี
ในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งรูปทั้งที่มีใน
ภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งอาเนญชสัญญา
ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา  ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา  ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้  ซึ่งอมตะ
คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น  ดูกรอานนท์  ด้วยประการนี้แล  เราแสดงปฏิปทา
มีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
 เรา  แสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  อาศัยเหตุนี้  เป็น อันเรา
แสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ  คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว  ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดา
ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจ
นั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ  ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน 
อย่าประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์  ชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
          จบ  อาเนญชสัปปายสูตร  ที่  ๖
        _________________________________

การตรัสรู้ธรรมของพระสารีบุตร (อนุปุพพวิหาร ๙ )

 คำยืนยันการตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคลสมัยพุทธกาล
  1. คำปรินิพพานของพระอานนท์
  2. โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ธรรมเดียวกันคือ อนุปุพพวิหาร ๙
  3. ลำดับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
  4.  ลำดับการปรินิพพานของพระนางปชาบดีโคตรมี
  5. คำยืนยันของพระพุทธเจ้าว่าถ้ายังเข้าออกอนุโลม ปฏิโลม อนุปุพพวิหาร ๙   ไม่ได้ก็ยังไม่ได้ปฏิญานว่าเป็นสัมมาพระพุทธเจ้า
  6. คำสอนทั้งหมดล้วนมีอนุปาทานิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย คือ     สัญญาเวทยิตนิโรธ
  7. วิเวก ๓  กายวิเวก จิตตวิเวก(รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ เว้นสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่อด้วยอริยบุคคล ๔ จำพวก) อุปธิวิเวก คือ พระนิพพาน


 อนุปทวรรค
        ๑.  อนุปทสูตร  (๑๑๑)
    [๑๕๓]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถ  บิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ  ทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  ฯ
    [๑๕๔]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเป็นบัณฑิต  มี
ปัญญามาก  มีปัญญากว้างขวาง  มีปัญญาร่าเริง  มีปัญญาว่องไว  มีปัญญาเฉียบแหลม  มีปัญญา
ทำลายกิเลส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม  ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน 
ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น  เป็นดังต่อไปนี้  ฯ

   [๑๕๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในเรื่องนี้  สารีบุตรสงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม
 เข้าปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก  อยู่  ก็ธรรมในปฐมฌาน  คือ  วิตก  วิจาร  ปีติ
สุข  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ
อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้ง
ที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มี
แก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัด
ว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๕๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าทุติยฌานมีความผ่องใส
แห่งใจภายใน  มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะสงบวิตกและวิจาร  ไม่มีวิตก  ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ  อยู่  ก็ธรรมในทุติยฌาน  คือความผ่องใสแห่งใจภายใน  ปีติ  สุข
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม
เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย  เพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่  และเสวยสุขด้วยนามกาย(ใจ)  เข้าตติยฌานที่  พระอริยะเรียกเธอได้ว่า 
ผู้วางเฉย  มีสติ  อยู่  เป็นสุข  อยู่  ก็ธรรมในตติยฌานคือ  อุเบกขา  สุข  สติ  สัมปชัญญะ
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่
 และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มี
แล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมี
ธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก
  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์
 ไม่มีสุข  เพราะละสุข  ละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
 อยู่  ก็ธรรมในจตุตถฌาน  คือ  อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา  ความไม่คำนึงแห่งใจ  เพราะ
บริสุทธิ์แล้ว  สติบริสุทธิ์  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ
อธิโมกข์  วิริยะสติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอัน
สารีบุตร  รู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้
 เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลส
ไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน
ได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม  เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำ
เครื่องสลัดออกนั้น  ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
มนสิการว่า  อากาศไม่มีที่สุด  อยู่  พราะล่วงรูปสัญญาได้โดย  ประการทั้งปวง  เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาได้  เพราะไม่มนสิการ นานัตตสัญญา  ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน  คือ 
อากาสานัญจายตนสัญญา  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ สติ  อุเบกขามนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่
ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้
ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด  อยู่  ก็ธรรม
ในวิญญาณัญจายตนฌาน  คือ  วิญญาณัญจายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา
เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนด
ได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่าด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ
 มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๖๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า  ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง  อยู่  ก็ธรรม
ในอากิญจัญญายตนฌาน  คือ  อากิญจัญญายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา
วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตาม
ลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไปเธอไม่ยินดี  ไม่
ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำ
ให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความ
เห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่  เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว  พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว  แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า
  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่  เพราะเห็นด้วยปัญญา  อาสวะของเธอจึงเป็น
อันสิ้นไป  เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น  ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการ  นี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสืมไป
เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็น  ผู้ถึงความชำนาญ
 ถึงความสำเร็จ ในอริยศีล  ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา  ในอริยวิมุติ  ภิกษุรูปนั้นคือ  สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า  เป็นผู้ถึงความชำนาญ  ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ  ฯ
    [๑๖๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็นบุตรเป็นโอรส
ของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรมอันธรรมเนรมิต  เป็นธรรม
ทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง  ที่ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า
 เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต  เป็นธรรมทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรย่อม
ประกาศธรรมจักร  อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว  ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค  แล  ฯ
        จบ  อนุปทสูตร  ที่  ๑

๓.  สัปปุริสสูตร  (๑๑๓)มีข้อความทำนองเดียวกัน
๖.  อาเนญชสัปปายสูตร  (๑๐๖)
อา.  น่าอัศจรรย์จริง  พระพุทธเจ้าข้า  ไม่น่าเป็นไปได้  พระพุทธเจ้าข้า  อาศัยเหตุนี้
เป็นอันว่า  พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว  ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ  วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน  ฯ
    [๙๒]  พ.  ดูกรอานนท์  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้  ซึ่งกามทั้งที่มี
ในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งรูปทั้งที่มีใน
ภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งอาเนญชสัญญา
ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา  ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา  ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้  ซึ่งอมตะ
คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น  ดูกรอานนท์  ด้วยประการนี้แล  เราแสดงปฏิปทา
มีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
 เรา  แสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  อาศัยเหตุนี้  เป็น อันเรา
แสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ  คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว  ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดา
ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจ
นั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ  ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน 
อย่าประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์  ชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
          จบ  อาเนญชสัปปายสูตร  ที่  ๖
        _________________________________