หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ

                    คิลานสูตรที่ ๒
     [๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็น
ไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน  โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์
เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิดพระเจ้าข้า ฯ
     ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด ว่า เป็นภิกษุ
ไม่ปรากฏชื่อและโคตรจึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็น  พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล
ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ
เธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาค
ประทับนั่งบน  อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ
เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ  ความทุเลาย่อมปรากฏ
ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ
     ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ฯลฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมีความรังเกียจ
มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ
     ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค  ทรงแสดงเพื่อ
สีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้        เมื่อเป็น
เช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ
     ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา  แสดงแล้วเพื่อ
อนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ
     [๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง  หรือไม่เที่ยง ฯ
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
     พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า  นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
     ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย  แม้ในจักษุ ฯลฯ
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความ  เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ
     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจาก
อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
                     จบสูตรที่ ๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น