หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ




มาฟัง ลป.สาวกโลกอุดร แสดงธรรมเรื่องปฏิจจสมุปบาทของจริงกันบ้าง



พระวินัยปิฎก
                    เล่ม ๔
                มหาวรรค ภาค ๑
        ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
                มหาขันธกะ
            โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ
    [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
และปฏิโลม
ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
                ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
                เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
                เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
                เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
                เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
                เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
                เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
                เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
                เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
                เพราะภพป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

                ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
                เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
                เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
                เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
                เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
                เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
                เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
                เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
                เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
                เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
                        พุทธอุทานคาถาที่ ๑
                เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
                ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
                ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม
                พร้อมทั้งเหตุ.(รู้ทุกข์ รู้สมุทัย)






[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
                ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
                เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
                เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
                เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
                เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
                เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
                เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
                เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
                เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
                เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
                ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
                เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
                เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
                เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
                เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
                เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
                เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
                เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
                เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
                เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
                พุทธอุทานคาถาที่ ๒
                เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
                ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
                ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความ
                สิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.(รู้ว่าเหตุปัจจัยดับ)



   [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
                ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
                เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
                เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
                เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
                เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
                เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
                เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
                เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
                เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
                เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
                ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
                เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
                เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
                เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
                เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
                เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
                เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
                เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
                เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
                เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
                พุทธอุทานคาถาที่ ๓
                เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
                ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
                กำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย
                ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.(มารและเสนามาร เกิดจากเหตุปัจจัย)
ดูเรื่องมารและเสนามารประกอบ
                        โพธิกถา จบ
                                               _________





ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓
มีอาการ ๑๒ อย่างนี้
ยังไม่หมดจดดีแล้ เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า(อวิชชาดับ) ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ
นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

[๑๐๐] ดูกรอานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการ เหล่านี้แล ๘ ประการ    เป็นไฉน
คือ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้  เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่หนึ่ง ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี      และมีผิว
พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้   เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สอง ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี    และมีผิว
พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้  เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สาม ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณ ดีและมีผิว
พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้       เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สี่ ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะ   เขียว   เขียว
ล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน   มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่
กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเขียว มี   วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้
ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน
มีรัศมีเขียว ฉันนั้น      เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้
 เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง
ล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง    เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง
หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง      เกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน
มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะ
เหลือง     เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ สำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง     แดงล้วน
มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมือง
พาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน   มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้น
เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว  มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่เจ็ด ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว     ขาวล้วน
มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว  หรือว่าผ้าที่กำเนิดใน
เมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน   มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมี
ความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้น
เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว  มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่แปด ฯ
            ดูกรอานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการ เหล่านี้แล ฯ
    [๑๐๑] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้แล ๘ ประการ เป็น ไฉน คือ
      ภิกษุเห็นรูป อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ
      ภิกษุมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์       ข้อที่สอง ฯ
      ภิกษุน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งาม อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป     พราะไม่ใส่ใจ
ซึ่งนานัตตสัญญา
ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า       อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้ อยู่
อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง   วิญญาณัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้ อยู่ อันนี้เป็น     วิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง    อากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์     ข้อที่หก ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง   เนวสัญญานา
สัญญายตนะอยู่
อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง ภิกษุ
ข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ
      ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้แล ฯ

[๔๒๕] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ ที่เสวยทุกขเวทนากล้า หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียรเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป. แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณ
ทัสสนะอันวิเศษที่พอแก่พระอริยะซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้. ชะรอย
ทางแห่งความตรัสรู้พึงเป็นทางอื่นกระมัง. เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว
สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ
ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา
ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย.


[๔๒๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริต่อไปว่า ความสุขนั้น เราผู้มีกายถึงความซูบ
ผอมมาก ไม่ทำได้ง่ายเพื่อจะบรรลุ ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและกุมมาสเถิด.
เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและกุมมาส. ครั้งนั้น ภิกษุทั้ง ๕ ที่เฝ้าบำรุงเราด้วยหวังว่า
พระสมณะโคดมบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. เมื่อใด เรากินอาหารหยาบ
คือข้าวสุกและ กุมมาส เมื่อนั้นภิกษุทั้ง ๕ นั้นก็ระอาหลีกไปด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมมักมาก
คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว.
     [๔๒๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้กายมีกำลังแล้ว สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้สุขเวทนาที่
เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เราบรรลุ
จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้. เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เราย่อม
ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่
อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             ตรัสการบรรลุวิชชาที่ ๒
     [๔๒๘] เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ. เราเห็นหมู่สัตว์
ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ
อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไป
อยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
     [๔๒๙] เราเมื่อมีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. ย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสว
สมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำๆ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูกรอัคคิเวสสนะ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๓ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความ
เพียร ส่งจิตไปอยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสง
สว่างเกิดขึ้นแล้ว. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
     [๔๓๐] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า เป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย.
ถึงแม้บุคคลคนหนึ่งๆ สำคัญเราอย่างนี้บ้างว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภเราเท่านั้น. ท่าน
อย่าพึงเห็นอย่างนั้น พระตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลเหล่านั้นโดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้รู้
แจ้งอย่างเดียว. เราประคองจิต สงบตั้งมั่น ทำให้เป็นสมาธิ ณ ภายใน ในสมาธินิมิตเบื้องต้น
จนจบคาถานั้นทีเดียว เราอยู่ด้วยผลสมาธิเป็นสุญญะ ตลอดนิตยกาล.
     ส. ข้อนี้ ควรเชื่อต่อพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แต่พระโคดม
ย่อมรู้เฉพาะว่า พระองค์เป็นผู้หลับในกลางวันบ้างหรือ?
     พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาตใน
กาลภายหลังภัต ปูสังฆาฏิให้เป็น ๔ ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับโดยข้าง
เบื้องขวา.
     ส. พระโคดมผู้เจริญ สมณะและพราหมณ์เหล่าหนึ่ง ย่อมกล่าวข้อนั้นในความอยู่ด้วย
ความหลง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น