หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

การตรัสรู้ธรรมของพระสารีบุตร (อนุปุพพวิหาร ๙ )

 คำยืนยันการตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคลสมัยพุทธกาล
  1. คำปรินิพพานของพระอานนท์
  2. โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ธรรมเดียวกันคือ อนุปุพพวิหาร ๙
  3. ลำดับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
  4.  ลำดับการปรินิพพานของพระนางปชาบดีโคตรมี
  5. คำยืนยันของพระพุทธเจ้าว่าถ้ายังเข้าออกอนุโลม ปฏิโลม อนุปุพพวิหาร ๙   ไม่ได้ก็ยังไม่ได้ปฏิญานว่าเป็นสัมมาพระพุทธเจ้า
  6. คำสอนทั้งหมดล้วนมีอนุปาทานิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย คือ     สัญญาเวทยิตนิโรธ
  7. วิเวก ๓  กายวิเวก จิตตวิเวก(รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ เว้นสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่อด้วยอริยบุคคล ๔ จำพวก) อุปธิวิเวก คือ พระนิพพาน


 อนุปทวรรค
        ๑.  อนุปทสูตร  (๑๑๑)
    [๑๕๓]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถ  บิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ  ทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  ฯ
    [๑๕๔]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเป็นบัณฑิต  มี
ปัญญามาก  มีปัญญากว้างขวาง  มีปัญญาร่าเริง  มีปัญญาว่องไว  มีปัญญาเฉียบแหลม  มีปัญญา
ทำลายกิเลส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม  ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน 
ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น  เป็นดังต่อไปนี้  ฯ

   [๑๕๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในเรื่องนี้  สารีบุตรสงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม
 เข้าปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก  อยู่  ก็ธรรมในปฐมฌาน  คือ  วิตก  วิจาร  ปีติ
สุข  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ
อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้ง
ที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มี
แก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัด
ว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๕๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าทุติยฌานมีความผ่องใส
แห่งใจภายใน  มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะสงบวิตกและวิจาร  ไม่มีวิตก  ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ  อยู่  ก็ธรรมในทุติยฌาน  คือความผ่องใสแห่งใจภายใน  ปีติ  สุข
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม
เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย  เพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่  และเสวยสุขด้วยนามกาย(ใจ)  เข้าตติยฌานที่  พระอริยะเรียกเธอได้ว่า 
ผู้วางเฉย  มีสติ  อยู่  เป็นสุข  อยู่  ก็ธรรมในตติยฌานคือ  อุเบกขา  สุข  สติ  สัมปชัญญะ
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่
 และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มี
แล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมี
ธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก
  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์
 ไม่มีสุข  เพราะละสุข  ละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
 อยู่  ก็ธรรมในจตุตถฌาน  คือ  อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา  ความไม่คำนึงแห่งใจ  เพราะ
บริสุทธิ์แล้ว  สติบริสุทธิ์  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ
อธิโมกข์  วิริยะสติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอัน
สารีบุตร  รู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้
 เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลส
ไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน
ได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม  เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำ
เครื่องสลัดออกนั้น  ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
มนสิการว่า  อากาศไม่มีที่สุด  อยู่  พราะล่วงรูปสัญญาได้โดย  ประการทั้งปวง  เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาได้  เพราะไม่มนสิการ นานัตตสัญญา  ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน  คือ 
อากาสานัญจายตนสัญญา  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ สติ  อุเบกขามนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่
ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้
ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด  อยู่  ก็ธรรม
ในวิญญาณัญจายตนฌาน  คือ  วิญญาณัญจายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา
เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนด
ได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่าด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ
 มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๖๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า  ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง  อยู่  ก็ธรรม
ในอากิญจัญญายตนฌาน  คือ  อากิญจัญญายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา
วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตาม
ลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไปเธอไม่ยินดี  ไม่
ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำ
ให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความ
เห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่  เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว  พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว  แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า
  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่  เพราะเห็นด้วยปัญญา  อาสวะของเธอจึงเป็น
อันสิ้นไป  เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น  ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการ  นี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสืมไป
เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็น  ผู้ถึงความชำนาญ
 ถึงความสำเร็จ ในอริยศีล  ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา  ในอริยวิมุติ  ภิกษุรูปนั้นคือ  สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า  เป็นผู้ถึงความชำนาญ  ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ  ฯ
    [๑๖๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็นบุตรเป็นโอรส
ของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรมอันธรรมเนรมิต  เป็นธรรม
ทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง  ที่ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า
 เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต  เป็นธรรมทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรย่อม
ประกาศธรรมจักร  อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว  ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค  แล  ฯ
        จบ  อนุปทสูตร  ที่  ๑

๓.  สัปปุริสสูตร  (๑๑๓)มีข้อความทำนองเดียวกัน
๖.  อาเนญชสัปปายสูตร  (๑๐๖)
อา.  น่าอัศจรรย์จริง  พระพุทธเจ้าข้า  ไม่น่าเป็นไปได้  พระพุทธเจ้าข้า  อาศัยเหตุนี้
เป็นอันว่า  พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว  ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ  วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน  ฯ
    [๙๒]  พ.  ดูกรอานนท์  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้  ซึ่งกามทั้งที่มี
ในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งรูปทั้งที่มีใน
ภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งอาเนญชสัญญา
ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา  ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา  ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้  ซึ่งอมตะ
คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น  ดูกรอานนท์  ด้วยประการนี้แล  เราแสดงปฏิปทา
มีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
 เรา  แสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  อาศัยเหตุนี้  เป็น อันเรา
แสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ  คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว  ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดา
ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจ
นั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ  ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน 
อย่าประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์  ชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
          จบ  อาเนญชสัปปายสูตร  ที่  ๖
        _________________________________

การตรัสรู้ธรรมของพระสารีบุตร (อนุปุพพวิหาร ๙ )

 คำยืนยันการตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคลสมัยพุทธกาล
  1. คำปรินิพพานของพระอานนท์
  2. โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ธรรมเดียวกันคือ อนุปุพพวิหาร ๙
  3. ลำดับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
  4.  ลำดับการปรินิพพานของพระนางปชาบดีโคตรมี
  5. คำยืนยันของพระพุทธเจ้าว่าถ้ายังเข้าออกอนุโลม ปฏิโลม อนุปุพพวิหาร ๙   ไม่ได้ก็ยังไม่ได้ปฏิญานว่าเป็นสัมมาพระพุทธเจ้า
  6. คำสอนทั้งหมดล้วนมีอนุปาทานิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย คือ     สัญญาเวทยิตนิโรธ
  7. วิเวก ๓  กายวิเวก จิตตวิเวก(รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ เว้นสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่อด้วยอริยบุคคล ๔ จำพวก) อุปธิวิเวก คือ พระนิพพาน


 อนุปทวรรค
        ๑.  อนุปทสูตร  (๑๑๑)
    [๑๕๓]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถ  บิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ  ทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  ฯ
    [๑๕๔]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเป็นบัณฑิต  มี
ปัญญามาก  มีปัญญากว้างขวาง  มีปัญญาร่าเริง  มีปัญญาว่องไว  มีปัญญาเฉียบแหลม  มีปัญญา
ทำลายกิเลส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม  ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน 
ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น  เป็นดังต่อไปนี้  ฯ

   [๑๕๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในเรื่องนี้  สารีบุตรสงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม
 เข้าปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก  อยู่  ก็ธรรมในปฐมฌาน  คือ  วิตก  วิจาร  ปีติ
สุข  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ
อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้ง
ที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มี
แก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัด
ว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๕๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าทุติยฌานมีความผ่องใส
แห่งใจภายใน  มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะสงบวิตกและวิจาร  ไม่มีวิตก  ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ  อยู่  ก็ธรรมในทุติยฌาน  คือความผ่องใสแห่งใจภายใน  ปีติ  สุข
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม
เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย  เพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่  และเสวยสุขด้วยนามกาย(ใจ)  เข้าตติยฌานที่  พระอริยะเรียกเธอได้ว่า 
ผู้วางเฉย  มีสติ  อยู่  เป็นสุข  อยู่  ก็ธรรมในตติยฌานคือ  อุเบกขา  สุข  สติ  สัมปชัญญะ
จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญาเจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา
มนสิการ  เป็นอัน  สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่
 และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มี
แล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมี
ธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก
  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์
 ไม่มีสุข  เพราะละสุข  ละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
 อยู่  ก็ธรรมในจตุตถฌาน  คือ  อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา  ความไม่คำนึงแห่งใจ  เพราะ
บริสุทธิ์แล้ว  สติบริสุทธิ์  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ
อธิโมกข์  วิริยะสติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอัน
สารีบุตร  รู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้
 เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลส
ไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน
ได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรม  เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำ
เครื่องสลัดออกนั้น  ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๕๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
มนสิการว่า  อากาศไม่มีที่สุด  อยู่  พราะล่วงรูปสัญญาได้โดย  ประการทั้งปวง  เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาได้  เพราะไม่มนสิการ นานัตตสัญญา  ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน  คือ 
อากาสานัญจายตนสัญญา  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ สติ  อุเบกขามนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่
ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน
 พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้
ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด  อยู่  ก็ธรรม
ในวิญญาณัญจายตนฌาน  คือ  วิญญาณัญจายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา
เจตนา  วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนด
ได้ตามลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่าด้วยประการนี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ
 มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
[๑๖๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า  ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง  อยู่  ก็ธรรม
ในอากิญจัญญายตนฌาน  คือ  อากิญจัญญายตนฌาน  จิตเตกัคคตา  ผัสสะ  เวทนา  สัญญา  เจตนา
วิญญาณ  ฉันทะ  อธิโมกข์  วิริยะ  สติ  อุเบกขา  มนสิการ  เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตาม
ลำดับบท  เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว  ทั้งที่เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และถึงความดับ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้  เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไปเธอไม่ยินดี  ไม่
ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้  แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำ
ให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความ
เห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว  เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่  เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว  พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว  แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการนี้  เป็นอันว่า
  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสื่อมไป  เธอไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ  มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก  ก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงแล้ว  เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่  เพราะเห็นด้วยปัญญา  อาสวะของเธอจึงเป็น
อันสิ้นไป  เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น  ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว  ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า  ด้วยประการ  นี้  เป็นอันว่า  ธรรมที่ไม่มีแก่เรา  ย่อมมี  ที่มีแล้ว  ย่อมเสืมไป
เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย  อันกิเลสไม่อาศัย  ไม่พัวพัน  พ้นวิเศษแล้ว  พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่  ย่อมรู้ชัดว่า  ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
  และมีความเห็นต่อไปว่า  ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่  ฯ
    [๑๖๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็น  ผู้ถึงความชำนาญ
 ถึงความสำเร็จ ในอริยศีล  ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา  ในอริยวิมุติ  ภิกษุรูปนั้นคือ  สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า  เป็นผู้ถึงความชำนาญ  ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ  ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ  ฯ
    [๑๖๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า  เป็นบุตรเป็นโอรส
ของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรมอันธรรมเนรมิต  เป็นธรรม
ทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง  ที่ผู้กล่าวชอบ  พึงกล่าวชมว่า
 เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค  เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต  เป็นธรรมทายาท  ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตรย่อม
ประกาศธรรมจักร  อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว  ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค  แล  ฯ
        จบ  อนุปทสูตร  ที่  ๑

๓.  สัปปุริสสูตร  (๑๑๓)มีข้อความทำนองเดียวกัน
๖.  อาเนญชสัปปายสูตร  (๑๐๖)
อา.  น่าอัศจรรย์จริง  พระพุทธเจ้าข้า  ไม่น่าเป็นไปได้  พระพุทธเจ้าข้า  อาศัยเหตุนี้
เป็นอันว่า  พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว  ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ  วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน  ฯ
    [๙๒]  พ.  ดูกรอานนท์  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้  ซึ่งกามทั้งที่มี
ในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งรูปทั้งที่มีใน
ภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ซึ่งอาเนญชสัญญา
ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา  ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา  ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้  ซึ่งอมตะ
คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น  ดูกรอานนท์  ด้วยประการนี้แล  เราแสดงปฏิปทา
มีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
 เรา  แสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว  อาศัยเหตุนี้  เป็น อันเรา
แสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ  คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว  ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดา
ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจ
นั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ  ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน 
อย่าประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ  ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์  ชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
          จบ  อาเนญชสัปปายสูตร  ที่  ๖
        _________________________________

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

นิสสรณสูตร (โครงร่างการปฏิบัติธรรม)

โครงร่างการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล คำสอนทั้งหมดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้านิโรธสมาบัติ  ลำดับการดับเหมือนในอนุปุพพวิหาร ๙ และพระนิพพาน คือธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง
(สังขาร ๓  : กายสังขาร " ลมอัสสาสะ" ,วจีสังขาร"วิตก วิจาร" ,จิตตสังขาร "เวทนา สัญญา" ดูลำดับการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

๓. นิสสรณสูตร
    [๒๕๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่
สลัดออก ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
เนกขัมมะ(รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ๑ 
อรูปฌานเป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ๑ 
นิโรธเป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    ภิกษุผู้มีความเพียร รู้ธรรมเป็นเป็นที่สลัดออกซึ่งกาม และอุบายเป็นเครื่อง
    ก้าวล่วงรูปทั้งหลาย ถูกต้องธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงในกาลทุกเมื่อ
    ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมน้อมไปในธาตุนั้น ภิกษุนั้นแลอยู่จบ
    อภิญญา สงบระงับ ก้าวล่วงโยคะได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๓
 
    ๔. รูปสูตร

    [๒๕๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย อรูปละเอียด
กว่ารูป นิโรธละเอียดกว่าอรูป ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดดำรงอยู่ในอรูปภพ สัตว์
    เหล่านั้นไม่รู้ชัดซึ่งนิโรธเป็นผู้ยังต้องกลับมาสู่ภพใหม่ ส่วนชนเหล่าใด
    กำหนดรู้รูปภพแล้ว ไม่ดำรงอยู่ในอรูปภพชนเหล่านั้นย่อมน้อมไปใน    นิโรธ เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาอาสวะมิได้
    ถูกต้องอมตธาตุอันไม่มีอุปธิด้วยนามกายแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งการ
    สละคืนอุปธิ ย่อมแสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๔

    ๕. ปุตตสูตร

    [๒๕๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนีพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตร ๓
จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉนคือ อติชาตบุตร ๑ อนุชาตบุตร ๑ อวชาต
บุตร ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อติชาตบุตร เป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายมารดาบิดาของ
บุตรในโลกนี้
ไม่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ส่วนบุตรของมารดาและบิดาเหล่านั้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณ
ะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีศีลมีธรรมอันงาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อติชาตบุตรเป็นอย่างนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุชาตบุตรเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาของบุตร
ในโลกนี้ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ การดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
มีศีล มีธรรมอันงาม ส่วนบุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ว่าเป็นสรณะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ การดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงามดูกรภิกษุทั้งหลาย
อนุชาตบุตรเป็นอย่างนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อวชาตบุตรเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาของบุตร
ในโลกนี้ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ การดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงามส่วนบุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น ไม่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวชาตบุตรเป็นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายบุตร ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏ
อยู่ในโลก ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
    บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอติชาตบุตร และอนุชาตบุตรไม่
    ปรารถนาอวชาตบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล ส่วนบุตรเหล่าใดเป็น
    อุบาสก บุตรเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นบุตรในโลกบุตรเหล่านั้นมีศรัทธา
    ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ (โอบอ้อมอารี)รู้ความประสงค์ ปราศจากความ
    ตระหนี่ ย่อมรุ่งเรืองในบริษัททั้งหลาย เปรียบเหมือนพระจันทร์พ้น
    แล้วจากเมฆฉะนั้น ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
     จบสูตรที่ ๕

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ปริศนาธรรม

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

กามภูสูตรที่ ๑
[๕๕๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล
จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วท่านพระกามภูได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่าดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธ์
คาถาไว้ดังนี้ว่า
ธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์แล่น
ไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ฯ

[๕๕๙] ดูกรคฤหบดี ท่านพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารอย่างไรหนอ ฯ
จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสหรือ ฯ
กา. อย่างนั้น คฤหบดี ฯ
จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอคอยอยู่ครู่หนึ่ง จนกว่ากระผมจักเพ่งเนื้อความ
แห่งคาถาประพันธ์นั้นได้ ฯ
ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้ตอบท่านกามภูว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ
คำว่าไม่มีโทษนั้น เป็นชื่อของศีล
คำว่า มีหลังคาขาวนั้น เป็นชื่อของวิมุตติ
คำว่า มีเพลาเดียวนั้น เป็นชื่อของสติ
คำว่า ย่อมแล่นไปนั้น เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ
คำว่ารถนั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้น
ด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องลูบไล้ นวดเฟ้น มีการแตกทำลายและกระจัด
กระจายเป็นธรรมดา

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์ ทุกข์เหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ  ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าไม่มีทุกข์
คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์
คำว่า กระแสนั้น เป็นชื่อของตัณหา
ตัณหานั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ตัดกระแสตัณหา
ขาด ราคะ โทสะ โมหะ
ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพัน กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้น อันภิกษุผู้
ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น
อีกต่อไปเป็นธรรมดา
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ไม่มีกิเลส
เครื่องผูกพัน
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

คาถาประพันธ์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
"เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์  แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน
"

ดังนี้
กระผมย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อได้
โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้ ชื่อ
ว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๕

กามภูสูตรที่ ๒
[๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ครั้งนั้นแล
จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกร
คฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

[๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน
วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร  วิตก วิจารชื่อว่า
วจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร
[๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีก
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร วิตก
วิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้เนื่อง
ด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร บุคคลย่อมตรึกตรอง
ก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของ
เกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เรา
จักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
บ้าง โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ
[๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กาย
สังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน  ต่อจากนั้น
กายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ
[๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา  ยิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสอง
นี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ  มีวจีสังขาร
ดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์แตกกระจาย
ส่วนภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้น
อายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส
ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธมีความต่างกันอย่างนี้ ฯ
[๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีก
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้
ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
บ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้างโดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิต
ที่น้อมเข้าไปเพื่อความเป็นจิตแท้ ฯ
[๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ  ธรรมเหล่าไหนเกิด
ก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด ฯ

[๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ ๑ สุญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ  อัปปณิหิต
ผัสสะ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ

[๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้า
แต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่
อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ  ย่อมเป็น
ธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก ฯ
[๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม  อนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมี
อุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่าอาตมาจักพยา
กรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมาก
แก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
จบสูตรที่ ๖