หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ลำดับญาณ ๑๖ เปรียบเทียบ วิปัสสนาญาน ๙

ลำดับญาณ ๑๖

๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปแยกนามออกจากกัน คือรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งรูปนาม
๒.ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุ รู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่
๓.สัมมสนญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์ปรากฏแจ้งชัด ๑๕ % คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
๔.อุทยัพพยญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปของรูปนาม พระไตรลักษณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ๙๐ % สันตติขาดจนเป็นเหตุทราบชัดว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนแต่ต้องดับไปเป็นธรรมดา(หมายถึงสังขาร ไม่ใช่ รูปนาม)
๕.ภังคญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม คือ อุปาทะ ความเกิดขึ้น ฐิติ ความตั้งอยู่ มีอยู่ แต่ปรากฏไม่ชัดเจน เพราะวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้าขึ้น รูปนามปรากฏเร็วขึ้น จึงเป็นเหตุให้พิจารณาเห็นชัดลงไปเฉพาะในส่วนแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ว่า สังขารทั้งปวงล้วนดับสลายไปทั้งสิ้น
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่ต้องแตกสลายไปทั้งสิ้น
๗.อาทีนวญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม คือเมื่อเห็นรูปนามล้วนแต่ดับสลาย เป็นของน่ากลัวมาตามลำดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปนามทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ เป็นโทษ
๘.นิพพิทาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม คือเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่รื่นเริง เพลิดเพลิน หลงใหลในรูปนาม
๙.มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปจากนาม เพราะพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษ และเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามที่ผ่านมา
๑๐.ปฏิสังขาญาณ ปัญญากำหนดกลับไปพิจารณาทบทวนพระไตรลักษณ์อีก เพื่อที่จะหาทางหลุดพ้นไปจากรูปนาม คือตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ไม่ย่อท้อ ใจหนักแน่นมั่นคง เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สู้ตาย
๑๑.สังขารุเปกขาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉยเป็นกลางในรูปนาม คือทราบชัดตามความเป็นจริงในรูปนามแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลาง วางเฉยได้
๑๒.อนุโลมญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำ อนุโลมญาณสูง อันเป็นเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน โดยอาการของพระไตรลักษณ์ อาการใดอาการหนึ่ง
๑๓.โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยะ เพื่อจะหน่วงยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔.มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็น สมุทเฉทปหาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕.ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ปัญญากำหนดพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ที่ยังเหลืออยู่ ตลอดถึงมรรค ผล และนิพพาน
(หมายเหตุ ญาน ๑๖ นี้ แต่งขึ้นใหม่ยุค พ.ศ.๙๐๐ ที่ศรีลังกา มีพระพุทธโฆษาจารย์รจนาขึ้นพร้อมวิสุทธิมรรค  ที่พระพิมลธรรม(โดนวิบาบกรรมต้องติดคุก)นำเข้ามาจากพระพม่า แล้วมาสอนกันที่วัดมหาธาตุ  หากค้นในพระไตรปิฏกแล้วไม่มี มีแต่เอาวิปัสสนาญาน ๙ มาแต่งเติมเข้าไปอีก แล้วอธิบายเป็น รูปนาม แทนที่จะเป็นสังขาร  ที่นี้ลองเปรียบเทียบกับวิปัสสนาญาน ๙)


 คำว่า รูปนาม เป็นคำแทนขันธ์ห้า  คือ รูป เป็นรูปธรรม นามคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนามธรรม



วิปัสสนาญาณ - ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
 ๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณคือความปรีชา,ความหยั่งรู้หรือก็คือปัญญาตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป  (ไม่ใช่ รูปนาม)

 ๒.ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา

๓.ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว 

.อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย  

๖.มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง    

๘.สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดย ความเป็นกลางต่อสังขาร
๙.สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ ( มี ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ )ให้ดูเรื่อง
พุทธอุทาน ปฏิจจสมุปบาท

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร ความหมาย

ปฏิจจสมุปบาท ข้ออวิชชา สังขาร
ที่มาสมเด็จพระญานสังวร
(ให้ท่านสังเกตุการอธิบายคำว่านามรูป  แทบจะทุกท่านหรือทุกสำนัก อธิบายว่าคือขันธ์ห้า)

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจ ให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ได้แสดงพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรในข้อสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบมาโดยลำดับ ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนถามท่านถึงอธิบายในข้อสัมมาทิฏฐิ เมื่อท่านได้ตอบไปตอนหนึ่งแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็ได้กราบเรียนถามปริยายคือทางอธิบายอย่างอื่นต่อไปอีกซึ่ง ท่านก็ตอบไปโดยลำดับตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท ธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น โดยยกเอาธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้นเหล่านี้มาแสดงอธิบายทีละข้อ จำแนกออกเป็น ๔ ตามแนวแห่งอริยสัจทั้ง ๔ ทุกข้อ จึงเท่ากับว่าพระเถราธิบายนี้ได้แสดงอธิบายอริยสัจ ๔ หลายนัยหลายปริยายอย่างละเอียด ไปตามข้อธรรมะที่เนื่องกันเป็นสายแห่งปฏิจจสมุปบาทธรรมะที่อาศัยกันบังเกิด ขึ้น โดยจับข้างปลายคือชรามรณะขึ้นมาจนถึงอวิชชาอาสวะ และก็ได้แสดงอธิบายอวิชชาอาสวะนี้ว่าต่างเป็นปัจจัยของกันและกัน

พระพุทธาธิบายในปฏิจจสมุปบาทนี้จบลงแค่อวิชชาเป็นส่วนมาก ท่านพระสารีบุตรได้จับเอาพระพุทธาธิบายหรือพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าในที่ อื่นมาเพิ่มขึ้นอีกข้อหนึ่ง คืออาสวะ อวิชชาเกิดเพราะ
อาสวะ ก็จบลงแค่อาสวะ แต่อาสวะเกิดเพราะอะไรก็ต้องกลับมาหาอวิชชาอีกว่าเกิดเพราะอวิชชา
ซึ่งได้แสดงอธิบายในที่นี้แล้วว่า อวิชชาเกิดเพราะอาสวะอย่างไร และอาสวะเกิดเพราะอวิชชาอย่างไร จึงมาถึงข้อที่จะอธิบายต่อไปตามพระเถราธิบายว่า เพราะอวิชชาเกิด จึงเกิดสังขาร และคำว่าสังขารนั้นก็ได้อธิบายในที่นี้แล้วว่า ได้แก่ 
สังขาร ๓

กายสังขาร ได้แก่ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ลมหายใจเข้าลมหายใจออก
วจีสังขาร ได้แก่ วิตก วิจาร ความตรึก ความตรอง
จิตตสังขาร ได้แก่ สัญญา เวทนา

ในวันนี้จะได้อธิบายว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หรือว่า เพราะอวิชชาเกิดสังขารจึงเกิดอย่างไร จึงจะต้องอธิบายคำว่าสังขารก่อน

สังขารให้หมวดธรรมต่าง ๆ

คำว่า สังขาร นั้นใช้ในหมวดธรรมะหลายหมวด เช่น

สังขาร ๒ คือ
สังขารที่มีใ(จิต ;วิญญาณ)ครองหรือมีผู้ครอง เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร
สังขารที่ไม่มีใจ(จิต ;วิญญาณ)ครอง หรือไม่มีผู้ครอง เรียกว่า อนุปาทินนกสังขาร
สังขารในเบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งหมายถึงความคิดปรุงหรือความปรุงคิดของจิตใจ
สังขารที่แสดงไว้ในโลก ๓ คือ
โอกาสโลก โลกคือโอกาส อันได้แก่ พื้นพิภพนี้
สังขารโลก โลกคือสังขาร อันได้แก่ทุก ๆ สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นจากพื้นพิภพนี้ ตลอดจนถึงเป็นอุปาทินนกสังขารและอนุปาทินนกสังขารดังกล่าว
สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ โดยตรงก็หมายถึงจิตใจซึ่งครองสังขารอยู่ ซึ่งยังมีความข้องความติด
สังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่ท่านพระสารีบุตรได้ยกมาอธิบายในข้อว่าสังขารนี้
และ สังขาร ๓ อีกหมวดหนึ่ง
 ปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งบุญก็คือทำบุญ
 อปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งกรรมที่มิใช่บุญคือบาป ก็คือทำบาป
 อเนญชาภิสังขาร ปรุงแต่งธรรมะที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิที่เป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่น
สำหรับ ในข้อสังขารที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หรือเพราะอวิชชาเกิดสังขารเกิดนี้ ก็มีอธิบายถึงสังขาร ๓ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร จึงรวมเข้าได้ว่าท่านยกเอาสังขาร ๓ ทั้ง ๒ หมวดนี้มาอธิบายสังขารในที่นี้

อธิบายความหมายของสังขารที่เป็นกลาง ๆ

แต่ ในเบื้องต้นนี้จะได้อธิบายเป็นกลาง ๆ ก่อน ว่าสังขารก็คือสิ่งประสมปรุงแต่งหรือการประสมปรุงแต่ง ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่างที่เป็นไปตามจิตก็ตาม เป็นไปทางกาย หรือเป็นไปอยู่ในโลกธาตุทั้งสิ้น ที่ปรากฏเป็นนั่นเป็นนี่ ทั้งที่เป็นอย่างหยาบ ทั้งที่เป็นอย่างละเอียด ล้วนเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งผสมปรุงแต่งหรือไม่มีการผสมปรุงแต่ง ก็จะไม่ปรากฏเป็นนั่นเป็นนี่อะไรทั้งสิ้น จะไม่ปรากฏสัตว์บุคคล จะไม่ปรากฏต้นไม้ภูเขา จะไม่ปรากฏโลกธาตุนี้ ไม่ปรากฏพื้นพิภพนี้ ไม่ปรากฏกลางวันกลางคืน ไม่ปรากฏหนาวร้อนลมฝน ไม่ปรากฏดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดวงดาวอะไรทั้งสิ้น แต่ที่ปรากฏเป็นนั่นเป็นนี่อยู่ดังกล่าว ตลอดจนถึงสัตว์บุคคลดั่งเราทั้งหลาย ทุก ๆ คนที่มีกายมีใจ ก็เพราะมีการผสมปรุงแต่ง จึงมีสิ่งผสมปรุงแต่งปรากฏเป็นนั่นเป็นนี่ขึ้น ดังเช่นตัวอย่างที่ยกมากล่าวแล้ว และการผสมปรุงแต่งนี้ย่อมมีอยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุด หยุดทีหนึ่งก็คือว่าแตกสลาย หรือว่าดับไปทีหนึ่ง เกิดก็คือผสมปรุงแต่งขึ้นใหม่แล้วก็ดับ ในระหว่างเกิดและดับ ซึ่งเรียกว่าตั้งอยู่ ก็ไม่หยุดผสมปรุงแต่ง ไม่หยุดความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง

สังขารมีความปรุงแต่งที่เป็นสันตติ

ดัง จะพึงเห็นได้ว่า ร่างกายของทุก ๆ คนนี้เป็น(ผิด หมายถึงความคิด เจตนา) สังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งอย่างหนึ่งต้องมีความปรุงแต่งติดต่อกัน อยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุด ดังเช่นต้องหายใจเข้าหายใจออกติดต่อกันอยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุด แต่อันที่จริงนั้นไม่ใช่หมายความว่า สืบเนื่องกันเป็นอันเดียวเพราะว่ามีเกิดมีดับต่อเนื่องกันไป คือหมายความว่าเกิดดับแล้วก็เกิด แล้วก็ดับ แล้วก็เกิด ติดต่อกันไป อันเรียกว่า สันตติ

ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี้ เป็นตัวอย่างที่ปรากฏพิจารณาเห็นได้ คือเอาเป็นว่าหายใจเข้านี่เป็นเกิด และหายใจออกนั้นเป็นดับ ก็สมมติเท่านั้น แต่อันที่จริงนั้นหายใจเข้าเองก็เกิดดับเกิดดับ เข้าไปเช่นทีแรกอยู่ที่ปลายจมูก ก็แปลว่าเกิดที่ปลายจมูกแล้วก็เข้าไปก็ดับจากปลายจมูกเข้าไปถึงจุดหนึ่งก็ไป เกิดที่นั่นจุดหนึ่ง ผ่านจุดนั้นไปก็ดับจากจุดนั้นไปเกิดในจุดอื่นต่อไปอีก หายใจออกก็เหมือนกัน ก็แปลว่าเกิดเหมือนกัน คือลมหายใจนั้นในส่วนที่นำออก ก็เกิดตั้งแต่จุดออกทีแรก ผ่านจุดนั้นมาก็ดับจากจุดนั้นอีกจุดหนึ่งก็มาเกิดที่จุดนั้น ผ่านแล้วก็ดับที่จุดนั้นมาสู่อีกจุดหนึ่งก็มาเกิดอีกจุดหนึ่ง เรื่อยมาดั่งนี้ จนถึงปลายจมูกก็พ้นปลายจมูกไป ดั่งนี้คือสังขาร ปรุงแต่งไม่หยุด ชีวิตจึงดำรงอยู่ได้ นอกจากนี้อาการทั้งหลายในร่างกายนี้ ที่แบ่งเป็นอาการ ๓๑ หรืออาการ ๓๒ หรือว่าจะแบ่งตามหลักสรีรศาสตร์ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นส่วนภายนอกทั้งที่เป็นส่วนภายใน ล้วนมีการปรุงแต่งอยู่ตลอดทุกส่วนทุกสิ่ง ไม่มีหยุดการปรุงแต่งชีวิตจึงดำรงอยู่

ดับการปรุงแต่ง ดับสังขาร

เพราะ ฉะนั้น สังขารคือความปรุงแต่งนี้จึงเป็นตัวชีวิตของร่างกายนี้ เมื่อหยุดการปรุงแต่งโดยที่ไม่มีสันตติคือความสืบต่อ ก็แปลว่าชีวิตนี้ดับ ซึ่งเรียกตามภาษาธรรมะว่า กายแตกทำลาย

กาย นั้นแปลว่า ประชุม ส่วน ทั้งหลายที่มาประชุมกันเป็นกายนี้แตกทำลายจึงหยุดปรุงแต่ง ร่างกายนี้จึงเริ่มเป็นสิ่งที่เน่าเปื่อยผุพัง ต้องนำไปเผาไปฝัง แม้จะไม่เผาก็ผุพังไปเอง ซึ่งในที่สุดก็แตกสลายไปหมด เพราะเหตุว่า หยุดความเป็นสังขารคือหยุดความปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสยกเอาลมอัสสาสะปัสสาสะขึ้นมา ว่าเป็นตัว กายสังขาร เครื่องปรุงแต่งกายเป็นตัวอย่างให้พิจารณาเห็นได้

กาย นี้ดำรงชีวิตอยู่ก็เพราะมีลมหายใจเข้าลมหายใจออก ลมหายใจเข้าลมหายใจออกดับ ก็แปลว่าเครื่องปรุงกายนี้ดับ กายนี้ก็แตกสลาย จิตใจก็เหมือนกัน มีเครื่องปรุงแต่งคือมีวิตกมีวิจาร ความตรึกความตรองหรือความคิด ซึ่งเป็นเหตุให้พูดออกมาเป็นวาจา วาจาที่พูดนี้ก็เพราะมีวิตกวิจารคือความตรึกความตรอง จึงเป็นอันว่าต้องมีวิตกวิจาร ความตรึกความตรองขึ้นก่อน วาจาจึงจะออกมา ถ้าหากว่าไม่มีความตรึกความตรองก็ไม่มีวาจา เพราะฉะนั้น ความตรึกความตรอง จึงเป็นเครื่องปรุงวาจา ที่เรียกว่า วจีสังขาร

วาจานี้เป็นผล ที่ออกมาจากวิตกวิจารความตรึกความตรอง และจิตที่มีความคิดไปต่าง ๆ ดังเช่นมีวิตกวิจารความตรึกความตรอง ซึ่งเป็นความตรึกความตรองของจิตนั้นเอง ก็เพราะว่ามีสัญญามีเวทนา สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้ เวทนาก็มีความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์เป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะมีสัญญาเวทนานี้ จิตจึงมีความคิดหรือมีวิตกมีวิจารความตรึกความตรองไปต่าง ๆ ถ้าไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา จิตก็ไม่ปรากฏ คือจะไม่มีความคิด ไม่มีความตรึกความตรองต่าง ๆ เพราะฉะนั้น สัญญา เวทนานี้จึงเป็น จิตตสังขาร เครื่องปรุงจิต
 (ให้ดูในพระสูตรประกอบ)พระสารีบุตรเปรียบเทียบคนตาย กับพระอรหันต์เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ(และอีกพระสูตรหนึ่ง)  จูฬเวทัลลสูตร ลำดับในการดับสังขาร ๓ ก่อนเข้านิโรธสมาบัติ และตอนออกจากนิโรธสมาบัติ.........

อันคนที่จะตายนั้นท่านแสดงไว้ว่า ดับ วจีสังขาร คือดับวิตก วิจาร ความตรึก ความตรองก่อน วาจาจึงดับ นิ่งไม่พูด เพราะไม่มีความตรึกความตรอง แต่ว่าเพียงนี้ยังไม่ตาย ต่อไปก็ดับกายสังขาร คือดับลมอัสสาสะปัสสาสะ หยุดหายใจ แต่ว่าแม้จะดับลมหายใจดับกายสังขารก็ยังไม่ตาย จะต้องดับสัญญาเวทนาซึ่งเป็นตัวจิตตสังขาร เมื่อดับสัญญาเวทนาที่เป็นตัวจิตตสังขาร นั่นแหละจึงจะตาย

ซึ่ง ข้อนี้ก็ตรงกับความรู้ในปัจจุบันที่ว่า แม้ว่าจะดับลมหายใจเข้าออก แต่ว่าถ้าสมองยังไม่ดับคนก็ยังไม่ตาย ต้องสมองดับ เพราะฉะนั้น จึงมาตรงกับที่ว่าจะต้องดับสัญญาเวทนาซึ่งเป็นจิตตสังขาร ดับจิตตสังขาร ดับสัญญาเวทนานั่นแหละจึงจะตาย นี้คือสังขาร ๓

ทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิ เป็นสังขาร

และ เมื่อสังขาร ๓ ดังกล่าวนี้ยังมีอยู่ คนยังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ มีวิตกวิจารอยู่ มีสัญญาเวทนาอยู่ ร่างกายก็ยังดำรงอยู่และเป็นไปได้ เดินยืนนั่งนอนได้ อาการต่าง ๆ ในร่างกายนี้ใช้ได้ มือเท้าใช้ได้ จักษุประสาทโสตประสาทเป็นต้นใช้ได้ และพูดได้คิดอะไรได้ก็เพราะว่าสังขารทั้ง ๓ นี้ยังดำรงอยู่ และเมื่อเป็นดั่งนี้ จึงทำดีได้ทำชั่วได้ ตลอดจนถึงทำสมาธิจนถึงได้อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่นได้ เพราะฉะนั้น จึงมี ปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งบุญ อปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งบาป คือทำบุญทำบาป อเนญชาภิสังขาร ทำสมาธิกันได้ ดังที่มาปฏิบัติทำสมาธิกันนี้

ฉะนั้น แม้ บุญแม้บาปแม้สมาธิที่ทำกันนี้ ก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง ต้องแต่งคือต้องทำ ถ้าไม่ทำก็ไม่เกิดเป็นบุญไม่เกิดเป็นบาปไม่เกิดเป็นสมาธิที่ปรุงแนบแน่น ต้องทำคือต้องปรุงต้องแต่งให้เป็นบุญขึ้นมาจึงเป็นบุญ ให้เป็นบาปขึ้นมาจึงเป็นบาป ให้เป็นสมาธิขึ้นมาจึงเป็นสมาธิคือทำได้

มรรค ๘ เป็นยอดของสังขตธรรม

แม้ มรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเอาไว้ให้ปฏิบัติเป็นตัวมรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ทุกข้อก็เป็นสังขาร คือเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง คือต้องปฏิบัติ ต้องกระทำ ต้องปฏิบัติอบรมทิฏฐิ คือความเห็นให้เห็นถูกให้เห็นชอบ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ ต้องปฏิบัติอบรมความดำริให้ถูกให้ชอบ จึงจะเป็นสัมมาสังกัปปะความดำริชอบ ต้องปฏิบัติต้องกระทำกรรมทางวาจาให้ถูกให้ชอบ เว้นจากที่ไม่ถูกไม่ชอบจึงจะเป็นสัมมาวาจา ต้องปฏิบัติต้องกระทำกรรมทางกายให้ถูกให้ชอบเว้นจากที่ไม่ถูกไม่ชอบ จึงจะเป็นสัมมากัมมันตะ ทางอาชีพก็เหมือนกัน จึงจะเป็นสัมมาอาชีวะ ความเพียรก็เหมือนกัน จึงจะเป็นสัมมาวายามะ สติก็เหมือนกัน จึงจะเป็นสัมมาสติ สมาธิก็เหมือนกัน จึงจะเป็นสัมมาสมาธิ คือต้องทำต้องปฏิบัติ ถ้าไม่ทำไม่ปฏิบัติ มรรคมีองค์ ๘ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสเอาไว้ว่ามรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นยอดของสังขตธรรม ธรรมะที่ปรุงแต่งขึ้น เพราะว่ามรรคมีองค์ ๘ นี้ เมื่อได้ปรุงแต่งขึ้นจนเป็นมรรคสมังคี กำจัดกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ก็เสร็จกิจ ไม่ต้องปรุงแต่งกันอีกต่อไป จึงชื่อว่าเป็นยอด เหมือนอย่างขึ้นไปถึงยอดไม้แล้ว ก็ไม่ต้องขึ้นต่อไป เมื่อขึ้นไปถึงมรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นมรรคสมังคีแล้ว กำจัดกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ก็เป็นอันว่าหมดกิจ ไม่ต้องขึ้นไม่ต้องทำกันต่อไป เสร็จกิจ เพราะฉะนั้น จึงเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง แต่ว่าปรุงแต่งมรรคมีองค์ ๘ ก็นับเข้าว่า เป็นปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งบุญ และก็นับเข้าในข้ออเนญชาภิสังขาร ปรุงแต่งอเนญชาเพราะมีสมาธิอยู่ด้วย

สังขารเกิดเพราะอวิชชา

สังขารทั้งปวงนี้คือสิ่งผสมปรุงแต่ง การผสมปรุงแต่งทั้งปวงนี้มีเพราะอวิชชา เมื่อมีอวิชชาจึงมีการผสมปรุงแต่ง ดังจะพึงเห็นได้ว่า

เพราะมีอวิชชา จึงได้มีชาติความเกิดขึ้นมาเป็นสังขาร ๓   กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
และ เมื่อมีสังขาร ๓ ก็แปลว่ามีขันธ์ ๕ บริบูรณ์ มีกายใจบริบูรณ์ ก็ทำบุญทำบาปทำสมาธิกันได้ ปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ ได้และ การปฏิบัติแม้ที่เป็นบุญ ก็เพราะว่าเพื่อที่จะชำระบาปชำระกิเลส ซึ่งมีอวิชชานี่แหละเป็นหัวหน้า
ถ้าหากว่า ไม่มีอวิชชาแล้ว คือดับอวิชชาเสียได้แล้ว ก็ไม่ต้องทำบุญ ไม่ต้องทำบาปกันต่อไป เรียกว่า เสร็จกิจการ ที่ต้องทำบุญอยู่นั้น ก็เพราะว่ามีบาปที่จะต้องละ มีกิเลสที่จะต้องละ มีอวิชชาที่จะต้องละ จึงต้องทำบุญ ต้องปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ ต้องปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญากัน และเมื่อยังมีอวิชชาก็ต้องทำบาป เพราะความไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงต้องทำบาปทำบุญกันอยู่ ต้องทำสมาธิกันอยู่ ทำบุญก็เพื่อละบาปละกิเลส และจะทำบาปก่อกิเลสกันอยู่ก็เพราะยังมีอวิชชา เพราะฉะนั้น จึงแปลว่าต้องมีกิจที่จะต้องทำ

จิตหยุดปรุงแต่งเมื่อสิ้นอวิชชา

  พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนเอาไว้ว่า พึงอบรมศีล สมาธิ ปัญญา ตราบเท่าจนถึงสิ้นความติดใจยินดี บรรลุนิพพาน ดับกิเลสและกองทุกข์ได้หมดสิ้น คือแปลว่าเมื่อดับกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ดับอวิชชาได้แล้ว อวิชชาเป็นหัวหน้าใหญ่ของกิเลสทั้งหลาย หรือจะว่าอาสวะเป็นหัวหน้าใหญ่ของกิเลสทั้งหลายก็ได้ เมื่อดับได้แล้วก็เป็นอันว่าเสร็จกิจ ไม่ต้องปรุงไม่ต้องแต่งกันต่อไป ดังที่ตรัสเอาไว้ว่า จิตถึงวิสังขาร คือธรรมะที่ปราศจากความปรุงแต่ง ไม่มีความปรุงแต่งอันหมายถึงนิพพาน เพราะสิ้นตัณหาทั้งหลายก็ เป็นอันว่าจิตนี้หยุดปรุงแต่งเพราะละอวิชชาได้ จิตประกอบด้วยวิชชา คือความรู้แจ่มแจ้งถูกต้องตามความจริง วิมุตติ คือความหลุดพ้น เรียกว่าเป็นจิตที่รู้พ้น จิตนี้รู้อะไร ๆ ทุกอย่างทางอายตนะตาหูเป็นต้น แต่รู้แล้วก็ไม่ยึด หลุดพ้นทุกอย่าง เป็นจิตที่รู้พ้น จิตที่รู้ก็คือจิตที่มีวิชชา จิตที่พ้นก็คือจิตที่มีวิมุตติ รู้พ้น จึงเป็นจิตที่บรรลุวิสังขารที่เรียกว่านิพพาน คือธรรมะที่ไม่มีสังขาร ไม่ปรุงแต่งอะไรทั้งสิ้น ไม่ปรุงแต่งบุญไม่ปรุงแต่งบาป ไม่ปรุงแต่งอเนญชาทั้งหมด อยู่กับรู้และพ้น ในเมื่อวิบากขันธ์นี้ยังดำรงอยู่ ก็คงมีกายสังขารปรุงแต่งกาย อย่างหายใจเข้าหายใจออก มีวจีสังขารคือวิตกวิจาร ตรึกตรอง พูด มีจิตตสังขาร สัญญาเวทนา คิดตรึกตรองเป็นต้น

ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว จิตของพระองค์ดับกิเลสและกองทุกข์ได้สิ้นแล้ว ดับอวิชชาได้แล้ว จิตของพระองค์อยู่กับวิชชาวิมุตติ แต่พระกายก็ยังหายใจเข้าหายใจออก(กายสังขาร) และยังทรงมีวิตก วิจาร (วจีสังขาร) แสดงธรรมะสั่งสอนก็เป็นพระวาจาที่แสดงออกมา วิตกวิจารหรือวิชชาคือความรู้ วิมุตติคือความพ้น จิตของพระองค์ก็ยังเป็นจิตตสังขาร มีสัญญา เวทนานี้ปรุงแต่งจิตให้คิด จึงทรงตรึกตรอง ทรงพระญาณดูสัตว์ทั้งหลายในตอนเช้า เมื่อผู้ใดเข้าในข่ายของพระญาณว่าเป็นเวไนยชน คือบุคคลที่พึงแนะนำอบรมได้ ก็เสด็จไปทรงแสดงธรรมะโปรด ก็เป็นอันว่า กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ของพระองค์นั้นเป็นวิบากขันธ์ที่เหลืออยู่และก็ทรงใช้วิบากขันธ์ที่เหลือ อยู่นี้ด้วยพระมหากรุณา ทรงแสดงธรรมะสั่งสอนโปรดให้เวไนยนิกรพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ตามพระองค์ซึ่ง ต้องใช้อยู่ตลอดเวลาถึง ๔๕ ปี จึงดับขันธปรินิพพาน ดับกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร แต่เพราะสิ้นกิเลสหมดสิ้นแล้ว จึงไม่ทรงเกิดอีก ไม่ก่อเกิดกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารคือขันธ์ ๕ หรือนามรูปขึ้นอีก เป็นผู้ไม่เกิด เมื่อไม่เกิดก็เป็นผู้ที่ไม่แก่ไม่ตาย พ้นจากถ้อยคำที่จะพูดถึงว่าเป็นอะไร เพราะเมื่อพูดถึงว่าเป็นอะไร ก็ต้องเป็นสังขารขึ้นมา ต้องเป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมาจึงจะพูดถึงได้ แต่เมื่อไม่เป็นสังขาร ไม่เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมา ไม่เป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมา ก็ไม่มีอะไรจะพูดถึง อาจกล่าวได้แต่เพียงว่า เป็นอมตธรรม ธรรมะที่ไม่ตาย ที่เป็นวิสังขาร ไม่มีการปรุงแต่งหรือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งหมด แต่ตราบใดที่ยังมีอวิชชาอยู่ ก็จะต้องมีสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง กายผสมปรุงแต่ง ต้องทำบุญต้องทำบาปต้องทำสมาธิ ตลอดจนถึงต้องปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้นกันไป ดับอวิชชาได้แล้วก็ดับสังขารหรือสิ่งผสมปรุงแต่งได้หมดสิ้น

เพราะ ฉะนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร สิ่งผสมปรุงแต่งหรือการผสมปรุงแต่งดั่งนี้ และสิ่งผสมปรุงแต่งหรือการผสมปรุงแต่งอันเรียกว่าสังขารนี้ต้องมีอยู่ตลอด เวลา ดังชีวิตนี้ต้องมีการผสมปรุงแต่งกันอยู่ตลอดเวลาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หยุดเมื่อใดก็ดับชีวิตเมื่อนั้น

ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

๑๒ เมษายน ๒๕๒๘
(อธิบายเพิ่มเติมครับ คำว่านิพพานมี ๒ คือสภาวะ ๑.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๒.สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อนุปาทิเสสนิพพาน คืสภาวะพระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัติ หรือสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือฌาน๙ ใน
อนุปุพพวิหารเก้า 
ในพระไตรปิฏกอธิบายว่า สังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสัังขาร จิตตสังขาร ดับทั้งหมดมีอยู่ในพระสูตร เพราะฉะนั้นขันธ์ ๕ ไม่มี คือวิญญาณไม่เกิดเพราะปัจจัยไม่ครบ ธรรม ๓ ประการประชุมพร้อมไม่ได้ คือ นามรูป+ สฬายตนะ + วิญญาณ =ผัสสะ
จะเกิดเวทนาต่อไม่ได้
วทนา ๓ คือ สุขเวทนา (ราคะ ) ทุกขเวทนา (โทสะ) อทุกขมสุขเวทนา(อวิชชา) ดับ เกิดแต่การปฏิบัติธรรมคืออริยมรรคสมังคีย์รวมเป็นพลังฌานมโนมยิดธิ เพ่งดับนามรูปหรือธรรมารมณ์ ลำดับการดับในขั้นตอนอุนปุพวิหารเก้า คือเมื่อดับเนวสัญญานาสัญญานายตนะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้คือ
ดับเวทนา สัญญา แล้วเข้าอยู่ได้
สอุปาทิเสสนิพพาน คือสภาวะที่หลังจากออกนิโรธสมาบัติ แล้ว จะมีการกระทบของอายตนะ เพราะว่าอินทรีย์ยังไม่ได้ถูกทำลาย  แต่เพราะท่านทำลายอวิชชาได้แล้วดับสังขารให้ขาดสันตติ
จึงเกิดญานทัสสนะรู้อริยสัจสี่ และปฏิจจสมุปบาทตามความเป็นจริง (รู้โดยสภาวะ ไม่ใช้รู้ตัวหนังสือ หรือจำมา)ในพระไตรปิฏกจะเขียนว่าปฏิจจสมุปบาทปุถุชนรู้ไม่ได้เพราะไม่ญานหยั่งรู้ซึ่งรวมทั้ง
พระอริยบุคคล ๓ จำพวก คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ




มาฟัง ลป.สาวกโลกอุดร แสดงธรรมเรื่องปฏิจจสมุปบาทของจริงกันบ้าง



พระวินัยปิฎก
                    เล่ม ๔
                มหาวรรค ภาค ๑
        ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
                มหาขันธกะ
            โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ
    [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
และปฏิโลม
ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
                ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
                เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
                เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
                เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
                เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
                เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
                เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
                เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
                เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
                เพราะภพป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

                ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
                เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
                เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
                เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
                เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
                เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
                เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
                เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
                เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
                เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
                        พุทธอุทานคาถาที่ ๑
                เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
                ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
                ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม
                พร้อมทั้งเหตุ.(รู้ทุกข์ รู้สมุทัย)






[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
                ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
                เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
                เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
                เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
                เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
                เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
                เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
                เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
                เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
                เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
                ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
                เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
                เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
                เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
                เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
                เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
                เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
                เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
                เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
                เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
                พุทธอุทานคาถาที่ ๒
                เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
                ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
                ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความ
                สิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.(รู้ว่าเหตุปัจจัยดับ)



   [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
                ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
                เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
                เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
                เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
                เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
                เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
                เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
                เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
                เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
                เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
                ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
                เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
                เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
                เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
                เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
                เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
                เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
                เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
                เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
                เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
                พุทธอุทานคาถาที่ ๓
                เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
                ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
                กำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย
                ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.(มารและเสนามาร เกิดจากเหตุปัจจัย)
ดูเรื่องมารและเสนามารประกอบ
                        โพธิกถา จบ
                                               _________





ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓
มีอาการ ๑๒ อย่างนี้
ยังไม่หมดจดดีแล้ เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า(อวิชชาดับ) ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ
นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

[๑๐๐] ดูกรอานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการ เหล่านี้แล ๘ ประการ    เป็นไฉน
คือ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้  เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่หนึ่ง ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี      และมีผิว
พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้   เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สอง ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี    และมีผิว
พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้  เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สาม ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณ ดีและมีผิว
พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้       เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สี่ ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะ   เขียว   เขียว
ล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน   มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่
กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเขียว มี   วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้
ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน
มีรัศมีเขียว ฉันนั้น      เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้
 เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง
ล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง    เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง
หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง      เกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน
มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะ
เหลือง     เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ สำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง     แดงล้วน
มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมือง
พาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน   มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้น
เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว  มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่เจ็ด ฯ
      ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว     ขาวล้วน
มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว  หรือว่าผ้าที่กำเนิดใน
เมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน   มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมี
ความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้น
เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว  มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่แปด ฯ
            ดูกรอานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการ เหล่านี้แล ฯ
    [๑๐๑] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้แล ๘ ประการ เป็น ไฉน คือ
      ภิกษุเห็นรูป อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ
      ภิกษุมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์       ข้อที่สอง ฯ
      ภิกษุน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งาม อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป     พราะไม่ใส่ใจ
ซึ่งนานัตตสัญญา
ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า       อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้ อยู่
อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง   วิญญาณัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้ อยู่ อันนี้เป็น     วิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง    อากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์     ข้อที่หก ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึง   เนวสัญญานา
สัญญายตนะอยู่
อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด ฯ
      เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง ภิกษุ
ข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ
      ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้แล ฯ

[๔๒๕] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ ที่เสวยทุกขเวทนากล้า หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียรเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป. แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณ
ทัสสนะอันวิเศษที่พอแก่พระอริยะซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้. ชะรอย
ทางแห่งความตรัสรู้พึงเป็นทางอื่นกระมัง. เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว
สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ
ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา
ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย.


[๔๒๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริต่อไปว่า ความสุขนั้น เราผู้มีกายถึงความซูบ
ผอมมาก ไม่ทำได้ง่ายเพื่อจะบรรลุ ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและกุมมาสเถิด.
เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและกุมมาส. ครั้งนั้น ภิกษุทั้ง ๕ ที่เฝ้าบำรุงเราด้วยหวังว่า
พระสมณะโคดมบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. เมื่อใด เรากินอาหารหยาบ
คือข้าวสุกและ กุมมาส เมื่อนั้นภิกษุทั้ง ๕ นั้นก็ระอาหลีกไปด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมมักมาก
คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว.
     [๔๒๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้กายมีกำลังแล้ว สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้สุขเวทนาที่
เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เราบรรลุ
จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้. เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เราย่อม
ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่
อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             ตรัสการบรรลุวิชชาที่ ๒
     [๔๒๘] เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ. เราเห็นหมู่สัตว์
ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ
อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไป
อยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
     [๔๒๙] เราเมื่อมีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. ย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสว
สมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำๆ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูกรอัคคิเวสสนะ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๓ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความ
เพียร ส่งจิตไปอยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสง
สว่างเกิดขึ้นแล้ว. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
     [๔๓๐] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า เป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย.
ถึงแม้บุคคลคนหนึ่งๆ สำคัญเราอย่างนี้บ้างว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภเราเท่านั้น. ท่าน
อย่าพึงเห็นอย่างนั้น พระตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลเหล่านั้นโดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้รู้
แจ้งอย่างเดียว. เราประคองจิต สงบตั้งมั่น ทำให้เป็นสมาธิ ณ ภายใน ในสมาธินิมิตเบื้องต้น
จนจบคาถานั้นทีเดียว เราอยู่ด้วยผลสมาธิเป็นสุญญะ ตลอดนิตยกาล.
     ส. ข้อนี้ ควรเชื่อต่อพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แต่พระโคดม
ย่อมรู้เฉพาะว่า พระองค์เป็นผู้หลับในกลางวันบ้างหรือ?
     พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาตใน
กาลภายหลังภัต ปูสังฆาฏิให้เป็น ๔ ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับโดยข้าง
เบื้องขวา.
     ส. พระโคดมผู้เจริญ สมณะและพราหมณ์เหล่าหนึ่ง ย่อมกล่าวข้อนั้นในความอยู่ด้วย
ความหลง.

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

วิโมกข์ ๓ ( ลักษณะความหลุดพ้น)

            มหาวรรค วิโมกขกถา
            บริบูรณ์นิทาน

    [๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน
(ลักษณะของความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา)
คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑
        ดูกรภิกษุทั้งหลายวิโมกข์ ๓ ประการนี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายใน) ๑
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายนอก) ๑
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์(วิโมกข์มีการออกแต่ส่วนทั้งสอง) ๑
วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์วิโมกข์ ๔
อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจาก
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
   ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย
เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่ารูปในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้
(ชื่อเหมือนในอรูปฌาน)
อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ 
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์

อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
นวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์(อนุปาทิเสสนิพพาน)
สมยวิโมกข์ อสมยวิโมกข์ สามายิกวิโมกข์ อสามายิกวิโมกข์ กุปปวิโมกข์(วิโมกข์ที่กำเริบได้) อกุปปวิโมกข์ (วิโมกข์ที่ไม่กำเริบ) โลกิยวิโมกข์ โลกุตตรวิโมกข์ สาสววิโมกข์ อนาสววิโมกข์ สามิสวิโมกข์ นิรามิสวิโมกข์ นิรามิสตรวิโมกข์ ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ปณิหิตปัสสัทธิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ วิสุญญตวิโมกข์ เอกัตตวิโมกข์ นานัตตวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ญาณวิโมกข์ สีติสิยาวิโมกข์ ฌานวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ฯ
     สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
 อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
 เธอย่อมไม่ทำความยึดมั่นในนามรูปนั้นเพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ว่างเปล่า
 นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ
   อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ใน
เรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตนและจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
 เธอย่อมไม่ทำเครื่องกำหนดหมายในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์
ไม่มีเครื่องกำหนดหมายนี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ฯ
  อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ใน
เรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
 เธอย่อมไม่ทำความปรารถนาในนามรูปนั้นเพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มี
ความปรารถนา นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ

(คห. สรุป  วิโมกข์ ๓ พูดถึง นามรูป ว่างจากความเป็นตัวตน  ลป.เทศน์ความคิดทั้งอารมณ์ด้วย)
    อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อรูปสมาบัติ ๔ เป็นพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    [๔๗๑] วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน(รูปฌาน)
ปฐมฌานออกจาก
นิวรณ์
ทุติยฌานออกจาก
วิตกวิจาร
ตติยฌานออกจากปีติ
จตุตถฌานออกจาก
สุขและทุกข์ นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ





    วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน (อรูปฌาน)
      อากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจากรูป สัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
       วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา
      อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา      
      เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา
นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉ (ระดับอริยบุคคล)
     โสดาปัตติมรรคออกจากสักกายทิฐิ  วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
    สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
     อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนละเอียดๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้นจากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภาย
นอก
    อรหัตตมรรคออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    [๔๗๒] วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตกวิจาร ปีติ สุข
และเอกัคคตาจิตเพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตก วิจาร ปีติ สุข และ
เอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา
อนัตตานุปัสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
อรหัตตมรรค
นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    [๔๗๓] วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่ง
ปฐมฌาน แห่งทุติยฌาน แห่งตติยฌาน แห่งจตุตถฌาน
มีอยู่นี้เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่ง
อากาสานัญจายตนสมาบัติ
แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ 
แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
มีอยู่
นี้เป็นวิโมกข์ ๔ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค
สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้
เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
    [๔๗๔] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลายอย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน ย่อมได้เฉพาะ
นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วกำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อม
น้อมจิตไปในนิมิตสีเสียวภายนอก ย่อมได้เฉพาะนีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว
 ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้วครั้นแล้วย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้เป็นรูป เธอเป็นผู้มีความสำคัญว่าเป็นรูป ภิกษุบางรูป
ในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ...นิมิตสีขาวในภายใน ย่อม
ได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว
ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็น
อันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมี
ความคิดอย่างนี้ว่า นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้ เป็นรูปเธอย่อมมีความสำคัญว่า
เป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้ ฯ
    [๔๗๕] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายใน เห็น
รูปทั้งหลายในภายนอก อย่างไร ฯ
       ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน ไม่ได้นีลสัญญา
 ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญาเธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว
ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วเธอย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
 เราไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายใน นิมิตสีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป เธอก็มีรูปสัญญา ภิกษุบาง
รูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง ... นิมิตสีแดง ...นิมิตสีขาวในภายใน ไม่ได้
โอทาตสัญญา ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวภายนอกย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็น
อันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วกำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วเธอย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอ
มีความคิดอย่างนี้ว่าเราไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายใน นิมิตสีขาวในภายนอกนี้เป็นรูป เธอ
ก็มีรูปสัญญา ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายใน เห็นรูปทั้ง
หลายในภายนอก อย่างนี้ ฯ


   
[๔๗๖] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อย่างไร ฯ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔
 ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง มีใจประกอบ
ด้วยกรุณา ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชังมีใจประกอบด้วยมุทิตา
 ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไป
ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง ชื่อว่าวิโมกข์
เพราะอรรถว่าภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อย่างนี้ ฯ
    [๔๗๗] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วง
รูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ นี้เป็นอากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิโมกข์ ฯ
    วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็น
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ ฯ
    อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
โดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติด้วยมนสิการว่า สิ่งน้อยหนึ่งไม่มี
นี้เป็นอากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ ฯ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติ โดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นเนวสัญญา
นาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ ฯ
    สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ  นี้เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
วิโมกข์ ฯ
    [๔๗๘] สมยวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสมยวิโมกข์ ฯ
    อสมยวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นอสมยวิโมกข์ ฯ
    สามยิกวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสามยิกวิโมกข์ ฯ
    อสามยิกวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นอสามยิกวิโมกข์ ฯ
    กุปปวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นกุปปวิโมกข์ ฯ
    อกุปปวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นอกุปปวิโมกข์ ฯ
    โลกิยวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นโลกิยวิโมกข์ ฯ
    โลกุตตรวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นโลกุตตรวิโมกข์ ฯ
    สาสววิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสาสววิโมกข์ ฯ
    อนาสววิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔  และนิพพานนี้เป็นอนาสววิโมกข์ ฯ
    [๔๗๙] สามิสวิโมกข์เป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็นสามิสวิโมกข์ ฯ
    นิรามิสวิโมกข์เป็นไฉน วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็นนิรามิสวิโมกข์ ฯ
    นิรามิสตรวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นนิรามิสตรวิโมกข์ ฯ
    ปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ อรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นปณิหิตวิโมกข์ ฯ
    อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
    ปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌานฯลฯ แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ ฯ(รูปฌาน อรูปฌาน ไม่ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ)
    สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ
    วิสุญญตวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นวิสุญญตวิโมกข์ ฯ
    เอกัตตวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นเอกัตตวิโมกข์ ฯ
    นานัตตวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นนานัตตวิโมกข์ ฯ
    [๔๘๐] สัญญาวิโมกข์เป็นไฉน  สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐  สัญญา
วิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยายพึงมีได้ ฯ
    คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ฯ
    อนิจจานุปัสนาญาณพ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ทุกขา
นุปัสนาญาณพ้นจากสุขสัญญา ... อนัตตานุปัสนาญาณพ้นจากอัตตสัญญา ... นิพพิทานุปัสนา
ญาณพ้นจากนันทิสัญญา (ความสำคัญโดยความเพลิดเพลิน) ... วิราคานุปัสนาญาณพ้นจากราค
สัญญา ... นิโรธานุปัสนาญาณพ้นจากสมุทยสัญญา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ พ้นจากอาทาน
สัญญา (ความสำคัญโดยความถือมั่น) ... อนิมิตตานุปัสนาญาณพ้นจากนิมิตตสัญญา ... อัปปณิหิตา
นุปัสนาญาณพ้นจากปณิธิสัญญา ... สุญญตานุปัสนาญาณพ้นจากอภินิเวสสัญญา (ความสำคัญ
โดยความยึดมั่น) ... เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐
 สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
    ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้นจึง
เป็นสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูปพ้นจากอภินิเวสสัญญา
 เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐
เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ  โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
    ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร
ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ พ้นจากนิจจสัญญาเพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ฯลฯ
   ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็น
สัญญาวิโมกข์ ๑ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้สัญญาวิโมกข์ ฯ
    [๔๘๑] ญาณวิโมกข์เป็นไฉน ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณาวิโมกข์
๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้ ฯ
    คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร อนิจจานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจาก(อวิชชาหรือโมหะ)
ความหลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์
ทุกขานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเป็นสุข จากความไม่รู้ ... (เวทนา)
อนัตตานุปัสนายถาภูตญาณพ้นจากความหลงโดยความเป็นตัวตนจากความไม่รู้ ...(อัตตา รูปตัวตน)
นิพพิทานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเพลิดเพลิน จากความไม่รู้ ...(ตัณหา)
วิราคานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความกำหนัด จากความไม่รู้ ...
นิโรธานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยเป็นเหตุให้เกิดจากความไม่รู้ ...
ปฏินิสสัคคานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความถือมั่น จากความไม่รู้ ...
อนิมิตตานุปัสนายถาภูตญาณ  พ้นจากความหลงโดยความเป็นนิมิต จากความไม่รู้ ...
อัปปณิหิตานัสนายถาภูตญาณพ้นจากความหลงโดยความเป็นที่ตั้ง จากความไม่รู้ ...
สุญญตานุปัสนายถาภูตญาณพ้นจากความหลงโดยความยึดมั่น จากความไม่รู้ ...
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ


   
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความหลงโดยความเป็น
สภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ฯลฯ
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป พ้นจากความหลงโดยความยึดมั่น จากความรู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
    ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร
ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ พ้นจากความหลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่
รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ฯลฯ
    ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ พ้นจากความหลงโดยความยึดมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นญาณวิโมกข์ ฯ
    [๔๘๒] สีติสิยาวิโมกข์เป็นไฉน สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติ
สิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย พึงมีได้ ฯ
    คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ฯ
    อนิจจานุปัสนา เป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความ
เร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์
ทุกขานุปัสนา ... โดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนา ... โดยความเป็นตน ... นิพพิทานุปัสนา ...
โดยความเพลิดเพลิน ...วิราคานุปัสนา ... โดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนา ... โดยความเป็น
เหตุเกิดปฏินิสสัคคานุปัสนา ... โดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนา ... โดยมีนิมิตเครื่องหมาย
 ... อัปปณิหิตานุปัสนา ... โดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสนาเป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม
 พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นจึงเป็น
 สีติสิยาวิโมกข์สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ



   
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นญาณอันมีความเย็นอย่างเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็น
สีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยายพึงมีได้อย่างนี้ ฯ
    การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใน
จักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นญาณอันมีความเย็นอย่างเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความ
เร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์
ฯลฯ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วย
สามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯ
    [๔๘๓] ฌานวิโมกข์เป็นไฉนนกขัมมะเกิด เผากามฉันทะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็น
ฌาน เนกขัมมะเกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายี
บุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ความไม่พยาบาทเกิด เผา
ความพยาบาท เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่พยาบาทเกิดพ้นไป เผาพ้นไป ... อาโลกสัญญาเกิด
 เผาถีนมิทธะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่ฟุ้งซ่านเกิด เผาอุทธัจจะ ... การกำหนดธรรมเกิด
เผาวิจิกิจฉา ... ญาณเกิด เผาอวิชชา ... ความปราโมทย์เกิดเผาอรติ ... ปฐมฌานเกิด เผานิวรณ์
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ฯลฯ อรหัตมรรคเกิด เผากิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน เกิด
พ้นไป เผาพ้นไปเพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่
เกิดและที่ถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ นี้เป็นฌานวิโมกข์ ฯ
    [๔๘๔] อนุปาทาจิตตวิโมกข์เป็นไฉน อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิ
ถือมั่นโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความกำหนัด ...
นิโรธานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ พ้นจาก
ความถือมั่นโดยความถือผิด ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยนิมิต ...อัปปณิหิตานุ
ปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสนาญาณพ้นจากความถือมั่นโดย
ความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตต
วิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยายพึงมีได้อย่างนี้ ฯ




    ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นสภาพ
เที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือการพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป
พ้นจากความถือมั่นโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
    ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร ใน
วิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะพ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุ
นั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า ในชราและมรณะ พ้น
จากความถือมั่นโดยความยึดมั่นเพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑
 เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
    [๔๘๕] อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร ทุกขานุปัสนาญาณ
อนัตตานุปัสนาญาณ นิพพิทานุปัสนาญาณ วิราคานุปัสนาญาณ นิโรธานุปัสนาญาณ ปฏิ
นิสสัคคานุปัสนาญาณ อนิมิตตานุปัสนาญาณ อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ สุญญตานุปัสนา
ญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร ฯ
    อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๑ อนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๑ วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๔ ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๓ อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ สุญญตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ ฯ
วิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดย
ปริยาย พึงมีได้ ฯ
    คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ฯ
    อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุ
ปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นตัวตน... นิพพิทานุปัสนาญาณ พ้นจากความ
    [๔๘๖] อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน อนิจจานุปัสนา
ญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อนิจจานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
    ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้ ฯ
    อนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน อนัตตานุปัสนาญาณ
 ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อนัตตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
    นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน นิพพิทานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้ ฯ
    วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน วิราคานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้ ฯ
    นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นิโรธานุ
ปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เหล่านี้ ฯ
    ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน ปฏินิสสัคคานุปัสนา
ญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน
 ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔เหล่านี้ ฯ
    อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน อนิมิตตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อนิมิตตานุปัสนาญาณ
 ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
    อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน อัปปณิหิตานุปัสนาญาณย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้ ฯ
    สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน สุญญตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน สุญญตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
    ญาณ ๔ เหล่านี้ คือ
อนิจจานุปัสนาญาณ ๑ อนัตตานุปัสนาญาณ ๑ อนิมิตตานุปัสนาญาณ ๑ สุญญตานุปัสนาญาณ ๑

ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑   
ญาณ ๔ เหล่านี้ คือทุกขานุปัสนาญาณ ๑ นิพพิทานุปัสนาญาณ ๑ วิราคานุปัสนาญาณ ๑ อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ๑
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทานญาณ ๒ เหล่านี้ คือนิโรธานุปัสนาญาณ ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจาก อุปาทานทั้ง ๔ คือ
 กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑ นี้เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯ
          จบวิโมกขกถา ปฐมภาณวาร ฯ


    [๔๘๗] ก็วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความนำออกไปจากโลก(ขันธ์ห้า)
 ด้วยความที่จิตแล่นไปในอนิมิตตธาตุ โดยความพิจารณาเห็นสรรพสังขาร โดยความหมุนเวียนไป
ตามกำหนด ด้วยความที่จิตแล่นไปในอัปปณิหิตธาตุโดยความองอาจแห่งใจในสรรพสังขาร และ
ด้วยความที่จิตแล่นไปในสุญญตาธาตุโดยความพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยแปรเป็นอย่างอื่น
 วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความนำออกไปจากโลก ฯ
    [๔๘๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา  สังขาร
ย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความสิ้นไป
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของสูญ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิตมากด้วยธรรมอะไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมไป เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตมากด้วยความรู้ ฯ
    บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป  เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อม
ได้อินทรีย์เป็นไฉน ฯ
    บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป  ย่อมได้สัทธินทรีย์
ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้สมาธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์ ฯ
    [๔๘๙] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์
ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย (ปัจจัย
เกิดร่วมกัน) เป็นอัญญมัญญปัจจัย(เป็นปัจจัยของกันและกัน) เป็นนิสสยปัจจัย (ปัจจัยที่อาศัย
กัน) เป็นสัมปยุตตปัจจัย (ปัจจัยที่ประกอบกัน) เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา
เพราะอรรถว่ากระไร ใครย่อมเจริญ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ อินทรีย์ที่
เป็นใหญ่เป็นไฉน ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตามากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็น
ไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัยสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร
ใครย่อมเจริญ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์เป็น
ใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นธรรมมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ
การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ
สมาธินทรีย์เป็นใหญ่ ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตามากไปด้วยความรู้  ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
 นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็น
อันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด ฯ
    [๔๙๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์
ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัยเป็นสัมปยุตตปัจจัยในเวลาแทงตลอด มีอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัยย์
นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา  เพราะอรรถว่ากระไร
ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน ... ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน ... ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ  สัทธินทรีย์เป็น
ใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย ในเวลาแทงตลอด ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งปฏิเวธที่เป็น
ไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าปฏิเวธ
เพราะอรรถว่าเห็น ด้วยอาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้แทงตลอดก็ย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ย่อมแทงตลอด ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่ ... ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ ... ฯ
    [๔๙๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อินทรีย์อะไร
มีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
 เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญิน
ทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
    [๔๙๒] บุคคลผู้เชื่อน้อมใจไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลทำให้แจ้ง
เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลบรรลุแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม
 เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าทิฐิปัตตะ บุคคลเชื่ออยู่ย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต
บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั่นจึงชื่อว่า
กายสักขี ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าทิฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ
สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขี
ก็ได้ เป็นทิฐิปัตตะก็ได้ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย ฯ
    คำว่า พึงเป็น คือ พึงเป็นอย่างไรเล่า ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง  เพราะสัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลพึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ...
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตาสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคล
จึงเป็นสัทธาธิมุตบุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์อย่างนี้ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณ
ยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
บุคคลจึงเป็นกายสักขีบุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์อย่างนี้ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง...เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
 บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ บุคคล ๓จำพวกนี้ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์อย่างนี้
คือ สัทธาธิมุตบุคคล๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกาย
สักขีก็ได้เป็นทิฐิปัตตะก็ได้ อย่างนี้ ฯ
    บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑
เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฐิปัตตะอย่างหนึ่ง เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นสัทธาธิมุตบุคคล
 เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็น
กายสักขีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง จึงเป็นทิฐิปัตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือสัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑
 ทิฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่งเป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฐิปัตตะอย่างหนึ่ง
อย่างนี้ ฯ
    [๔๙๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี ประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธานุสารี
บุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสย
ปัจจัย สัมปยุตตปัจจัยการเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธานุสารีบุคคล
 เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ที่เป็น
ไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
 อินทรีย์ ๔เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตบุคคล
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
 บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล
 ได้อรหัตมรรคทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ที่
เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญ
ดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่ง
สัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุต ฯ
    [๔๙๔] เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์
ที่ไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมี
ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสมา
ธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิมรรค ทำให้
แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล
 เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่าเป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาต
ปัจจัย... สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคล
ทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี ฯ
    [๔๙๕] เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมานุสารีบุคคล
อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นธรรมานุสารี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
 เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผลเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็น
ทิฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นทิฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งบุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค
 ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้ง
อรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้น
มี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้ง
อรหัตผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
    [๔๙๖] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ
 บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือจักถึงได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้
แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทงตลอดทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้
แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้องหรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือ
จักถึงความชำนาญถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือว่าจักถึงความสำเร็จ ถึงความ
แกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุต
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถ
แห่งปัญญินทรีย์ ฯ
    [๔๙๗] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งความไม่
พยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน การกำหนดธรรม ญาณความปราโมทย์
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา
อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา  วิราคานุปัสนา   นิโรธานุปัสนา   ปฏินิสสัคคานุปัสนา
ขยานุปัสนา วยานุปัสนา  วิปริณามานุปัสนา   อนิมิตตานุปัสนา  สุญญตานุปัสนา  อธิปัญญา
ธรรมวิปัสนา ยถาภูตญาณทัสนะ อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา  วิวัฏฏนานุปัสนา
โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตมรรค ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ  ซึ่งสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็บุคคลเหล่า
ใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ
ถึงแล้ว ย่อมถึงหรือจักถึง ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือ
จักแทงตลอด ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วย่อมถูกต้อง หรือ
จักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว
ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือ
จักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขี
ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
    [๔๙๘] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา๔ ฯลฯ
บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งแทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทงตลอดซึ่งวิชชา ๓
ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งศึกษาแล้ว ย่อมศึกษา หรือจักศึกษาซึ่งสิกขา ๔ ทำให้แจ้ง
แล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้องหรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญ
แล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจัก
ถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคล
ทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ  เจริญมรรค
บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
    [๔๙๙] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๔
คือ บุคคลย่อมแทงตลอดทุกขสัจเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทง
ตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็น
การแทงตลอดด้วยภาวนาการแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วย
อาการ๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ
เท่าไร ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๙ คือ
    ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา
    แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา
    แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา การแทงตลอดด้วยการเจริญมรรคสัจ การแทงตลอดด้วยอาการกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง การแทงตลอดด้วยการละสังขารทั้งปวง การแทงตลอดด้วยการเจริญกุศลทั้งปวง   และการแทงตลอดด้วยการทำให้ แจ้งมรรค ๔ แห่งนิโรธ
 การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๙ นี้
 เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
            จบทุติยภาณวาร
    [๕๐๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา สังขารย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความสิ้นไป
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว
 เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
 จิตย่อมมากด้วยอะไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมมากด้วยความน้อมใจเชื่อ
 เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อมมากด้วยความสงบ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมมากด้วยความรู้ ฯ
    บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ
 มนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมได้วิโมกข์เป็นไฉน ฯ
    บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ  ย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้   ย่อมได้สุญญตวิโมกข์ ฯ
    [๕๐๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง  เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
 วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัยมีกิจอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร
ใครเจริญ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ ... ใครเจริญ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ ... ใครเจริญ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
 อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็น
อันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นเจริญ การ
เจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... การเจริญวิโมกข์
ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... การเจริญวิโมกข์
ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด ฯ
    [๕๐๒] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
 อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่า
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ในเวลาแทงตลอด วิโมกข์ไหนเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไป
ตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มี
กิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ ... ชื่อ
ว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ ... ชื่อ
ว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อนิมิตต
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนา ที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัยมีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด
อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัยอัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา
เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็นแม้บุคคลผู้แทงตลอดอย่างนี้
ก็ชื่อว่าเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียว
กัน แม้ในเวลาแทงตลอด อัปปณิหิตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตาม
อัปปณิหิตวิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียวกัน
 แม้ในเวลาแทงตลอด สุญญตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามสุญญต
วิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด ฯ
    [๕๐๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ วิโมกข์อะไรมี
ประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอนิมิตต
วิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นกายสักขี     เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
    [๕๐๔] บุคคลเชื่อน้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตบุคคล
    ทำให้แจ้งเพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขีบุคคล
    บุคคลถึงแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฐิปัตตบุคคล
    บุคคลเชื่อย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตตบุคคล
    บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่ากายสักขีบุคคล
    ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าทิฐิปัตตบุคคล ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้วหรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ บุคคลทั้งหมด
นั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ
หรือจักเจริญซึ่งความไม่พยาบาทอาโลกสัญญา ฯลฯ ความไม่ฟุ้งซ่าน ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์   ละสมุทัย   ทำให้แจ้งนิโรธ  เจริญมรรค
บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ฯ
    [๕๐๕] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔
บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะได้ด้วยอาการ ๔
คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา
แทงตลอดสมุทัยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ
แทงตลอดนิโรธสัจเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา
แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะ
 ด้วยอาการ ๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะได้ด้วยอาการ
เท่าไร ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะได้ด้วยอาการ ๙
คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ฯลฯและการแทงตลอดด้วยการทำ
ให้แจ้งซึ่งมรรค ๔ แห่งนิโรธ การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอด
สัจจะด้วยอาการ ๙ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ
แห่งอัปปณิหิตวิโมกข์เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์
    [๕๐๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน
ตามความเป็นจริง สัมมาทัศนะ ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคล
เห็นดีแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร บุคคลย่อม
ละความสงสัยได้ที่ไหน ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ... ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็น
จริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็น
อนัตตา ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไรบุคคลย่อมละความสงสัยได้ในที่ไหน ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ ย่อมเห็นนิมิตตามความเป็นจริง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ใน
สัมมาทัศนะนี้ ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นความเป็นไปตามความเป็นจริง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็น
ทุกข์ ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นนิมิตและความเป็นไปตาม
ความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอันบุคคลเห็นดีแล้ว
โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้
ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ (ปัญญาเครื่องข้ามความ
สงสัย) มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ มีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    [๕๐๗] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา อะไรย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง นิมิตย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา ทั้งนิมิตและความเป็นไปย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว  อาทีนวญาณ และ
นิพพิทา มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว  อาทีนวญาณ และ
นิพพิทา มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสนา และสุญญตานุปัสนา มีอรรถต่างกัน และมี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสนา และสุญญตานุปัสนา มีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    [๕๐๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา ญาณ คือ การพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ คือ การพิจารณานิมิต ย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณ คือ การพิจารณาความเป็นไปย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณาทั้งนิมิตและความเป็นไปย่อมเกิดขึ้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ
 มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ
มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
จิตย่อมออกไปจากอะไร ย่อมแล่นไปในที่ไหน ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมออกไปจากนิมิต ย่อมแล่นไปใน
นิพพานอันไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อม ออกไปจากความเป็นไป ย่อมแล่น
ไปในนิพพานอันไม่มีความเป็นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากนิมิตและ
ความเป็นไป ย่อมแล่นไปในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ ซึ่งไม่มีนิมิต ไม่มีความเป็นไป ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก และโคตรภูธรรม
 มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกันหรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก และโคตรภูธรรม
มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยวิโมกข์อะไร ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์ ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วนทั้งสองและมรรคญาณ
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วนทั้งสองและมรรคญาณ
มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    [๕๐๙] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วย
อาการเท่าไร ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ เป็นไฉน ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ คือ ด้วยความเป็นใหญ่ ๑ ด้วยความตั้ง
มั่น ๑ ด้วยความน้อมจิตไป ๑ ด้วยความนำออกไป ๑ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญต
วิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างนี้ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้งมั่นอย่างไร ฯ
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่ง
อนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓
ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้งมั่นอย่างนี้ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความน้อมจิตไปอย่างไร ฯ
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งอนิมิตต
วิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมี
ในขณะต่างกันด้วยความน้อมจิตไปอย่างนี้ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำออกไปอย่างไร ฯ
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ
 ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอัน
เป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไป
สู่นิพพานอันเป็นที่ดับด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำ
ออกไปอย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ นี้ ฯ
    [๕๑๐] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ คือ ด้วยความประชุมลง ๑ ด้วยความ
บรรลุ ๑ ด้วยความได้ ๑ ด้วยความแทงตลอด ๑ ด้วยความทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความถูกต้อง ๑
 ด้วยความตรัสรู้ ๑ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ด้วยความบรรลุ ด้วยความได้
ด้วยความแทงตลอด ด้วยความทำให้แจ้ง ด้วยความถูกต้อง  ด้วยความตรัสรู้ อย่างไร ฯ(อาการ ๗)
    บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมพ้นจากนิมิต เพราะเหตุนั้น วิโมกข์
นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลย่อมพ้นจากอารมณ์ใด ย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด
เพราะเหตุนั้นวิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความ
ประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมพ้นจากความปรารถนา
อันเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็น
ผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้นวิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะ
นิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใดเพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตใดไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓
ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมพ้นจากความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มี
นิมิต เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคล
ไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ...ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมี
ในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ นี้
    [๕๑๑] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นประธานมีอยู่ ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์มีอยู่
ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์มีอยู่ วิโมกข์วิวัฏมีอยู่ การเจริญ
วิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่งวิโมกข์มีอยู่ ฯ
    วิโมกข์เป็นไฉน คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
    สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็น
สภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น โดย
ความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุ
ปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
ความยึดมั่นโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยเป็นเหตุเกิด ... ปฏิ
นิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้น
จากความยึดมั่นโดยความเป็นนิมิต ...อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความ
เป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง ... ญาณ คือ การพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่น
ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
 ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดย
ความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็น
ความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่างเพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญต
วิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ
    [๕๑๒] อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
ความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
เครื่องหมายโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นตัวตน
... นิพพิทานุปัสนาญาณย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
ความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความถือมั่น ... อนิ
มิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายทุกอย่าง ...อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
เครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง ...สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น
 ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิตในรูป ย่อม
พ้นจากนิมิตทุกอย่าง ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมาย
โดยความเป็นที่ตั้ง ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
ความยึดมั่น ...ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
 ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือการพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิตในชราและมรณะ ย่อม
พ้นจากนิมิตทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความ
ไม่มีที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะย่อมพ้นจากเครื่อง
หมายโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ฯ
    [๕๑๓] อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดย
ความเป็นสภาพเที่ยง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
ที่ตั้งโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทา
นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้ง
โดยความกำหนัด ...นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคา
นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้ง
โดยความเป็นเครื่องหมาย ... อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง ... สุญญตานุ
ปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น ...ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป
ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ
คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปป
ณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ใน
สัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็น
สภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มี
ที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ
คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น
 จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
    [๕๑๔] ธรรมอันเป็นประธานเป็นไฉน ธรรมอันเป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ เป็น
กุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้ธรรมอันเป็นประธาน ฯ
    ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์เป็นไฉน นิพพานอันเป็นที่ดับ เป็นอารมณ์ของ
ธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์ ฯ
    ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศลธรรมแม้ทุกอย่าง
 เป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ นี้ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ ฯ
    ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์เป็นไฉน กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรมแม้ทุกอย่าง
เป็นธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ นี้ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ ฯ
    [๕๑๕] วิโมกขวิวัฏเป็นไฉน สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ
สัจจวิวัฏ บุคคลหมายรู้หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัญญาวิวัฏ บุคคลคิดอยู่หลีกออกไป
 เพราะเหตุนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏ บุคคลรู้แจ้งหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏ บุคคล
ทำความรู้หลีกออกไปเพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏ บุคคลปล่อยวางหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น
 จึงเป็นวิโมกขวิวัฏ บุคคลหลีกออกไปในธรรมอันมีความถ่องแท้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัจจวิวัฏ
 สัญญาวิวัฏมีในที่ใด เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น เจโตวิวัฏมีในที่ใดสัญญาวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ
 เจโตวิวัฏมีในที่ใด จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้นจิตตวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏจิตตวิวัฏมีในที่ใด ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น ญาณวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ
 เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏมีในที่ใด วิโมกขวิวัฏ
ก็มีในที่นั้น วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญา
วิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด สัจจวิวัฏก็มีในที่นั้น สัจจวิวัฏมีในที่ใด
 สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏจิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น นี้เป็นวิโมกข์วิวัฏ ฯ
    [๕๑๖] การเจริญวิโมกข์เป็นไฉน การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งปฐมฌาน ...
ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ...
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ... โสดาปัตติมรรค ... สกทาคามิมรรค
...อนาคามิมรรค ... การเสพ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอรหัตมรรค นี้เป็นการเจริญ
วิโมกข์ ฯ
    ความสงบระงับแห่งวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน ...ทุติยฌาน ...
ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ  วิญญาณัญจายตนสมบัติ  อากิญจัญญายตน
สมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ  โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค อนาคามิผลแห่งอนาคา
มิมรรค อรหัตผลแห่งอรหัตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่งวิโมกข์ ฯ
            จบตติยภาณวาร ฯ
            จบวิโมกขกถา
            ______