หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กาลภายหลัง ตติยสังคายนา ศาสนาเสื่อม


เถรคาถา ติงสนิบาต

                  ๑. ปุสสเถรคาถา
              คาถาสุภาษิตของพระปุสสเถระ
    [๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใส
        มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต
        ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร
        กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด?
    พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
        ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดี
        อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุ
        เป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ
        โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
        คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพ
        กันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
        ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้
      
ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มี
        กำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล
        ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่
        เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย
        ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา
        ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ
        ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ
        วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก
        กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ
        อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
        เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วย
        สีงา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่
จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ
        ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก
        เป็นธงชัยของพระอรหันต์
พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
        เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น
        ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา
        ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา
        ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป
        อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก
        ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว
        มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก
        ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ
        เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย
        บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่
        พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด
        ครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ
        อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว
        นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย
        ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ
        ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว
        ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ
        นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์
        กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร
        ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก
        ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
        โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน
        ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ
        อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว
        ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ
        ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ
        ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง
        พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน
        อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
        จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี
        ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่ ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.
       ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้
        เมื่อจะให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก  จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา
        ความว่า ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคต
        อย่างนี้ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
        มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล
        ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน
        ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่
        ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ
       ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.




ฌานและ ปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน


คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
    [๓๕] ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี ความ
    สำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี ความ
    สำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความ
    สำรวมด้วยใจเป็นความดี ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุ
    ผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ
    สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตตั้งมั่น
    อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใด
    สำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถ
    และธรรมภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี
    แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
    ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึงเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะ
    ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภ
    น้อยก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน
     ผู้ใดไม่มีความยึดถือใน
 นามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม
     ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มี

    อยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใส
    แล้วในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร
    เป็นสุข
(นิพพาน)ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว เธอตัด
    ราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานในภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิย
    สังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง
    ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้าม
    โอฆะได้ ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอหมุนไป
    ในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะอย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญ
    ว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา  ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

ความยินดีอันมิใช่ของ
    มนุษย์ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่รือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรม
    โดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความ
    เสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและ
    ปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
    อยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความ
    สันโดษ และความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา
    ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจดไม่เกียจคร้าน
    ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วย
    ความปราโมทย์ เพราะความประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาด
    ในอาจาระนั้นจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    จงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยวแห้งแล้ว
    ฉะนั้น ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ มีใจตั้งมั่นดี มีอามิส
    ในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตน
    เอง จงสงวนตนด้วยตนเอง ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว
    มีสติ จักอยู่เป็นสุข ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็นคติของตน
    เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือนพ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น
    ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุ
    สันตบทอันเป็นที่เข้าไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข ภิกษุใดแล ยังเป็น
    หนุ่มย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
    ไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ
    จบภิกขุวรรคที่ ๒๕

    คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
    [๓๖] ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จงบรรเทากาม
    ทั้งหลายเสีย ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว
    จะเป็นผู้รู้นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เมื่อใด พราหมณ์
    เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้ง ๒ ประการ เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบ
    ทั้งปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้ง ย่อมถึงความสาบสูญไป ฝั่งก็ดีธรรมชาติ
    มิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและธรรมชาติมิใช่ฝั่ง ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด เรากล่าวผู้นั้นซึ่ง
    มีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว ผู้ไม่ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์
    เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌานปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว
    ไม่มีอาสวะบรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์
    ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างใน
    กลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่าพราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง
   ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น บุคคลผู้มีบาปอันลอยแล้วแล
  เรากล่าวว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลว่าเป็นสมณะเพราะประพฤติสงบ บุคคลผู้ขับไล่มลทินของ
    ตน เรากล่าวว่าเป็นบรรพชิต เพราะการขับไล่นั้น พราหมณ์ไม่พึง
    ประหารพราหมณ์ พราหมณ์ไม่พึงปล่อยเวรแก่พราหมณ์นั้น เราติเตียน
    บุคคลผู้ประหารพราหมณ์ เราติเตียนบุคคลผู้ปล่อยเวรแก่พราหมณ์ กว่า
   บุคคลผู้ประหารนั้น การเกียจกันใจจากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย ของ
    พราหมณ์ เป็นคุณประเสริฐหาน้อยไม่ ใจประกอบด้วยความเบียดเบียน
    ย่อมกลับจากวัตถุใดๆ ทุกข์ย่อมสงบได้หมดจากวัตถุนั้นๆเรากล่าว
    บุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ ผู้สำรวมแล้วจากฐานะทั้ง ๓
    ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
    แล้วจากบุคคลใด พึงนอบน้อมบุคคลนั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์
    นอบน้อมการบูชาไฟ ฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะการเกล้า
    ชฎา เพราะโคตร เพราะชาติหามิได้ สัจจะและธรรมะมีอยู่ในผู้ใด
    ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดอยู่ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ด้วย ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม
    จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเกล้าชฎาแก่ท่าน จะมีประโยชน์อะไร
    ด้วยผ้าสาฎกที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน ภายในของท่านรกชัฏ ท่าน
    ย่อมขัดสีแต่อวัยวะภายนอก เรากล่าวบุคคลผู้ทรงผ้าบังสุกุลซูบผอม
    สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผู้เดียวเพ่ง (ฌาน)อยู่ในป่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์
    ก็เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดแต่กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่าเป็นพราหมณ์
    ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่าโภวาที (ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ) ผู้นั้นแลเป็นผู้มีกิเลส
    เครื่องกังวล เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่า   
เป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง ผู้ล่วงกิเลส
    เป็นเครื่องข้อง ไม่ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ตัด
    ความโกรธดุจชะเนาะ ตัดตัณหาดุจหนังหัวเกวียน และตัดทิฐิดุจเงื่อน
    พร้อมทั้งอนุสัยดุจสายเสียได้ ผู้มีอวิชชาดุจลิ่มสลักอันถอนแล้ว ตรัสรู้
    แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งการด่า
    การทุบตีและการจองจำ ผู้มีกำลัง คือ ขันติ ผู้มีหมู่พลเมืองคือขันติ
    ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีลไม่มีกิเลส
    เครื่องฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว มีร่างกายตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
    เรากล่าวผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลายดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดังเมล็ดพันธุ์
    ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่
    รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้วพรากแล้ว
    ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาด
    ในมรรคและมิใช่มรรค ผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
    เรากล่าวผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิตผู้ไม่
    มีความอาลัยเที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรา
    กล่าวผู้ที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่สะดุ้งและมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่
    ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียใน
    ผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์ที่ยังมีความยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
    เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไปดุจเมล็ดพันธุ์
    ผักกาดที่เขาให้ตกไปจากปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรา
    กล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบคาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้
    เป็นคำจริง ผู้ไม่ทำใครๆ ให้ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่
    ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ในโลกนี้ ยาวก็ตาม สั้นก็ตาม น้อยก็ตาม
    มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่มีความ
    หวังในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่มีตัณหา ไม่ประกอบด้วยกิเลส ว่า
    เป็นพราหมณ์เรากล่าวผู้ที่ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะ
    รู้ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์เรากล่าวผู้ละ
    ทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้องในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก
    ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่มีความเพลิดเพลิน
    ในภพสิ้นแล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือนพระจันทร์
    ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ล่วงทางลื่น ทางที่ไป
    ได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็นผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน)
    ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น
    ว่าเป็นพราหมณ์เรากล่าวผู้ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน
    งดเว้นเสียได้ มีกามและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์เรากล่าว
    ผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าว
    ผู้ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็นทิพย์   พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง
    ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละความยินดี และความไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็น
    ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไปทรงไว้ ครอบงำเสียซึ่งโลกทั้งปวงผู้แกล้วกล้า
    ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการ
    ทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดีตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่
    เทวดา คนธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็น
    พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
    ในขันธ์ที่เป็นอดีต ในขันธ์ที่เป็นอนาคต และในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน
    ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดถือว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้องอาจ
    ประเสริฐ แกล้วกล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่นไหว
    ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่รู้ปุพเพนิวาส เห็น
    สวรรค์และอบาย และได้ถึงความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์
    เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนีอยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ฯ
    จบพราหมณวรรคที่ ๒๖

ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย


พระเทวทัตผลักก้อนหิน หมายจะฆ่าพระพุทธองค์

พระเทวทัตส่งมาฆ่าพระพุทธองค์



สังฆเภท

     [๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า  สังฆเภท สังฆเภท
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
     ๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
     ๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
     ๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
     ๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย
     ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้
     ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัส  ภาษิตไว้
     ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมา
     ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้   ประพฤติมา
     ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
     ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
     ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
     ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
     ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
     ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
     ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
     ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
     ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
     ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
     พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมแยก ทำอุโบสถ แยก
ทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม
     ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว
                          สังฆสามัคคี
     [๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า  สังฆสามัคคี สังฆ
สามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
     ๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม
     ๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม
     ๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
     ๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
     ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้    ตรัสภาษิตไว้
     ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส   ภาษิตไว้
     ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต   มิได้ประพฤติมา
     ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต    ประพฤติมาแล้ว
     ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้
     ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
     ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
     ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
     ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
     ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
     ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
     ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
     ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
     ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
     พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมไม่  แยกทำอุโบสถ
ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม
     ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ
     [๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียง
กันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผล
ชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ


                              นิคมคาถา
     [๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป
     ภิกษุผู้ยินดีในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจาก
     ธรรมอันเกษมจากโยคะ(นิพพาน) ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว
     ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ
     [๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่ แตกกันแล้วให้
พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้  พร้อมเพรียงกัน
ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป

นิคมคาถา
     [๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งสุข และการ
     สนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีใน
     ความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษม
     จากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว  ย่อมบรรเทิง
     ในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ



                     ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย
     [๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำ  ลายสงฆ์ต้องเกิดใน
อบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป
ช่วยเหลือไม่ได้
     อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก
อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้
     พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ ชั่วกัป พอช่วย
เหลือได้  
     อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้ เป็นไฉน
     พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม
นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม   อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ
อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง    ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์
ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ 
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่   ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม  นั้นว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น   อำพรางความถูกใจ อำพรางความ
ชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย
จงจับสลากนี้ จงชอบ   ใจสลากนี้
 ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่ว  กัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม
มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง   ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ
อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ
สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก   อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรม  นั้นว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในการแตกกันว่าเป็นอธรรม ...
     ... มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีความสงสัยในความแตกกัน ...
     ... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น อธรรม ...
     ... มีความสงสัยในอธรรมนั้นมีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม ...
     ... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพราง ความเห็น อำพราง
ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อม   ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ  สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่   ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงสิ่งมิใช่ วินัยว่าเป็นวินัย
ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัส   ภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัส
ภาษิตไว้ ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดง
กรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า   เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงกรรมอันตถาคต
ประพฤติมาแล้ว  ว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติ
ไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตมิ  ได้บัญญัติ
ไว้ ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ย่อม    แสดงอาบัติเบาว่าเป็น
อาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา ย่อมแสดง อาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็น
อาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้   ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ย่อมแสดง
อาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม    มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นใน
ธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็น
อธรรม มี  ความสงสัยในความแตกกัน มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความ
แตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยใน  ความแตกกัน มีความ
สงสัยในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม   มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความ
เห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความสงสัย   ในธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน
อำพรางความเห็น อำพรางความถูก  ใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้
จับสลากว่า นี้ธรรมนี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่   ชั่วกัป ช่วยเหลือ
ไม่ได้
                        ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย
     [๔๑๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์  ไม่ต้องเกิดในอบาย
ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ เป็นไฉน
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงอธรรมว่า  เป็นธรรม
มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่า   เป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น
ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า
นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์   ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
     ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก  อยู่ชั่วกัป
พอช่วยเหลือได้
     อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงอาบัติชั่ว   หยาบว่าเป็นอาบัติ
ไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน  ความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่
อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพราง  ความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อม
ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย  นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจ
สลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก  อยู่ชั่วกัป
พอช่วยเหลือได้ ฯ
                        ตติยภาณวาร จบ
                    สงฆ์เภทขันธกะ ที่ ๗ จบ
            ______________________________
                    หัวข้อประจำขันธกะ
     [๔๑๓] เรื่องพระพุทธเจ้าประทับที่อนุปิยนิคม เรื่องศากยกุมารผู้มีชื่อเสียง เรื่องพระ
อนุรุทธะสุขุมาลชาติไม่ปรารถนาจะทรงผนวช เรื่องไถ หว่าน ไขน้ำ ถอน  หญ้า เกี่ยวข้าว ขนข้าว
ตั้งลอม นวดข้าว สงฟาง โปรยข้าวลีบ ขนขึ้นฉางเรื่องการงาน  ไม่สิ้นสุด มารดา บิดา ปู่ย่า
ตายาย ตายไปหมด เรื่องพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ   พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ
สำคัญพระองค์ว่าเป็นศากยะ เรื่องพระพุทธเจ้า   ประทับที่เมืองโกสัมพี เรื่องพระเทวทัตเสื่อมจาก
ฤทธิ์ เรื่องกักกุธะโกฬิยบุตรตาย   เรื่องประกาศพระเทวทัต เรื่องปลงพระชนม์พระชนก เรื่องส่ง
บุรุษ เรื่องกลิ้งศิลาเรื่องปล่อยช้างนาฬาคิรี เรื่องอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ เรื่องวัตถุ ๕
ประการ เรื่องทำลายสงฆ์มีโทษหนัก เรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์ เรื่องให้ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุ
 ผู้ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย เรื่ององค์ ๘ สามเรื่อง เรื่องอสัทธรรม ๓ ประการ เรื่องสังฆราชี
 เรื่องสังฆเภท ฯ
                              หัวข้อประจำขันธกะ จบ

สุขในรูปฌานและอรูปฌาน

สุขในรูปฌานและอรูปฌาน
[๑๐๑] ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า
และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
     ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำ
ของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
     ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดี
ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและ
ประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
     ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรม
วินัยมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้แล
อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่น
ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.
 ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีต
กว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส
มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ยังมีอยู่.
     ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา
ได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้แล
อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
     ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนี้.
     ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นอันดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนี้.
     ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการ
ทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
     [๑๐๒] ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ เพราะสุขอื่น
ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.

       ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
     ดูกรอานนท์ ข้อที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัส
สัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้นั้นจะเป็นไฉนเล่า ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า
ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมิได้ ดูกรอานนท์ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ท่านควรจะกล่าว
ตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคจะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหา
มิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใดๆ พระตถาคตย่อมบัญญัติที่นั้นๆ ไว้ในสุข.
     พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
         จบ พหุเวทนิยสูตร ที่ ๙.

รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔

๒. อัฏฐกนาครสูตร
   พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ
     [๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
     สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี. ก็สมัยนั้น คฤหบดีชื่อ
ทสมะ เป็นชาวเมืองอัฏฐกะ ไปยังเมืองปาตลีบุตร ด้วยกรณียกิจอย่างหนึ่ง. ครั้งนั้น
ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงกุกกุฏาราม ไหว้ภิกษุนั้นแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ได้ถามภิกษุนั้นว่า
     ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน ด้วยว่า ข้าพเจ้าใคร่จะพบท่านพระอานนท์
ภิกษุนั้น ตอบว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ บ้านเวฬุวคาม  เขตนครเวสาลี. ครั้งนั้นแล
ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ทำกรณียกิจนั้นให้สำเร็จที่เมืองปาตลีบุตรแล้ว ไปยังนครเวสาลี ถึงบ้านเวฬุวคาม เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
     [๑๙] ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันหนึ่ง (นิพพาน,สัญญาเวทยิตนิโรธ)
ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้นอาสวะทั้งหลาย
ที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส(ราคะ โทสะ โมหะ)
เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่แลหรือ?
     ท่านพระอานนท์ตอบว่า มีอยู่ คฤหบดี ...
     ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็ธรรมอันหนึ่ง เป็นไฉน ...?(พระนิพพาน)
                  รูปฌาน ๔
     [๒๐] ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะ
และวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่ง
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น
เป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
     ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมคือสมถะและ
วิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพาน
ในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อัน
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
     ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดี
เพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
     ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอพิจารณา
อยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตถฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีคนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุ
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
                 อัปปมัญญา ๔
     [๒๑] ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่
ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์
ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อม
รู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในเมตตา
เจโตวิมุตินั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัม
ภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น
เป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรม
ที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มี
พระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
 ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒
ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์
ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อม
รู้ชัดว่า แม้กรุณาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่
ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความกำหนัดเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุ
ถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อัน
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
     ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒
ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยมุทิตา อันไพบูลย์เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์
ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อม
รู้ชัดว่า แม้มุทิตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่
ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุ
ถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระ
ผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
     ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่
ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มี
ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมรู้ชัดว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้ง
อยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรม
ที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มี
พระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.



อรูปฌาน ๔

     [๒๒] ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการ
ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรม
ที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มี
พระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
     ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ
หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนะสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อัน
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
     ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้
อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่
ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะ
ความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ทสมคฤหบดีบูชาพระอานนท์
xxxxxxxxxxx(ส่วนข้างล่างนี้หายไป ไม่ปรากฏในประไตรปิฏก คาดว่าสังคยานาไม่ครบหรือถูกตัด)
  ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่
ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะ
ความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
     ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ทสมคฤหบดีบูชาพระอานนท์
XXXXXXXX
     [๒๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ ได้กล่าว
กะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ บุรุษกำลังแสวงหาขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง
ได้พบขุมทรัพย์ถึง ๑๑ ขุมในคราวเดียวกัน ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น กำลังแสวงหาประตูอมตะ
ประตูหนึ่ง ได้พบประตูอมตะถึง ๑๑ ประตูในคราวเดียวกัน โดยการฟังเท่านั้น.
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรือนของบุรุษมีประตู ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษ
เจ้าของเรือนอาจทำตนให้สวัสดี โดยประตูแม้ประตูหนึ่งๆ ได้ ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จักอาจ
ทำตนให้สวัสดีได้โดยประตูอมตะ แม้ประตูหนึ่งๆ แห่งประตูอมตะ ๑๑ ประตูนี้.
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันชื่อว่าอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์
เพื่ออาจารย์ ก็ไฉน ข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านพระอานนท์เล่า. ลำดับนั้น ทสมคฤหบดี
ชาวเมืองอัฏฐกะ ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในเมืองปาตลีบุตร และเมืองเวสาลี พร้อมกันแล้ว
ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต ด้วยมือของตน ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละคู่ๆ
และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร แล้วให้สร้างวิหาร ๕๐๐ ถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.
        จบ อัฏฐกนาครสูตร ที่ ๒.
          ____________________

ความคิดเห็น
 เนวสัญญานาสัญญายตนะ กับสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่ได้กล่าวถึงไม่รู้ว่าสังคยานาถูกหรือไม่

พุทธสุภาษิต

ลกกามคุณสูตรที่ ๑
[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่าที่สุดของโลกอัน
บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำ
ที่สุดทุกข์

ข้าพระองค์อยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติแลเป็นส่วนมากในบัดนี้  ฯ
  ๙. วัชชีปุตตเถรคาถา
               สุภาษิตเตือนให้ปฏิบัติธรรม
    [๒๕๖] ดูกรอานนท์ผู้โคตมโคตร ท่านจงเข้าไปสู่ชัฏแห่งโคนไม้ จงหน่วงนิพพาน
        ไว้ในหทัยแล้วจงเพ่งฌาน และอย่าประมาท การใส่ใจถึงประชุมชน จักทำ
        ประโยชน์อะไรให้แก่ท่านได้.
             ๔. โสมมิตตเถรคาถา
              สุภาษิตชี้โทษความเกียจคร้าน
    [๒๗๑] เต่าตาบอดเกาะขอนไม้เล็กๆ จมลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตร
        อาศัยคนเกียจคร้านดำรงชีพ ย่อมจมลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
        บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้านผู้มีความเพียรเลวทรามเสีย ควรอยู่ร่วมกับ
        บัณฑิตทั้งหลายผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้เพ่งฌาน มีความเพียร
        อันปรารภแล้วเป็นนิตย์.

 สุภาษิตเย้ยตัณหา
    [๒๘๙] เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหา
        นายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้น
        ชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือน
        บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลส
        ของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน
        เราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพ
        นี้เอง

๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา
            สุภาษิตเกี่ยวกับการรู้เห็นเบญจขันธ์
    [๒๕๗] เบญจขันธ์ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ตั้งอยู่ ข้าพระองค์
        บรรลุถึงความสิ้นทุกข์แล้ว บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.
          ทุกนิบาต
              เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๑
         ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในทุกนิบาต วรรคที่ ๑
                  ๑. อุตตรเถรคาถา
                  สุภาษิตชี้โทษของภพ
    [๒๕๘] ได้ยินว่า ท่านพระอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาไว้ ๒ คาถาอย่างนี้ว่า ภพอะไร
        ที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและ
        เวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัด
        ตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.
              ๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
               สุภาษิตชี้ทางดำเนินชีวิตที่ถูก
    [๒๕๙] ได้ยินว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถาไว้ ๒ คาถาอย่างนี้ว่า
        ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควร อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ
        เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหาร
        โดยทางที่ชอบ นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการไหว้
        การบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด
        ถอนขึ้นได้ยาก สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก.
                  ๓. วัลลิยเถรคาถา
                  สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต
    [๒๖๐] วานรเข้าไปอยู่ในกระท่อมมีประตู ๕ ประตู พยายามเวียนเข้าออกทาง
        ประตูนั้นเนืองๆ จงหยุดนิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับ
        เจ้าไว้ได้ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ.(กระท่อมคือกาย มี ห้าทวาร วานร คือ รูป ลิง คือจิต)
  ๘. สุราธเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    [๒๖๕] ชาติของเราสิ้นแล้ว คำสั่งสอนของพระชินเจ้าเราอยู่จบแล้ว ข่าย คือ
        ทิฏฐิและอวิชชาเราละได้แล้ว ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพเราถอนได้แล้ว
        เราออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว
        ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงเราก็ได้บรรลุแล้ว.

    สุภาษิตชี้โทษของกาม
    [๒๙๑] อุบาสกทั้งหลายผู้ทรงธรรมกล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เราได้เห็นแล้ว
        อุบาสกเหล่านั้นเป็นผู้กำหนัด รักใคร่ห่วงใยในแก้วมณี บุตรธิดา และ
        ภรรยา เราได้เห็นแล้ว เพราะอุบาสกเหล่านั้น ไม่รู้ธรรมในพระพุทธ
        ศาสนานี้แน่แท้ แม้ถึงอย่างนั้นก็ได้กล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง แต่
        กำลังญาณเพื่อจะตัดราคะของอุบาสกเหล่านั้น ไม่มี เพราะฉะนั้น อุบาสก
        เหล่านั้นจึงติดอยู่ในบุตรภรรยาและในทรัพย์.
               ๕. สัมพหุลกัจจานเถรคาถา
                สุภาษิตเกี่ยวกับผู้รักสงบ
    [๒๙๒] ฝนก็ตก ฟ้าก็กระหึ่ม เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่คนเดียว เมื่อเราอยู่ในถ้ำ
        อันน่ากลัวคนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว หรือขนลุก
        ขนพองมิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอันน่ากลัวแต่ผู้เดียว ไม่มีความกลัว
        หรือสะดุ้งหวาดเสียวนี้ เป็นธรรมดาของเรา.
                  ๖. ขิตณเถรคาถา
               สุภาษิตแสดงผลการอบรมจิต
    [๒๙๓] จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็น
        ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
        ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน จิตของเราตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา จิตของเราไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
        ความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เราอบรม
        จิตได้แล้วอย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงเราแต่ที่ไหนๆ
              ๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
             สุภาษิตแสดงการไม่ยอมแพ้กิเลส
    [๒๙๔] ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรีเพื่อจะหลับ
        โดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้ง ปรารถนาแล้วเพื่อประกอบ
        ความเพียร.
    ครั้นพระโสณะได้ฟังดังนั้นก็สลดใจ ยังหิริและโอตตัปปะให้เข้าไปตั้งไว้แล้ว อธิษฐาน
 อัพโภคาสิกังคธุดงค์ กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาที่ ๒ นี้ว่า
        ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกลงจากคอช้าง เราตายเสียในสงครามประเสริฐ
        กว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร.

                ๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญพระรัตนตรัย
    [๒๙๘] น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระคุณสมบัติของพระศาสดา
        ของเราทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยประพฤติพรหมจรรย์ของพระสาวกผู้จัก
        ทำให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ พระสาวกเหล่าใดเป็นผู้ยังไม่ปราศจากขันธ์ ๕
        ในอสังไขยกัป พระกุมารกัสสปนี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น
        ร่างกายนี้มีในที่สุด สงสารคือการเกิดการตายมีในที่สุด บัดนี้ ภพใหม่
        ไม่มี.
   ๕. สุนาคเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
    [๒๒๒] ผู้ฉลาดในการถือเอา ซึ่งนิมิตแห่งภาวนาจิตเสวยรสแห่งวิเวก เพ่งฌาน
        ฉลาดในการรักษากัมมัฏฐาน มีสติตั้งมั่น พึงบรรลุนิรามิสสุขอย่าง
        แน่นอน.
                  ๖. นาคิตเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับทางไปนิพพาน
    [๒๒๓] ในลัทธิแห่งเดียรถีร์ภายนอกพระศาสนานี้ ย่อมไม่มีทางไปสู่นิพพาน
        เหมือนอริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นบรมครู ทรงพร่ำ
        สอนภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เอง เหมือนดังทรงแสดงผลมะขามป้อมในฝ่า
        พระหัตถ์ ฉะนั้น.
                  ๗. ปวิฏฐเถรคาถา
             สุภาษิตเกี่ยวกับการเห็นเบญจขันธ์
    [๒๒๔] เราเห็นเบญจขันธ์ตามความจริงได้แล้ว ทำลายภพทั้งปวงได้แล้ว ชาติ
        สงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
                   ๘. อัชชุนคาถา
             สุภาษิตเกี่ยวกับการยกคนพ้นกิเลส
    [๒๒๕] เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบกคือนิพพานได้ เหมือนคนที่ถูก
        ห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว ยกตนขึ้นจากน้ำฉะนั้น เราแทงตลอดสัจจะ
        ทั้งหลายแล้ว.
                 ๙. เทวสภเถรคาถา
               สุภาษิตเกี่ยวกับการพ้นกิเลส
    [๒๒๖] กามราคะเพียงดังเปือกต้ม และฉันทราคะเพียงดังหล่ม เราข้ามพ้นแล้ว
        เราเว้นทิฏฐิราคะเพียงดังบาดาลแล้ว เราพ้นจากโอฆะและกิเลสเครื่อง
        ร้อยกรอง ทั้งกำจัดมานะหมดสิ้นแล้ว.
  ๑๐. สามิทัตตเถรคาถา
            สุภาษิตเกี่ยวกับการรู้เห็นเบญจขันธ์
    [๒๒๗] เบญจขันธ์เรากำหนดรู้แล้ว (ทุกข์ให้กำหนดรู้)ตัดรากขาดแล้ว ตั้งอยู่ ชาติสงสารสิ้นแล้ว
        บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
            _____________________________________
          ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
         ๑. พระสมิติคุตตเถระ            ๒. พระกัสสปเถระ
         ๓. พระสีหเถระ                 ๔. พระนีตเถระ
         ๕. พระสุนาคเถระ               ๖. พระนาคิตเถระ
         ๗. พระปวิฏฐเถระ               ๘. พระอัชชุนเถระ
         ๙. พระเทวสภเถระ              ๑๐. พระสามิทัตตเถระ.
                    จบ วรรคที่ ๙
            เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๑๐
        ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๑๐
                 ๑. ปริปุณณกเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญรสพระธรรม
    [๒๒๘] สุธาโภชน์มีรสตั้งร้อย ที่เราบริโภคในวันนี้ ก็ไม่เหมือนอมตะที่เราได้
        บริโภค พระธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้โคดม ทรงเห็นซึ่งธรรมหาประมาณมิได้
        ทรงแสดงไว้แล้ว.
                  ๒. วิชยเถรคาถา
               สุภาษิตสรรเสริญผู้สิ้นอาสวะ
    [๒๒๙] ผู้ใดมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ติดอยู่ในอาหารมีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตต
        วิโมกข์เป็นโคจร รอยเท้าของผู้นั้นรู้ได้ยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนก
        ในอากาศ ฉะนั้น.
                  ๓. เอรกเถรคาถา
               สุภาษิตว่าด้วยโทษของกาม
    [๒๓๐] ดูกรเอรกะ กามเป็นทุกข์ กามไม่เป็นสุขเลย ผู้ใดใคร่กามผู้นั้นชื่อว่า
        ใคร่ทุกข์ ผู้ใดไม่ใคร่กาม ผู้นั้นชื่อว่าไม่ใคร่ทุกข์.
                 ๔. เมตตชิเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญพระพุทธองค์
    [๒๓๑] ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคศากยบุตร ผู้มีพระศิริพระองค์นั้น พระองค์
        ผู้ถึงแล้วซึ่งธรรมอันสูงสุด ได้ทรงแสดงอัครธรรมนี้ด้วยดี.
                 ๕. จักขุปาลเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับการไม่คบคนชั่ว
    [๒๓๒] เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว เดินทางไกลอยู่ เรายอมนอน
        (ตาย) ณ ที่นี้ จักไม่ไปกับเพื่อนผู้ร่วมทางอันลามก.
                ๖. ขัณฑสุมนเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญความเสียสละ
    [๒๓๓] เพราะเสียสละดอกไม้เพียงดอกเดียว เราได้รับการบำเรออยู่ในสวรรค์
        ถึง ๘๐ โกฏิปี ที่สุดได้บรรลุนิพพาน เพราะผลกรรมที่เหลือ.
                  ๗. ติสสเถรคาถา
              สุภาษิตสรรเสริญบาตรดินเผา
    [๒๓๔] เราได้สละภาชนะทองคำ มีน้ำหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ วิจิตรด้วยลวดลาย
        ตั้งร้อยชนิด มาถือเอาบาตรดิน นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่สองของเรา.
                  ๘. อภัยเถรคาถา
                 สุภาษิตชี้โทษรูปารมณ์
    [๒๓๕] เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็นที่รัก สติก็หลงลืม
        ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดีเสวยรูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
        ทั้งหลายย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ.
                  ๙. อุตติยเถรคาถา
                 สุภาษิตชี้โทษสัททารมณ์
    [๒๓๖] บุคคลได้สดับเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็นที่รัก สติก็หลงลืม
        ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดีเสวยสัททารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
        ทั้งหลายย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร.
                 ๑๐. เทวสภเถรคาถา
              สุภาษิตเกี่ยวกับความเพียรชอบ
    [๒๓๗] ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ประดับ
        ประดาด้วยดอกไม้ คือ วิมุติ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน.
                  __________________
          ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
    ๑. พระปริปุณณกเถระ            ๒. พระวิชยเถระ
    ๓. พระเอรกเถระ              ๔. พระเมตตชิเถระ
    ๕. พระจักขุปาลเถระ            ๖. พระขัณฑสุมนเถระ
    ๗. พระติสสเถระ               ๘. พระอภัยเถระ
    ๙. พระอุตติยเถระ              ๑๐. พระเทวสภเถระ
                   จบ วรรคที่ ๑๐
              ______________________________

แนวทางการปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคผล นิพพานที่ถูกต้อง


อนุปุพพวิหารเก้า คือ รูปฌาน อรูปฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ(นิโรธสมาบัติ ,อนัตตาธาตุ ,อนุปาทิเสลนิพพานธาตุ) ที่ลป.สาวกโลกอุดร สอนให้ปฏิบัติ นี้คือ แนวทางที่ถูกต้อง ตามพุทธคำสอน เพื่อมรรคผล นิพพานที่แท้จริง โดย ลป.ได้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นพระอรหันต์ ท่านได้บอกจุดหทัยทวาร ซึ่งอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง ตรงดั้งจมูกหัก ซึ่งผมได้สืบค้นในพระไตรปิฏกมาแล้ว ยืนยันว่ามีอยู่จริงแต่เป็นปริศนาธรรม ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดรู้มาก่อน ซึ่งท่านสามารถที่จะอ่านในเว็บไซด์นี้เท่านั้น
ปฏิจจสมุปบาท และ  อริยสัจสี่ คือ ธรรมที่พระอรหัตน์ทุกพระองค์จะต้องตรัสรู้ มี ๓ รอบ อาการ ๑๒
เรียกว่าญานทัสสนะ (ดูจากปฐมพุทธวาจา หลังตรัสรู้ใหม่ ๆ) เท่าที่ผ่านมา เรามักจะไม่ได้ยินพระเทศน์
หัวข้อปฏิจจสมุปบาทเลย หรือมีก็ไม่สามารถอธิบายได้ แจ่มแจ้ง  โดยเฉพาะคำว่า นามรูป  ไม่มีใครอธิบายได้เลย แม้ในพระไตรปิฏก ก็ยังผิด(อรรถกถาจารย์ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์) ซึ่งเราจะเห็นในตอนที่บรรลุเป็นพระอเสขะ ว่าต้องดับนามรูป (ไม่ใช่รูปนามอย่างที่นักเทศน์ทั้งหลายเทศน์กันซึ่งหมายถึงขันธ์ห้า) และพระที่นำมาเทศนาก็เทศน์ ไปเป็นคนละแนว  โดยเฉพาะคำว่า สังขาร ซึ่งเราเข้าใจกันว่าร่างกายกันมานมนาน แต่ในภาษาธรรม ที่หมายถึง ความคิด
  ในส่วนของวิญญาณ ท่านหมายถึง วิญญาณทั้ง ๖ ซึ่งผ่านมาทาง อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ส่วนมากแล้วทุกสำนักหมายถึง หัวใจด้านซ้าย  แต่ลป.ได้บอกจุดมโนทวารถูก คือ ระหว่างหัวตาทั้งสอง )ซึ่งกิเลสตัณหามันเกิดที่จุดนี้ และ นิพพานก็อยู่จุดนี้






กฏแห่งเวรกรรม









โสกะสามเณร










อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน

            สาวัตถีนิทาน
    [๔๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉนคือ สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในโสดาปัตติยังคะ (ธรรม
อันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) ๔ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔
    [๔๓๗] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถ
แห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึง
เห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ฯ
    [๔๓๘] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การ
คบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของ
ท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นพึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
 พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
ในโสดาปัตติยังคะ ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๓๙] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
 เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ในสัมมัปปธาน ๔ คือ การ
ไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือ ความ
ตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง
วิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
 เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๐] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน  คือ การพิจารณา
เห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านพึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถ
แห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติ
ปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึง
เห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึง
เห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๑] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๒] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
 เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือ ทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือทุกขนิโรธ ฯลฯ
 ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็น
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๓] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔
ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
 ด้วยอาการ ๒๐ ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ฯ
    [๔๔๔] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ใน
โสดาปัตติยังคะ คือ การคบหาสัปบุรุษ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วย
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่ง
สัทธินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อใน
โสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือการทำไว้ในใจ โดย
อุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า
ตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดา
ปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๕] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคองไว้ ใน
สัมมัปปธาน คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วย
สามารถแห่งวิริยินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคอง
ไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธานคือ การบำเพ็ญ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความ
เจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ  ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
 ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๖] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความ ประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่นในสติปัฏฐาน
คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึง
เห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การ
พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วย
สามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๗] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐม
ฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นพึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ
ในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๘] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือ
ทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัยฯลฯ ใน
อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วย
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔จะพึง
เห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
    [๔๔๙] ความประพฤติและวิหารธรรม เป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เหมือน
อย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง กำหนดบุคคลไว้ในฐานที่ลึก ตามที่ประพฤติตามที่อยู่ว่า ท่านผู้นี้บรรลุ
แล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่ ฯ
    จริยา ในคำว่า ความประพฤติ มี ๘ คือ อิริยาปถจริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑
สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ปัตติจริยา  ๑ โลกัตถจริยา ๑ ฯ
    ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติในอายตนภายในภาย
นอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติใน
ฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติในอริยสัจ ๔ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริย
มรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยาความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติกิจซึ่ง
เป็นประโยชน์แก่โลก ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ในพระสาวกบางส่วน ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยา เป็นของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้
อายตนจริยา เป็นของท่านผู้คุ้มครองอินทรีย์ สติจริยา เป็นของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
สมาธิจริยา เป็นของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยา เป็นของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
 มรรคจริยา เป็นของท่านผู้ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา เป็นของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยา
เป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วนของพระสาวกบางส่วน
จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ
    จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้
ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อม
ประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้ทราบ
ว่า ท่านปฏิบัติอย่างนี้จึงบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา ผู้ที่ทราบว่า กุศลธรรม
ของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘
เหล่านี้ ฯ
    จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ ทัสสนจริยาแห่งสัมมาทิฐิ ๑ อภิโรปนจริยาแห่งสัมมา
สังกัปปะ ๑ ปริคคหจริยาแห่งสัมมาวาจา ๑ สมุฏฐานจริยาแห่งสัมมากัมมันตะ ๑ โวทานจริยา
แห่งสัมมาอาชีวะ ๑ ปัคคหจริยาแห่งสัมมาวายามะ ๑ อุปัฏฐานจริยาแห่งสัมมาสติ ๑ อวิกเขป
จริยาแห่งสัมมาสมาธิ ๑จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ
    [๔๕๐] คำว่า วิหาโร ความว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้
ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ
ผู้รู้ชัด ย่อมอยู่ด้วยปัญญา ฯ
    คำว่า รู้ตาม ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ความประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์
ความตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันรู้
ตามแล้ว ฯ
    คำว่า แทงตลอดแล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ...ความเห็นแห่ง
ปัญญินทรีย์ เป็นอันแทงตลอดแล้ว
    คำว่า ตามที่ประพฤติ ความว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ด้วยความเพียรอย่างนี้
ด้วยสติอย่างนี้ ด้วยสมาธิอย่างนี้ ด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ
    คำว่า ตามที่อยู่ ความว่า อยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ ... ด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ
    คำว่า วิญญู คือ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลสผู้เป็นบัณฑิต
ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ ฯ
    คำว่า สพฺรหฺมจารี คือ บุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศอย่างเดียวกัน มีการ
ศึกษาเสมอกัน ฯ
    ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่า
เป็นฐานะอันลึก ในคำว่า คมฺภีเรสุ ฐาเนสุ ฯ
    คำว่า โอกปฺเปยยุํ ความว่า พึงเชื่อ คือ พึงน้อมใจเชื่อ ฯ
    คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นเครื่อง
กล่าวโดยสิ้นความเคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองเป็นเครื่องกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออก
 เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด เป็นเครื่องกล่าวโดยหลักฐาน ฯ
    คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ
เป็นเครื่องกล่าวมีความเคารพยำเกรง ฯ
    คำว่า บรรลุแล้ว ความว่า ถึงทับแล้ว คำว่า หรือว่าจักบรรลุ ความว่าจักถึงทับ ฯ
            จบนิทานบริบูรณ์
    [๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ๕ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ฯ
    อินทรีย์ ๕ เหล่านี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร พึงเห็นด้วยอาการ ๖ พึงเห็นด้วยอรรถว่า
กระไร ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง
ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยอรรถว่าครอบงำด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่ ฯ
    [๔๕๒] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างไร ฯ
    พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคลผู้ละความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธา พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ แห่งบุคคลผู้ละความเกียจคร้าน พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วย
อรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์พึงเห็นสตินทรีย์